หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.นครศรีธรรมราช > อ.เมืองนครศรีธรรมราช > ต.ในเมือง > แกงส้มปลากดมันขี้หนู เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารปักษ์ใต..
Rating: 5/5 (1 votes)
แกงส้มปลากดมันขี้หนู เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารปักษ์ใต้
แกงส้มปลากดมันขี้หนู เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารปักษ์ใต้ แกงส้มโดยทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นแกงส้มชะอมไข่ แกงส้มปลาหรือกุ้งกับมะละกอ หรือแกงส้มอ้อดิบกับปลา แกงส้มดอกแค และมีมากมายหลายแกงส้ม แต่สำหรับแกงส้มใส่มันขี้หนู หลายคนอาจไม่รู้จักและไม่เคยได้ลิ้มรสของมันขี้หนูมาก่อน รสชาติกลมกล่อม หวานมัน เนื้อนุ่มฟัน
หัวของมัน นำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง
มันขี้หนู นิยมทำให้สุกแล้วนำมารับประทาน บางครั้งรับประทานสด หัวอ่อนสีขาว นิยมใส่ในแกงหรือใช้เป็นผัก เป็นมันพื้นเมืองของภาคใต้ พืชล้มลุกมีหัวขนาดเล็กเป็นพวง นิยมนำมาต้มใส่เกลือรับประทานเป็นของกินเล่น และใช้เป็นผักใส่แกงส้ม แกงไตปลา หรือแกงกะทิ ด้วยรสหวานอร่อย เนื้อเนียนละเอียด เมื่อนำมาใส่ในแกงภาคใต้ซึ่งมักมีรสจัด จึงตัดรสกันเป็นอย่างดีทำให้อาหาร มีรสกลมกล่อมขึ้น มันขี้หนูมีประโยชน์ อีกมากมาย ใบยังช่วยลดความดัน ใช้พอกรักษาแผล และลดอาการหอบหืดได้
วัตถุดิบ (สูตรอาหารปักษ์ใต้)
-ปลากด ครึ่งกิโล
-มันขี้หนู 1 ถ้วย
-พริกแกงส้ม 1/2 ช้อนโต๊ะ
-กะปิ 1/2 ช้อนโต๊ะ
-น้ำมะขามเปียก 5 ช้อนโต๊ะ
-ผงปรุงรส 1/2 ช้อนโต๊ะ
-น้ำตาลปิ๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
-น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ (เมนูอาหารใต้)
1. ตั้งกระทะเติมน้ำเปล่าลงไป รอให้น้ำเดือดจากนั้นใส่พริกแกงส้มกับกะปิละลายลงไปในน้ำเดือดจากนั้นใส่มันขี้หนูตามลงไปรอให้เดือด และมันสุกนุ่ม
2. จากนั้นใส่ปลากดที่ได้ล้างสะอาดแล้วลงไป รอน้ำเดือดโดยไม่ต้นคน จากนั้นปรุงผงปรุงรสจามชอบ ตามด้วยน้ำตามปิ๊บ และมะขามเปียก รอให้เดือดสักครู่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา
อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ ทั่วไปนั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว