รวมสูตรอาหารภาคใต้ อาหารไทย วัฒนธรรม และประเพณีไทย
9. ไก่กอและ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ ไก่กอและ หรือ ไก่ฆอและ เป็นอาหารมลายูปักษ์ใต้ และมาเลเซีย โดยอาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่ชาวมุสลิมแถบชายแดนใต้ของไทยทำรับประทานกัน โดยเฉพาะที่ปัตตานีจะมีชื่อเสียงมาก บางแห่งจะทำไก่กอและขายคู่กับข้าวหลามด้วย
ไก่กอและ ในภาษามลายูปัตตานีเรียกว่า อาแย กฺอและ โดยคำว่า อาแย แปลว่า "ไก่" ส่วน กฺอและ แปลว่า "กลิ้ง" ดังนั้น อาแย กฺอและ จึงแปลว่า "ไก่กลิ้ง" หมายถึงการย่างเพราะต้องคอยพลิกกลับไปมา นอกจากจะใช้ไก่ทำแล้ว ยังสามารถใช้เนื้อสัตว์อื่น ๆ ทำได้ ถ้าใช้หอยแครงสดทำ เรียกว่า กือเปาะฮ กฺอและ ถ้าใช้ปลาทำ เรียกว่า อีแก กฺอและ และถ้าใช้เนื้อทำ เรียกว่า ดากฺิง กฺอและ
10. ผัดไทยไชยา เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เป็นเมนูเด็ดดังมาจากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ความโดดเด่นของน้ำผัดไทยที่มีรสชาติเข้มข้ม ผัดไทยไชยาจะมีเครื่องปรุงที่เรียกว่า น้ำผัดไทยไชยา โดยเวลารับประทานต้องนำเส้นหมี่มาผัดกับน้ำผัดไทยไชยาจนแห้งเหมาะกับการรับประทาน นิยมรับประทานขณะร้อนกับผักชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วงอก, แตงกวา, หัวปลี และกุยช่าย น้ำผัดไทยไชยาจะมีส่วนผสมของเครื่องเทศหลายชนิด เช่น พริกแห้ง, หอมแดง, กะปิ, กะทิ เกลือ, น้ำตาล และมะขามเปียก โดยนำมาเคี่ยวรวมกัน
11. ไก่ต้มขมิ้น เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เป็นเมนูเด็ดของถิ่นปักษ์ใต้บ้านเรา ด้วยการที่นำด้วยรสเปรี้ยวจากส้มแขก และส่วนผสมของสมุนไพรที่ให้รสชาติเหมือนต้มยำของภาคกลาง ประกอบด้วย ขมิ้น, ข่า, ตะไคร้ และใบมะกรูด พร้อมด้วยพระเอกก็คือขมิ้นและไก่บ้านที่เนื้อหนึบรสนุ่มน่ากิน ไก่ที่ต้มกับขมิ้นจนเป็นสีเหลืองน่ารับประทาน ปรุงรสชาติให้เปรี้ยวด้วยส้มแขก พร้อมด้วยกลิ่นหอมหวลของเครื่องสมุนไพรแบบไทย ๆ น่าลิ้มลองมาก ๆ
12. แกงส้มใต้ แกงเหลืองมะละกอกุ้ง เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ สำหรับคนชอบรสจัดจ้าน ที่นอกจากจะมีมะละกอเป็นตัวช่วยปลุกระบบขับถ่ายให้ทำงานด้วยความคล่องแคล่วแล้ว ในเมนูแกงเหลืองยังมีส่วนผสมของน้ำมะขามเปียกอีกด้วย เรียกได้ว่าผสานพลังความมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ กันอย่างจัดเต็มเลยทีเดียว
แกงส้มปักษ์ใต้ เป็นอาหารชนิดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ในท้องถิ่นเรียกว่า แกงส้ม ซึ่งมีความแตกต่างจากแกงส้มของภาคอื่น ทั้งในด้านรสชาติ เครื่องปรุง วิธีการปรุง กลิ่น และสีสันของน้ำแกงที่ปรุงเสร็จแล้ว
13. ขนมจีนน้ำยาปู สไตล์ปักษ์ใต้ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ น้ำยาปู หรือ แกงปู นิยมทานเป็นกับข้าว มีต้นกำเนิดจากวัฒนธรรมอาหารของชาวเปอรานากันดั้งเดิม นิยมทานกับหมี่ขาวลวก(หมี่หุ้น) เป็นอาหารที่หาทานได้ตามร้านอาหารเปอรานากันในภูเก็ต ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอาหารลูกผสมระหว่างจีนฮกเกี้ยนกับมลายู มีการประยุกต์ทานกับขนมจีนจึงเป็นขนมจีนน้ำยาปูในปัจจุบัน
ขนมจีนน้ำยาปู สไตล์ปักษ์ใต้ ถือเป็นเมนูอาหารยอดฮิตเมนูหนึ่งของคนไทย ด้วยความที่เป็นอาหารทานง่าย วิธีการทำไม่ยุ่งยาก และหาร้านทานง่าย ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะตามงานเลี้ยงที่มีคนจำนวนมาก ๆ
14. น้ำพริกกุ้งเสียบ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เดิมทีเป็นอาหารที่ชาวภูเก็ตนิยมรับประทานเป็นอาหารกลางวันซึ่งต้องปรุงและรับประทานไม่สามารถเก็บไว้ได้ ต่อมาจึงได้มีการวิธีการในการถนอมอาหารทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้นจนปัจจุบันเป็นที่รู้จักทั่วไป
กุ้งเสียบ นั้นเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีพื้นที่ติดทะเลและมีกุ้งมาก โดยนำกุ้งนางไม่แกะเปลือกมาเสียบไม้ ปิ้งไฟอ่อน ๆ รมควันจนน้ำในตัวกุ้งแห้ง ทำให้เก็บได้นาน และมีกลิ่นหอมรมควัน โดยนำมาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ น้ำพริก ซึ่งรสชาติและส่วนผสมไม่ต่างจากน้ำพริกของภาคกลาง ที่มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน แต่ทางใต้จะนิยมกินรสเผ็ดจัดมากกว่า
15. ผัดสะตอกุ้งสดหมูสับ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ สะตอ ผักพื้นบ้านสัญลักษณ์ของชาวใต้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สะตอเป็นผักที่มีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ชาวใต้นิยมนำสะตอมารับประทานเป็นผักสด หรือจะนำมาปิ้งไฟให้สุกรับประทานเป็นผักเคียงคู่กับน้ำพริกหรือกับข้าวต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังนิยมนำมาประกอบเป็นกับข้าวอีกด้วย เมนูอาหารชื่อดังของภาคใต้ รสชาติเข้มข้นเผ็ดร้อน หอมอร่อยจัดจ้าน กุ้งหวาน ๆ ผัดกับสะตอกรุบกรอบ ๆ หอมพริกแกงสมุนไพรต่าง ๆ หอมกะปิ หอมอร่อยเข้ากันมาก
ประโยชน์ของสะตอ มีแร่ธาตุ และวิตามินที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น โปรตีน, แคลเซียม, คาร์โบไฮเดรต, เหล็ก, ฟอสฟอรัส, วิตามินเอ บี และซี ซึ่งในการช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ ไตพิการ ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือดได้ การรับประทานสะตอเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ในสะตอจะมีใยอาหารช่วยให้การขับถ่ายคล่อง ลดอาการท้องผูก ป้องกันการเกิดริดสีดวงทวาร ฯลฯ
16. ไข่ครอบ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ มีที่มาจากการนำเอาไข่ขาวของไข่เป็ด มาย้อมกัด อวน แห ของชาวประมงพื้นบ้านรอบริมทะเลสาบสงขลา เมื่อประมาณก่อนปี พ.ศ. 2500 ชาวประมงพื้นบ้านรอบริมทะเลสาบสงขลา จะใช้อวน แห กัดหรือข่าย ที่ตัดเย็บขึ้นเองจากด้ายดิบ ไข่แดงที่เหลือจึงนำมานึ่งเพื่อเก็บไว้กิน จึงกลายเป็น ไข่ครอบ
ไข่ครอบ นั้นแต่เดิมเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่ติดกับทะเลสาบ สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ของผู้คนในท้องถิ่นนั้นได้ดีที่สุด ไข่ครอบมิได้เป็นเพียงอาหารรสเลิศของชาวสงขลาเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนภาพสะท้อนวิถีชีวิตของชาวสงขลาอีกด้วย
17. แกงคั่วหอยแครงใบชะพลู เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ นับเป็นเมนูเด็ดของร้านข้าวแกงปักษ์ใต้ ความเข้มข้นของน้ำกะทิ และความเผ็ดร้อนของเครื่องแกงใต้อย่าง น้ำพริกแกงคั่ว ความเผ็ดร้อนเข้มข้นทานคู่กับของทอด ไข่ต้ม และผักสดกลายเป็นมื้อที่สมบูรณ์แบบอีกมื้อหนึ่ง ที่สำคัญคัญต้องรับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ
ใบชะพลู มีสารบีตาแคโรทีนในปริมาณที่ค่อนข้างสูง โดยบีตาแคโรทีนนั้นจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ในร่างกาย แต่ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมบีตาแคโรทีนได้ถ้าไม่มีไขมันเป็นตัวนำพา คนโบราณนั้นจึงนิยมนำใบชะพลูมาทำแกงคั่วหอยแครง หรือไม่ก็แกงที่มีกะทิ เพื่อที่จะให้กะทิเป็นตัวนำพาบีตาแคโรทีนไปใช้ในร่างกาย ซึ่งนับเป็นภูมิปัญญาไทยที่แสนฉลาด โดยผักพื้นบ้านของภาคใต้อื่น ๆ ที่นิยม ได้แก่
เม็ดเหรียง นั้นเป็นคำเรียกของคนภาคใต้ มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว โดยเวลาจะรับประทานต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีดำออกก่อน จะนำไปรับประทานสดๆ หรือนำไปผัดกับเนื้อสัตว์ หรือนำไปดองรับประทานกับแกงต่างๆ หรือกับน้ำพริกกะปิ หรือ กับหลนก็ได้
เหรียง นั้นเป็นผักพื้นบ้านของภาคใต้ เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงใหญ่ ชาวใต้นิยมนำเมล็ดเหรียงมาเป็นอาหาร โดยจะนำเมล็ดมาเพาะให้แตกรากสั้น ๆ คล้ายถั่งงอก โดยหัวจะโตกว่าถั่วงอก มีสีเขียว เรียกว่าลูกเหรียง มีรสมัน กลิ่นฉุน นิยมนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด ทั้งเป็นผักสดรับประทานกับน้ำพริก นำมาดองหรือแกงเป็นอาหารใต
ลูกเนียง นั้นจะมีลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล้ำเกือบดำ ต้องแกะเปลือกนอก แล้วรับประทานเนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ โดยเปลือกอ่อนนี้จะลอกออกหรือไม่ลอกก็ได้แล้วแต่ความชอบ ใช้รับประทานสด ๆ กับน้ำพริกกะปิ หลนแกงเผ็ด โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนียงที่แก่จัดใช้ทำเป็นของหวานได้ โดยนำไปต้มให้สุกแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลทรายคลุกให้เข้ากัน
ฝักสะตอ นั้นจะมีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียว เวลารับประทานต้องปอกเปลือกแล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ด หรือนำมาหั่น นิยมนำมาปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่น ๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุก แล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะใช้สด ๆ ก็ได้โดยไม่ต้องเผา ถ้าต้องการเก็บไว้นาน ๆ ควรดองเก็บไว้
18. ขนมจีนน้ำยากะทิใต้ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เป็นอาหารไทยรสชาติเข้มข้น ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน แม้เมนูนี้จะเขียนว่าขนมจีน แต่ก็ไม่ใช่อาหารจีนแต่อย่างใด เขนมจีน เป็นอาหารเส้นที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมอญ โดยชาวมอญเรียกอาหารเส้นนี้ว่า คนอมจิน จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกขนมจีนนั่นเอง ซึ่งขนมจีนนี้ได้รับความนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายในทุกภาคของประเทศไทย แต่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ได้แก่ ภาคกลางเรียกว่า ขนมจีนน้ำยา ภาคเหนือ เรียกว่า ขนมเส้นหรือข้าวเส้น ภาคอีสาน เรียกว่า ข้าวปุ้น และภาคใต้ เรียกว่า โหน้มจีน
ขนมจีนน้ำยากะทิ นั้นจะมีส่วนผสมสำคัญอย่างพริกแกงน้ำยา เนื้อปลากับกระชายถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ เนื้อปลายิ่งแน่น กระชายยิ่งเยอะ น้ำยากะทิยิ่งอร่อย ทานแล้วยิ่งดีต่อสุขภาพ โดยในส่วนของขั้นตอนการทำอาหารไทยขนมจีนน้ำยากะทินั้นก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด
19. แกงพริกหอยแครงใบยี่หร่า เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เผ็ดร้อนแบบปักษ์ใต้ อาหารไทยแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ที่เน้นเนื้อสัตว์จากท้องทะเล เนื่องจากเป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด อาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล จำพวก กุ้ง, หอย, ปู, ปลา และปลาหมึก ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้จะมีกลิ่นค่อนข้างคาว อาหารใต้จึงมักมีเครื่องเทศหลากหลายเข้ามาช่วยในการดับกลิ่น จึงทำให้กลายเป็นอาหารที่มีรสจัดจ้านมากกว่าอาหารภาคอื่น ๆ
ซึ่งจะใช้เครื่องแกงแบบภาคใต้เป็นเครื่องปรุง และนำหอยแครงซึ่งหาได้ง่ายมาใช้เป็นวัตถุดิบหลัก โดยส่วนวัตถุดิบรองนั้นคือใบยี่หร่า ซึ่งนับเป็นเครื่องเทศที่นิยมกันมากในภาคใต้ โดยยี่หร่านับเป็นเครื่องเทศที่สำคัญในแกงกะหรี่และมัสมั่น ซึ่งยี่หร่าถูกนำมาใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร โดยคั่วเมล็ดโขลกผสมกับเครื่องแกง เช่น แกงกะหรี่, แกงเผ็ด และแกงเขียวหวาน โดยใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงจะช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ทะเลได้เป็นอย่างดี
20. ยำไตปลา เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เป็นการนำไตปลาซึ่งเป็นของหมักดองมาปรุงอาหารให้อร่อยอีกเมนูหนึ่งซึ่งโดยทั่วไปคนนิยมนำไปทำแกงไตปลา แต่ยำจานนี้เป็นยำไตปลาที่ใส่กะทิให้มีรสมัน มีกลิ่นหอมจากสมุนไพรสดต่าง ๆ ที่ซอยใส่รวมไปกับเนื้อปลา และมีรสชาติเผ็ด, เปรี้ยว, เค็ม, และหวาน อร่อยอย่างยำทั่วไป
ยำไตปลา สรรพคุณเพียบ ไตปลาเป็นของหมักดองจากพุงปลา กระเพาะปลาที่มีโปรตีนสูง ในขณะเดียวกันก็ได้โปรตีนจากเนื้อปลาย่างที่ใส่รวมไปด้วย ไขมันจากกะทิ และกลิ่นรสสดชื่นที่ทำให้หายใจได้โล่งโปร่งสบายจากสมุนไพรสด เช่น พริก, หอม, ข่า และตะไคร้ เป็นต้น
21. ใบเหลียงต้มกะทิกุ้งสด เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เป็นวิธีปรุงอาหาร จากผักเหลียง อีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เหลียง เป็นผักพื้นบ้านภาคใต้ เป็นพืชยืนต้น ที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 - 2 เมตร โดยจะมีใบเรียวยาว สามารถนำใบอ่อน และยอดมารับประทานได้ แต่ต้องทำให้สุก นิยมนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดผักเหลียงใส่ไข่ และแกงเลียงผักเหลียงใส่กุ้ง นำมาต้มกะทิ ใช้รองห่อหมก หรือลวกจิ้มน้ำพริก ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในภาคใต้
ผักเหลียง จัดเป็นผักเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ นิยมใช้ใบอ่อนประกอบอาหาร อาทิ ผัดผัดเหลียง, แกงเหลียง, ผัดใส่ไข่, แกงจืด และห่อหมก ลวกจิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดคู่กับกับข้าว ผักเหลียงเป็นพันธุ์ไม้ป่า มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณคาบสมุทรมาลายู พบแพร่กระจายทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียว เติบโตได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้น โดยจะพบแพร่กระจายบนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 50 - 200 เมตร โดยประเทศไทยพบแพร่กระจายทั่วไปบริเวณเชิงเขา และที่ราบในภาคใต้ บริเวณจังหวัดชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, พังงา และกระบี่
22. แกงส้มปลากดมันขี้หนู เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารปักษ์ใต้ แกงส้มโดยทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นแกงส้มชะอมไข่ แกงส้มปลาหรือกุ้งกับมะละกอ หรือแกงส้มอ้อดิบกับปลา แกงส้มดอกแค และมีมากมายหลายแกงส้ม แต่สำหรับแกงส้มใส่มันขี้หนู หลายคนอาจไม่รู้จักและไม่เคยได้ลิ้มรสของมันขี้หนูมาก่อน รสชาติกลมกล่อม หวานมัน เนื้อนุ่มฟันหัวของมัน นำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง
มันขี้หนู นิยมทำให้สุกแล้วนำมารับประทาน บางครั้งรับประทานสด หัวอ่อนสีขาว นิยมใส่ในแกงหรือใช้เป็นผัก เป็นมันพื้นเมืองของภาคใต้ พืชล้มลุกมีหัวขนาดเล็กเป็นพวง นิยมนำมาต้มใส่เกลือรับประทานเป็นของกินเล่น และใช้เป็นผักใส่แกงส้ม แกงไตปลา หรือแกงกะทิ ด้วยรสหวานอร่อย เนื้อเนียนละเอียด เมื่อนำมาใส่ในแกงภาคใต้ซึ่งมักมีรสจัด จึงตัดรสกันเป็นอย่างดีทำให้อาหาร มีรสกลมกล่อมขึ้น มันขี้หนูมีประโยชน์ อีกมากมาย ใบยังช่วยลดความดัน ใช้พอกรักษาแผล และลดอาการหอบหืดได้
23. น้ำพริกแมงดาสะตอเผา เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารปักษ์ใต้ แมงดา ที่นำมาทำน้ำพริกในสูตรนี้ เป็นแมงดาที่เรียกว่า แมงดานา จัดเป็นสัตว์จำพวกมวนน้ำชนิดหนึ่ง มักจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป แมงดานาตัวผู้ โดยจะมีกลิ่นฉุนเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ นิยมนำมาแต่งกลิ่นอาหารให้หอม และมีรสชาติยิ่งขึ้น น้ำพริกแมงดาในสูตรนี้เป็นน้ำพริกแบบค่อนข้างแห้ง น้ำน้อย ซึ่งเป็นลักษณะน้ำพริกแมงดาของชาวใต้
คุณค่าทางอาหารของแมลงดานาพบว่ามีสารอาหาร คือ โปรตีน, ไขมันคาร์โบไฮเดรต, แคลเซียม และฟอสฟอรัส การนำมาตำกับกะปิและเครื่องปรุงทำให้ได้รับโปรตีนและแคลเซียมเพิ่มขึ้น และเมื่อรับประทานพร้อมสะตอ และผักสด จะทำให้ร่างกายรับวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารเข้าไปอีก
24. ยำผักกูดโบราณกุ้งสด เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ ผักกูด เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์น นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังนำมาเป็นสมุนไพรได้อีกด้วย โดยผักกูด มักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่าทึบ และมักพบมากในช่วงฤดูฝนเพราะเป็นช่วงเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ผักกูดมีหลายชนิด และสามารถนำมาปรุงประกอบอาหารได้ แต่จะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป โดยบางชนิดอาจจะมีรสขมจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก สำหรับส่วนของผักกูดที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดก็คือ ส่วนใบ และยอดอ่อน เท่านั้น
ผักกูด นั้เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินมากมาย จึงมีสรรพคุณทางยาอย่างหลากหลาย มีธาตุเหล็ก และเบต้า - แคโรทีนสูง ซึ่งหากทานร่วมกับเนื้อสัตว์ จะทำให้เกิดการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ซึ่งจะช่วยให้ไม่อ่อนเพลีย หรือซีดง่าย, บำรุงสายตา, เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และยังมีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน พิษอักเสบ, บำรุงสายตา, บำรุงโลหิต และความดันโลหิตสูง ส่วนกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี มีแคลเซียม และมีไขมันอิ่มตัวน้อย มีโอเมก้า มากกว่าเนื้อสัตว์อื่น ๆ รวมทั้งมีธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินอีอีกด้วย รวมถึงมีคอเรสเตอรอล ชนิด HDL หรือไขมันดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
25. ผัดเผ็ดกระดูกหมูอ่อน เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เป็นอาหารรสจัด มีรสชาติคล้ายแกง แต่แห้งกว่า เกิดจากการนำกระดูกอ่อนของหมูผัดกับพริกแกงจนกระดูกสุก และเข้าเนื้อถึงรสเป็นอย่างดี จะเหมาะสำหรับรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ หรือเป็นอาหารพกพายามเดินทาง
ซี่โครงหมู นั้นเป็นแหล่งโปรตีน, มีวิตามินบี1, วิตามินเอ, ไนอาซิน, เหล็ก และทองแดง ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนเครื่องปรุงอื่น ๆ เช่น กระชาย นั้นมีแคลเซียม เหล็กมาก นอกจากนั้น ยังมีเกลือแร่ต่าง ๆ และวิตามินเอ วิตามินซี ส่วนพริกไทย มีสารฟินอลิกส์ และสารพิเพอรีน ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และสารอัลคาลอยด์ ที่มีส่วนช่วยรักษา และป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ รวมทั้งมีสรรพคุณช่วยป้องกัน และต่อต้านสารก่อมะเร็งได้
26. จอแหร้ง แกงกะทิกุ้งสดตะไคร้ เมนูอาหารภาคใต้ เมนูครบรส และสรรพคุณจากถิ่นทะเลใต้ หากพูดถึงจังหวัดพังงา ทำใหหลายคนคงนึกถึงน้ำทะเลสีครามของทะเลอันดามันและอาหารใต้รสชาติจัดจ้าน อาหารพื้นบ้านโบราณของภาคใต้ที่ครบรสชาติ และหาทานได้ยากในปัจจุบัน แต่เต็มไปด้วยความอร่อยและมีสรรพคุณทางยา นั่นคือ เมนู จอแหร้ง อาหารใต้ หรืออาหารปักษ์ใต้นั่นเอง
จอแหร้ง หรือ จอแลง โดยหากเรียกตามภาษาถิ่น คือ อาหารพื้นบ้านจากอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่สะท้อนถึงลักษณะของอาหารใต้ได้อย่างดี เพราะมีรสชาติ เผ็ด, เปรี้ยว, หวาน ,มัน และมีกลิ่นหอมของกะทิ และสมุนไพรหลากหลายชนิด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่นของอาหารใต้
จอแหร้ง นั้นนับเป็นเครื่องจิ้มชนิดหนึ่งที่มีลักษะคล้ายกับหลน แต่จะมีความเข้มข้นกว่า โดยจะนำกุ้งมาต้มกับกะทิและใส่ตระไคร้ วัตถุดิบสำคัญของเมนูนี้คือ ขมิ้นเเละกะปิ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้จอแหร้งมีสีเหลือง และรสชาติที่กลมกล่อม
เสน่ห์อย่างหนึ่งของอาหารพื้นบ้าน คือ การยกภูมิปัญญาท้องถิ่นใส่ลงไปในเมนูอาหาร จอแหร้ง นั้นมีส่วนผสมของสมุนไพรที่ครบเครื่องและมีสรรพคุณในการรักษาโรคและเป็นยาบำรุง เช่น ขมิ้น มีสรรพคุณแก้ท้องอืด, ท้องเฟ้อ, ท้องร่วง หรือ ตระไคร้ที่จะมีส่วนช่วยบรรเทาอาหารจุกเสียด และแน่นท้อง และยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ ช่วยรักษาโรค และบำรุงร่างกายเช่นกัน
แม้ว่าเมนูจอแหร้งจะไม่สามารถพบตามร้านอาหารได้มากนักในปัจจุบัน เนื่องจากคนในพื้นที่นิยมทำรับประทานกันเองภายในครัวเรือนมากกว่า แต่จอแหร้งก็เป็นหนึ่งในเมนูที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็นเมนูที่สะท้อนถึงลักษณะของอาหารใต้ เเละภูมิปัญญาท้องถิ่นในจานเดียว
27. ตูปะซูตง เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารปักษ์ใต้ ตูปะซูตง เป็นอาหารกึ่งคาวกึ่งหวานของชาวไทยมุสลิม มีลักษณะเป็นปลาหมึกยัดไส้ข้าวเหนียว นิยมรับประทานในแถบจังหวัดปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส
ตูปะซูตง นั้นจะประกอบไปด้วยปลาหมึกสด, ข้าวเหนียว, กะทิ, น้ำตาลทราย และเกลือ โดยมักรับประทานหลังอาหารมื้อกลางวัน หรือรับประทานเป็นอาหารว่าง ซึ่งบางครั้งใช้รับประทานแทนอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งก็ได้ โดยนิยมในหมู่ชุมชนที่อยู่ใกล้ทะเล
28. หมูโคะ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ เมนูนี้มีหลายชื่อเรียก เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวเกาะสมุย โดยในอดีตเกาะสมุยเคยเป็นที่พักพิงของชาวจีนไหหลำอพยพ จึงถ่ายทอดวิธีการถนอมอาหารแบบจีนแท้ ๆ ที่สืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น เนื่องจากแต่ก่อนไม่มีตู้เย็นการจะถนอมหมูไว้ให้รับประทานได้นาน หากไม่ใส่เกลือตากไว้ ก็ต้องนำมาทำเป็นหมูรวนเค็ม หรือหมูโค นั่นเอง
29. ฟักทองผัดกะปิกุ้งแห้ง เมนูอาหารไทย สูตรอาหารภาคใต้ เป็นเมนูอาหารเด็ดสำหรับชาวปักษ์ใต้ของชาวภูเก็ต ใช้ฟักทองหั่นชิ้นพอดีผัดกับกะปิตำนาน และเจียว ให้เข้ากันปรุงรสชาติอย่างเล็กน้อย สำหรับรสชาตินั้นจะมีรสชาติกลมกล่อมอยู่ในตัว ได้ความหวานของฟักทองและได้รสชาติจัดจ้านของกะปิ
30. ปลากระบอกต้มเผ็ด อาหารปัตตานี สูตรอาหารภาคใต้ ปลากระบอกต้มเผ็ด นั้นเป็นอาหารที่นิยมทำกินในชุมชนที่อยู่รอบอ่าวปัตตานี กล่าวกันว่าในอดีตเป็นกับข้าวหลักที่ทำกินกันแทบทุกบ้าน เนื่องจากเป็นปลาที่รสชาติดี เนื้อนุ่ม, หวาน และมัน ซึ่งชาวไทยมุสลิมนิยมนำปลากระบอกมาต้มเผ็ด รสชาติเข้มข้น เปรี้ยวเผ็ดลักษณะคล้ายแกงส้ม แต่ใส่ตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาว เหมาะสำหรับกินมื้อเที่ยงกับข้าวสวยอร่อยเผ็ดจัดจ้านได้ใจ
ปลากระบอกต้มเผ็ด นั้นเป็นอาหารที่นิยมทำกินในชุมชนที่อยู่รอบอ่าวปัตตานี ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยปลากระบอก กล่าวกันว่าในอดีตเป็นกับข้าวหลักที่ทำกินกันทุกบ้าน ต้มแต่ละครั้งจะใช้ปลากระบอก 20 – 30 ตัว ไว้กินเอง ส่วนที่เหลือนิยมแจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน ปลากระบอกเป็นปลาที่อาศัยในหนอง บึง จะผสมพันธุ์ และวางไข่ในน้ำกร่อยบริเวณป่าชายเลนกับปากแม่น้ำ
31. ยำหัวปลีโบราณ อาหารไทย สูตรอาหารภาคใต้ ด้วยรสชาติหัวปลีมีความฝาด จึงนำมายำกับกะทิผสมน้ำตาลทราย เกลือ ทำให้ได้รสชาติที่อร่อยเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง นับเป็นอาหารที่นิยมทำรับประทานเองที่บ้าน รับประทานกับข้าวสวย ทั้ง 3 มื้อ หรือบางครั้งสามารถหารับประทานได้ในงานมลคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน, ขึ้นบ้านใหม่ และงานเมาลิด เป็นต้น
กล้วยเป็นพืชไม้ล้มลุกเป็นที่ชาวบ้านในชุมชนนิยมปลูกตามบ้าน หรือตามสวน เพราะเป็นพืชสารพัดประโยชน์ โดยใบตองใช้ห่ออาหาร ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย ส่วนต่าง ๆ ของกล้วยนำมาทำอาหารได้มากมาย เช่น ผลทั้งสุก และดิบทำกล้วยแขก หรืออาจเป็นกล้วยบวชชี, กล้วยปิ้ง และหัวปลีนำมารับประทานได้หลายวิธี เช่น รับประทานกันสด ๆ หรือต้มแหนมกับบูดู แกงหัวปลี และแกงเลียงหัวปลี โดยชาวไทยมุสลิมปัตตานีนิยมนำหัวปลีมาทำเป็นยำ
