ไก่ทอดหาดใหญ่ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้
Rating: 5/5 (1 votes)
ไก่ทอดหาดใหญ่ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เกิดขึ้นเมื่อราว ๆ 40-50 ปีที่แล้ว ที่อำเภอหาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคใต้ของบ้านเรา ซึ่งในตอนนั้นมีเพียงไม่กี่ร้านที่เริ่มขายไก่ทอดสูตรนี้ โดยเน้นใช้สมุนไพรหลายชนิด เช่น กระเทียม, ยี่หร่า พริกไทย, รากผักชี และปรุงรสเล็กน้อย หมักจนเข้าที่แล้วนำไปทอด ส่วนการโรยหอมเจียวเพิ่งเกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน ด้วยกลิ่นหอมของเครื่องเทศที่ใช้ในการหมัก โดยจะมีรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ กินคู่หอมเจียวที่อร่อยโดนใจใครหลายคน จนกระทั่งเป็นเครื่องเคียงที่ขาดไม่ได้และกลายเป็นเมนูเลื่องชื่อจวบจนถึงปัจจุบัน
ไก่ทอดหาดใหญ่ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ อีกหนึ่งเสน่ห์ของไก่ทอดหาดใหญ่ที่มัดใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้นั้นคือ หนังไก่เป็นสีน้ำตาลดูน่ากิน มีความกรอบนอกแต่เนื้อข้างในยังฉ่ำ ไม่แห้ง และไม่อมน้ำมัน มีกลิ่นหอมของสมุนไพรเบา ๆ มาพร้อมรสชาติเค็ม ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ นิยมรับประทานคู่กับข้าวเหนียวหรือถ้าใครอยากเพิ่มรสชาติก็สามารถจิ้มน้ำจิ้มได้เช่นกัน
ส่วนผสม (สูตรอาหารภาคใต้)
- สะโพกไก่ติดขา 2000 กรัม
- หอมแดงซอย 1 ถ้วย
- เกลือ 2 ช้อนชา
- รากผักชี 3 ราก
- พริกไทยบด 1 ช้อนโต๊ะ
- ยี่หร่าบด 1 ช้อนชา
- เม็ดผักชีบด 2 ช้อนชา
- กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาล 1 ช้อนชา
- น้ำปูนใส 4 ช้อนโต๊ะ
- แป้งข้าวจ้าว 1 ถ้วย
1. ขั้นตอนแรกนำหอมแดงมาคลุกกับเกลือเล็กน้อย ช่วยให้หอมไม่ชื้นตอนเจียว จากนั้นพักไว้สักครู่
2. เตรียมไก่ หั่นไก่บริเวณกระดูกไม่ให้หนาจนเกินไป เพื่อให้หมัก และทอดสุกได้ง่าย จากนั้นใส่เครื่องหมักลงไป รากผักชี, ยี่หร่าบด, พริกไทย, กระเทียม และน้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อน จากนั้นนำไก่ที่ได้เตรียมไว้มาหมักกับส่วนผสมที่ได้เตรียมไว้ จากนั้นโรยเกลือลงไปเล็กน้อย ค่อย ๆ โรย และค่อย ๆ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. ใส่แป้งข้าวจ้าวลงไปเล็กน้อยเพื่อให้เคลือบผิวไก่ โดยคลุกเคล้าให้ทั่ว จากนั้นใสน้ำปูนใสลงไป และคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง หมักไก่ทิ้งไว้ประมาณ 2 -3 ชั่วโมง
4. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมัน รอให้น้ำมันร้อน จากนั้นนำหอมที่ได้เตรียมไว้จากขั้นตอนแรกใส่ลงไปเจียว พยายามคนให้สักพัก รอจนหอมสุกแต่ยังไม่ถึงขั้นเหลือง จากนั้นนำหอมเจียวขึ้นมาพักไว้ โดยผึ่งไว้ให้เย็นสักพัก จากนั้นตั้งกระทะใหม่ตั้งไฟร้อนขึ้น และนำหอมลงไปเจียวให้เหลือง จากนั้นนำมาพักไว้
5. ใช้น้ำมันในขั้นตอนที่ 4 นำไก่ที่ได้หมักไว้ลงไปทอด ทอดจนหนังเหลืองกรอบ และข้างในสุก
6. ตกแต่งจานโรยหอมเจียวบนไก่ และทานกับข้าวเหนียว
อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป นั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว
สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม
ไปยังส่วนบน