หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.พังงา > อ.เมืองพังงา > ต.ท้ายช้าง > จอแหร้ง แกงกะทิกุ้งสดตะไคร้ เมนูอาหารภาคใต้
Rating: 5/5 (1 votes)
จอแหร้ง แกงกะทิกุ้งสดตะไคร้ เมนูอาหารภาคใต้
จอแหร้ง แกงกะทิกุ้งสดตะไคร้ เมนูอาหารภาคใต้ เมนูครบรส และสรรพคุณจากถิ่นทะเลใต้ หากพูดถึงจังหวัดพังงา ทำใหหลายคนคงนึกถึงน้ำทะเลสีครามของทะเลอันดามันและอาหารใต้รสชาติจัดจ้าน อาหารพื้นบ้านโบราณของภาคใต้ที่ครบรสชาติ และหาทานได้ยากในปัจจุบัน แต่เต็มไปด้วยความอร่อยและมีสรรพคุณทางยา นั่นคือ เมนู จอแหร้ง อาหารใต้ หรืออาหารปักษ์ใต้นั่นเอง
จอแหร้ง หรือ จอแลง โดยหากเรียกตามภาษาถิ่น คือ อาหารพื้นบ้านจากอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่สะท้อนถึงลักษณะของอาหารใต้ได้อย่างดี เพราะมีรสชาติ เผ็ด, เปรี้ยว, หวาน ,มัน และมีกลิ่นหอมของกะทิ และสมุนไพรหลากหลายชนิด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่นของอาหารใต้
จอแหร้ง นั้นนับเป็นเครื่องจิ้มชนิดหนึ่งที่มีลักษะคล้ายกับหลน แต่จะมีความเข้มข้นกว่า โดยจะนำกุ้งมาต้มกับกะทิและใส่ตระไคร้ วัตถุดิบสำคัญของเมนูนี้คือ ขมิ้นเเละกะปิ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้จอแหร้งมีสีเหลือง และรสชาติที่กลมกล่อม
เสน่ห์อย่างหนึ่งของอาหารพื้นบ้าน คือ การยกภูมิปัญญาท้องถิ่นใส่ลงไปในเมนูอาหาร จอแหร้ง นั้นมีส่วนผสมของสมุนไพรที่ครบเครื่องและมีสรรพคุณในการรักษาโรคและเป็นยาบำรุง เช่น ขมิ้น มีสรรพคุณแก้ท้องอืด, ท้องเฟ้อ, ท้องร่วง หรือ ตระไคร้ที่จะมีส่วนช่วยบรรเทาอาหารจุกเสียด และแน่นท้อง และยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ ช่วยรักษาโรค และบำรุงร่างกายเช่นกัน
แม้ว่าเมนูจอแหร้งจะไม่สามารถพบตามร้านอาหารได้มากนักในปัจจุบัน เนื่องจากคนในพื้นที่นิยมทำรับประทานกันเองภายในครัวเรือนมากกว่า แต่จอแหร้งก็เป็นหนึ่งในเมนูที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็นเมนูที่สะท้อนถึงลักษณะของอาหารใต้ เเละภูมิปัญญาท้องถิ่นในจานเดียว
ส่วนผสมวัตถุดิบ จอแหร้ง (เมนูอาหารใต้)
- กะทิ
- ตะไคร้
- ต้นหอม
- น้ำตาลมะพร้าว
- พริกขี้หนูสวน
- น้ำปลา
- ขมิ้นสด
- กะปิ
- น้ำมะขามเปียก
- กุ้ง
- หอมแดง
- ส้มแขก
วิธีทำ จอแหร้ง (อาหารภาคใต้)
1. นำกระทะทองเหลืองมาตั้งไฟจากนั้นใส่กะทิลงไป รอให้เดือดซักพักจากนั้นใส่ กะปิลงไปละลายให้เข้ากันกับกะทิ จากนั้นใส่ขมิ้นสดลงไป
2. จากนั้นเตรียมวัตถุดิบใส่กุ้งตามลงไป
3. ปรุงรสด้วย พริกขี้หนูสวน, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำปลา และมะขามเปียก จากนั้นใส่หอมแดงสไลด์ลงไป รอให้กุ้งสุก ระวังอย่าให้สุกมากจนเกินไป
อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ ทั่วไปนั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว