หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.ปัตตานี > อ.เมืองปัตตานี > ต.สะบารัง > ปลากระบอกต้มเผ็ด อาหารปัตตานี สูตรอาหารภาคใต้
Rating: 5/5 (1 votes)
ปลากระบอกต้มเผ็ด อาหารปัตตานี สูตรอาหารภาคใต้
ปลากระบอกต้มเผ็ด อาหารปัตตานี สูตรอาหารภาคใต้ ปลากระบอกต้มเผ็ด นั้นเป็นอาหารที่นิยมทำกินในชุมชนที่อยู่รอบอ่าวปัตตานี กล่าวกันว่าในอดีตเป็นกับข้าวหลักที่ทำกินกันแทบทุกบ้าน เนื่องจากเป็นปลาที่รสชาติดี เนื้อนุ่ม, หวาน และมัน ซึ่งชาวไทยมุสลิมนิยมนำปลากระบอกมาต้มเผ็ด รสชาติเข้มข้น เปรี้ยวเผ็ดลักษณะคล้ายแกงส้ม แต่ใส่ตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาว เหมาะสำหรับกินมื้อเที่ยงกับข้าวสวยอร่อยเผ็ดจัดจ้านได้ใจ
ปลากระบอกต้มเผ็ด นั้นเป็นอาหารที่นิยมทำกินในชุมชนที่อยู่รอบอ่าวปัตตานี ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยปลากระบอก กล่าวกันว่าในอดีตเป็นกับข้าวหลักที่ทำกินกันทุกบ้าน ต้มแต่ละครั้งจะใช้ปลากระบอก 20 – 30 ตัว ไว้กินเอง ส่วนที่เหลือนิยมแจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน ปลากระบอกเป็นปลาที่อาศัยในหนอง บึง จะผสมพันธุ์ และวางไข่ในน้ำกร่อยบริเวณป่าชายเลนกับปากแม่น้ำ
วัตถุดิบ ปลากระบอกต้มเผ็ด (สูตรอาหารภาคใต้)
- ปลากระบอก 4 - 5 ตัว
- พริกแกงเผ็ด 2 ช้อนโต๊ะ
- กะปิ 1/2 ช้อนโต๊ะ
- ใบกระเพรา
- ใบมะกรูด
- น้ำเปล่า 1 ลิตร
- น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
- ผงปรุงรส เล็กน้อย
- เกลือ เล็กน้อย
วิธีทำ ปลากระบอกต้มเผ็ด (อาหารปัตตานี)
1. เตรียมปลากระบอกน้ำมาล้างให้สะอาด จากนั้นหั่นเป็นชิ้น ๆ ไว้
2. ตั้งกระทะ ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย รอให้น้ำเดือด จากนั้นใส่พริกแกง กับกะปิลงไป รอให้เดือดอีกครั้ง
3. ปรุงรสชาติ ด้วยน้ำปลา ผงปรุงรสเล็กน้อย เกลือเล็กน้อย รอให้เดือดสักครู่
4. ใส่ปลากระบอกที่ได้เตรียมมาลงไป ใช้วิธีการกดให้ปลาจมน้ำ โดยไม่ต้องคนน้ำ จากนั้นรอให้ปลาสุก
5. จากนั้นใส่ใบมะกรูดฉีกลงไป รอให้น้ำเดือดสักครู่ ใส่ใบกระเพราตามลงไป
อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ ทั่วไปนั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และประเพณีไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว