
ถ้ำเบื้องแบบ





สถานที่ท่องเที่ยวสุราษฎร์ธานี
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
ถ้ำเบื้องแบบ เป็นถ้ำและเพิงผาในภูเขาหินปูนลูกโดด สูงประมาณ 5๐ เมตร ล้อมรอบด้วยที่ราบซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูก พืชเศรษฐกิจของชุมชน ได้แก่ ยางพารา กล้วย เงาะ สะตอ กาแฟ มันสำปะหลัง มีสำนักสงฆ์และบ้านเรือนราษฎร แหล่งโบราณคดี อยู่ห่างจากคลองมะเลาะ 126.5 เมตร คลองมะเลาะมีต้นน้ำมาจากภูเขาน้ำราด
ไหลคดเคี้ยวไปบบรจบกับแม่น้ำพุมดวงแม่น้ำพุมดวง ซึ่งไหลไปรวมกับแม่น้ำตาปีออกไปสู่อ่าวไทยที่แม่น้ำบ้านดอน สุราษฎร์ธานี โพรงถ้ำและเพิงผาที่พบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ มี 3 ตำแหน่ง คือ ถ้ำบน (ถ้ำเบื้องแบบ 1) เป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่สุด จากหลังคาถ้ำมีช่องแสงสูงจากระดับพื้นดินล่าง12 เมตร ถ้ำล่าง (ถ้ำเบื้องแบบ 2) เป็นเพิงผากึ่งโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง 1.8๐ เมตร ถ้ำหลังเขา (ถ้ำเบื้องแบบ 3) เป็นเพิงผา เพดานต่ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง 15 เมตร
จากการศึกษาแหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ กรมศิลปากรทำการสำรวจ ขุดค้นตามโครงการโบราณคดีเขื่อนเชี่ยวหลาน ระหว่าง พ.ศ. 2525-2526 พบหลักฐานการอยู่อาศัย 2 ช่วงสมัย จากร่องรอยการทับถมของชั้นดิน และโบราณวัตถุที่พบ คือ ชั้นผิวหน้าดิน พบหลักฐานของสมัยประวัติศาสตร์ (รัตนโกสินทร์) และชั้นร่องรอยหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ซึ่งปรากฏหลักฐานที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ (ไม่ครบส่วน) กระดูกและฟันสัตว์ มีทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีก เปลือกหอยชนิดต่างๆ ได้แก่ หอยบก หอยน้ำจืด หอยทะเล ชิ้นส่วนก้ามปู เมล็ดพืชป่าบางชนิด เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบมีรูปทรงต่างๆ กัน คือ หม้อก้นกลมแบบหม้อดินหุงข้าว หม้อสามขา หม้อมีสันภาชนะรูปจอกปากผาย แท่นพิงถ้วยรูปเขาสัตว์ แท่นรองหม้อ ลูกกระสุนดินเผา สำหรับเครื่องมืหิน พบเครื่องมือหินกระเทาะขนาดและรูปทรงต่างๆ กัน เช่น เครื่องมือแกนหิน เครื่องมือลักษณะใบมีด ค้อน ทั่ง หินลับเครื่องมือขวานหินขัด สิ่วหินขัด หินทุบเปลือกไม้ กำไลหิน และเศษถ่าน
ถ้ำเบื้องแบบมีสภาพเหมาะสมต่อการใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งรู้จักนำหินมากะเทาะและขัดแต่งเป็นเครื่องมือ โดยใช้เครื่องมือหินกะเทาะและเครื่องมือหินขัดควบคู่กันไป รู้จักทำภาชนะดินเผาเพื่อหุงหาอาหารและใส่อาหาร ภาชนะมีลักษณะและรูปร่างที่เหมาะกับประโยชน์ใช้สอย รู้จักทำผ้าขึ้นใช้เองโดยทำจากเปลือกไม้ ยังไม่พบหลักฐานการเกษตรกรรม จึงน่าจะดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ ตามสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย รู้จักการขัดแต่งหินเป็นเครื่องมือประดับ อาจมีประเพณีการฝังศพเฉพาะส่วนหรือการฝังครั้งที่ 2 มีการติดต่อกับชุมชนใกล้ฝั่งทะเล
อายุสมัย กำหนดอายุจากตัวอย่างถ่าน กระดูกสัตว์ และกระดูกมนุษย์ ด้วยวิธีเรดิโอคาร์บอนโดย กองเคมีสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กรุงเทพมหานคร กำหนดอายุประมาณ 4,75๐+21๐ ถึง 6,51๐+36๐ ปี (กรมศิลปากร 2531 : 91 - 93)




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
|