หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.นครศรีธรรมราช > อ.เมืองนครศรีธรรมราช > ต.ในเมือง > ยำผักกูดโบราณกุ้งสด เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้
Rating: 5/5 (1 votes)
ยำผักกูดโบราณกุ้งสด เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้
ยำผักกูดโบราณกุ้งสด เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ ผักกูด เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์น นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังนำมาเป็นสมุนไพรได้อีกด้วย โดยผักกูด มักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่าทึบ และมักพบมากในช่วงฤดูฝนเพราะเป็นช่วงเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ผักกูดมีหลายชนิด และสามารถนำมาปรุงประกอบอาหารได้ แต่จะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป โดยบางชนิดอาจจะมีรสขมจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก สำหรับส่วนของผักกูดที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดก็คือ ส่วนใบ และยอดอ่อน เท่านั้น
ผักกูด นั้เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินมากมาย จึงมีสรรพคุณทางยาอย่างหลากหลาย มีธาตุเหล็ก และเบต้า - แคโรทีนสูง ซึ่งหากทานร่วมกับเนื้อสัตว์ จะทำให้เกิดการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ซึ่งจะช่วยให้ไม่อ่อนเพลีย หรือซีดง่าย, บำรุงสายตา, เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และยังมีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน พิษอักเสบ, บำรุงสายตา, บำรุงโลหิต และความดันโลหิตสูง ส่วนกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี มีแคลเซียม และมีไขมันอิ่มตัวน้อย มีโอเมก้า มากกว่าเนื้อสัตว์อื่น ๆ รวมทั้งมีธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินอีอีกด้วย รวมถึงมีคอเรสเตอรอล ชนิด HDL หรือไขมันดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
วัตถุดิบ (สูตรอาหารภาคใต้)
- ยอดผักกูด 100 กรัม
- กุ้ง 5 ตัว
- เนื้อหมูบด 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ
- กะทิ 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกสด 2 เม็ด
- หอมแดง 3 หัว
- น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะนาว 1½ ช้อนโต๊ะ
- ถั่วลิสง (คั่วป่น) 1 ช้อนโต๊ะ
- หอมเจียวสำหรับเสิร์ฟ
- ไข่ต้มสำหรับเสิร์ฟ
- กะทิสดสำหรับเสิร์ฟ
วิธีทำ (เมนูอาหารใต้)
1. ลวกยอดผักกูดในน้ำเดือด ประมาณ 30 วินาที แล้วนำมาผ่านน้ำเย็นจัด สะเด็ดน้ำพักไว้ จากนั้นนำกุ้งลงไปลวกต่อจนสุกดี พักไว้
2. รวนหมูบดให้สุก พักไว้ จากนั้น อุ่นกะทิใส่ลงในชามผสม ใส่น้ำตาลปี๊บ, น้ำปลา, น้ำพริกเผา และน้ำมะนาว
3. ใส่พริกซอย, หอมแดง, ผักกูด, ถั่วลิสงป่น, กุ้งสด และหมูบด โดยคลุกกับน้ำยำให้เข้ากันดี
4. จัดเสิร์ฟ โรยหน้าด้วยหอมเจียว ราดหน้าด้วยกะทิ รับประทานคู่กับไข่ต้ม
อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ ทั่วไปนั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว