น้ำพริกกุ้งเสียบ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้
Rating: 5/5 (1 votes)
น้ำพริกกุ้งเสียบ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เดิมทีเป็นอาหารที่ชาวภูเก็ตนิยมรับประทานเป็นอาหารกลางวันซึ่งต้องปรุงและรับประทานไม่สามารถเก็บไว้ได้ ต่อมาจึงได้มีการวิธีการในการถนอมอาหารทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้นจนปัจจุบันเป็นที่รู้จักทั่วไป
กุ้งเสียบ นั้นเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีพื้นที่ติดทะเลและมีกุ้งมาก โดยนำกุ้งนางไม่แกะเปลือกมาเสียบไม้ ปิ้งไฟอ่อน ๆ รมควันจนน้ำในตัวกุ้งแห้ง ทำให้เก็บได้นาน และมีกลิ่นหอมรมควัน โดยนำมาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ น้ำพริก ซึ่งรสชาติและส่วนผสมไม่ต่างจากน้ำพริกของภาคกลาง ที่มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน แต่ทางใต้จะนิยมกินรสเผ็ดจัดมากกว่า
วิธีการรมควัน หรือปิ้งไม่ทำให้โปรตีนในอาหารลดน้อยลง กุ้งเสียบจึงมีโปรตีนและยิ่งมีเปลือกจึงให้แคลเซียมสูงไปด้วย ส่วนผสมในน้ำพริก เช่น กระเทียม นั้นจะช่วยลดคอเลสเตอรอล หอมแดงช่วยให้สดชื่น สิ่งสำคัญคือผักสดที่กินร่วมกันหรือที่คนใต้เรียกว่าถาดผักเหนาะ เพราะมีผักพื้นบ้านที่ให้วิตามิน และเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ยอดมะม่วงหิมพานต์, ใบบัวบก และถั่วฝักยาว เป็นต้น
ส่วนผสม (สูตรอาหารภาคใต้)
- กู้งแห้งตัวใหญ่ 200 กรัม
- พริกป่น 80 กรัม
- กระเทียม 150 กรัม
- หอมแดง 200 กรัม
- น้ำมะขามปีกเข้มข้น 100 กรัม
- น้ำตาลปิ๊บ100 กรัม
- กะปิ 2 ช้อนโต๊ะ
1. คั่วพริก ตั้งกระทะเปิดไฟอ่อนนำพริกไปคั่ว จากนั้นนำไปปั่นให้ละเอียดก็จะได้พริกป่นคั่วบด
2. คั่วกุ้งแห้ง คั่วจนกุ้งแห้งกรอบแห้ง สามารถใช้เตาอบแทนได้ หรือวิธีต้นตำหรับแต่จะค่อนข้างใช้เวลานาน กุ้งเสียบ คือการนำกุ้งสด ๆ มาเสียบไม้ย่างทั้งเปลือก รมควันจากกาบมะพร้าวจนได้กลิ่นหอมแต่ไม่ไหม้ สีเป็นธรรมชาติ
3. เจียวกระเทียม ตั้งกระทะใส่น้ำมัน จากนั้นนำกระเทียมลงไปเจียวให้เหลืองหอม ระวังอย่าให้ไหม้ พักสะเด็ดน้ำมันไว้
4. เจียวหอมแดง ใส่หอมแดงซอยบาง ๆ ลงไปในน้ำมันจนสุกเหลืองกรอบ จากนั้นพักสะเด็ดน้ำมันไว้
5. ตั้งกระทะใส่น้ำมันที่ได้จากการเจียวลงไปเล็กน้อย พอน้ำมันเดือดใส่กะปิลงไปคั่ว ให้ส่งกลิ่นหอม จากนั้นใส่น้ำมะขามเปียก
ตามลงไปคั่วสักพักจากนั้นใส่น้ำตาลปิ๊บผัดให้ทุกอย่างเข้ากันดี (หากไม่ชอบกะปิสามารถใส่น้ำตาล หรือเกลือแทนได้) จากนั้นปิดเตา
6. จากนั้นให้ใส่หอมเจียว กระเทียมเจียว และกุ้งแห้งที่ได้เตรียมไว้ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป นั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว
สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม
ไปยังส่วนบน