อาหารไทย มีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เป็นอาหารประจำของประเทศไทย อาหารไทยดั้งเดิมแบ่งเป็น ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย
จุดเด่นของอาหารไทย คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียว และข้าวเจ้า ภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก
วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย คำว่าวัฒนธรรมมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Cultura ภาษาอังกฤษใช้ คำว่า Culture ไทยได้บัญญัติคำว่า วัฒนธรรม ขึ้นใช้เมื่อพุทธศักราช 2483 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูล สงคราม โดยศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิป พงศ์ประพันธ์ ครั้งแรกทรงบัญญัติ คำว่า พฤทธิธรรม ขึ้นใช้ก่อนเมื่อทรงเห็นว่าไม่เป็นที่นิยมใช้จึงทรงเปลี่ยนไปใช้คำว่า วัฒนธรรม ซึ่งเป็นคำที่มี ความไพเราะและมีความหมายสอดคล้องกับวิชาภาษาอังกฤษ คำนี้จึงเป็นที่ยอมรับและใช้กัน อย่างแพร่หลายและยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้
วัฒนธรรม คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นคิดขึ้น กำหนดขึ้นบัญญัติขึ้น โดยไม่ได้กระทำตามสัญชาตญาณ เพื่อใช้ในสังคม ของตน อีกทั้งวัฒนธรรมจะปรากฏในรูปของระบบความคิด (Thinking) การกระทำ (Doing) และการมีอยู่ (Having) ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและปรุงแต่งขึ้น
ประเพณี เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อสวัสดิภาพของมนุษย์เอง ชีวิตสังคม จะไม่สงบเรียบร้อย ถ้าไม่มีประเพณีหนุนหลัง ประเพณี ของสังคมมิใช่ เป็นสิ่งแน่นอนคงที่ตายตัวหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ตรงกันข้ามประเพณี เกิดขึ้นได้และสลายตัวได้เมื่อสภาพแวดล้อมของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติกว้างขวางขึ้น การประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์กว้างขวางขึ้น มีการติดต่อกับสังคมอื่นมีวิธีการแตกต่างไป ความต้องการและโอกาสที่จะทำให้ชีวิตสุขสบาย จำต้องแสวงหาวิธีใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเมื่อเป็นที่ยอมรับก็จะกลายเป็นประเพณี ใหม่ วิธีการเดิมหรือประเพณีเดิมก็สลายตัวไป การปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ทำให้ประเพณีเปลี่ยนแปลงได้
ภาคใต้ มีพื้นที่เป็นคาบสมุทรและชายฝั่งทะเล ท้าให้มีชนชาติต่าง ๆ เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และเข้ามาตั้งถิ่น ฐานตั้งแต่ในอดีต จึงมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เช่น คนจีน คนอินเดีย และคนที่มีเชื้อสายมาเลเซียที่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้บริเวณชายฝั่ง และเกาะบางเกาะของภาคใต้ทางด้านตะวันตกมีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่าชาวเล ส่งผลให้เกิดการหล่อหลอมลักษณะเด่นให้มีการปรับตัว ปรับวิถีชีวิตจนเป็นลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะของคนภาคใต้
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร
ปรับปรุงล่าสุด : 3 เดือนที่แล้ว