หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.นครศรีธรรมราช > อ.เมืองนครศรีธรรมราช > ต.ในเมือง > ใบเหลียงต้มกะทิกุ้งสด เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้..
Rating: 5/5 (1 votes)
ใบเหลียงต้มกะทิกุ้งสด เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้
ใบเหลียงต้มกะทิกุ้งสด เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เป็นวิธีปรุงอาหาร จากผักเหลียง อีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เหลียง เป็นผักพื้นบ้านภาคใต้ เป็นพืชยืนต้น ที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 - 2 เมตร โดยจะมีใบเรียวยาว สามารถนำใบอ่อน และยอดมารับประทานได้ แต่ต้องทำให้สุก นิยมนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดผักเหลียงใส่ไข่ และแกงเลียงผักเหลียงใส่กุ้ง นำมาต้มกะทิ ใช้รองห่อหมก หรือลวกจิ้มน้ำพริก ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในภาคใต้
ผักเหลียง อุดมไปด้วยเบต้า - แคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญ ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ และมีค่าปริมาณแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง ทำให้ช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง ส่วนกะทิสด เป็นกรดไขมันขนาดปานกลาง ร่างกายสามารถย่อย และนำไปใช้ได้ทันที ไม่ตกค้างเป็นไขมันในร่างกาย เช่น กรดไขมันอิ่มตัวขนาดใหญ่ กรดไขมัน จากกะทิช่วยกระตุ้นให้ ต่อมธัยรอยด์ ทำงานได้ดีขึ้น
ผักเหลียง จัดเป็นผักเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ นิยมใช้ใบอ่อนประกอบอาหาร อาทิ ผัดผัดเหลียง, แกงเหลียง, ผัดใส่ไข่, แกงจืด และห่อหมก ลวกจิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดคู่กับกับข้าว ผักเหลียงเป็นพันธุ์ไม้ป่า มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณคาบสมุทรมาลายู พบแพร่กระจายทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียว เติบโตได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้น โดยจะพบแพร่กระจายบนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 50 - 200 เมตร โดยประเทศไทยพบแพร่กระจายทั่วไปบริเวณเชิงเขา และที่ราบในภาคใต้ บริเวณจังหวัดชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, พังงา และกระบี่
วัตถุดิบ (สูตรอาหารภาคใต้)
- ใบเหลียง 1 กำ บ้างแล้วเด็ดใบ
- กุ้งสด
- หอมแดง ทุบพอแตก
- กระเทียม ทุบพอแตก
- กะทิ 100 กรัม
- กะปิ 1/2 ช้อนชา
- เกลือ
- น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ (เมนูอาหารใต้)
1. ตั้งกระทะ ใส่น้ำเปล่า 250 กรัม จากนั้นใส่กะทิ 100 กรัม รอให้เดือดซักพักตามด้วยหอมแดง และกระเทียม รอให้เดือดจากนั้นใส่กะปิ จากนั้นใส่เกลือ และน้ำตาล คอยคนขณะกำลังเดือด
2. เมื่อกะทิเดือดได้ที่ใส่ใบเหลียงตามลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากับกะทิขณะเดือดจากนั้นใส่กุ้งสดตามลงไป โดยต้มจนสุก เติมกะทิตามลงไปเล็กน้อย
อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป นั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว