ใบเหลียงผัดไข่ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้
Rating: 2.6/5 (5 votes)
ใบเหลียงผัดไข่ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้ ผักเหลียงเป็นชื่อเรียกผักชนิดหนึ่งที่พบมากในภาคใต้ตอนบน ชาวจังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานีเรียก “ผักเหลียง” แต่ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชเรียกว่า “ผักเหมียง” โดยนอกจากนี้ผักชนิดนี้ยังพบทางภาคตะวันตก เช่น จังหวัดกาญจนบุรี “ผักเหลียง” จะเป็นผักพื้นบ้านภาคใต้ที่ให้รสมัน โดยจะไม่มีรสขมเหมือนผักใบเขียวชนิดอื่นๆ นิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก ขนมจีน และอาหารอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ต้มกะทิ, ผัดไฟแดง และที่นิยมกันมากคือนำมาผัดกับไข่ เวลาเลือกซื้อ เลือกที่ไม่อ่อน หรือแก่จนเกินไป หากอ่อนจะไม่มีรสชาติ ถ้าแก่ก็จะแข็งไม่อร่อย
ผักเหลียง อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญ ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา, บำรุงผิวพรรณ และมีค่าปริมาณแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง ทำให้ช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง ผักเหลียง เป็นผักพื้นบ้านภาคใต้ นั้นเป็นพืชยืนต้นที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 - 2 เมตร มีใบเรียวยาว สามารถนำใบอ่อน และยอดมารับประทานได้ แต่ต้องทำให้สุก โดยนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดผักเหลียงใส่ไข่, แกงเลียงผักเหลียงใส่กุ้ง นำมาต้มกะทิ ใช้รองห่อหมก หรือลวกจิ้มน้ำพริก ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในภาคใต้ เป็นต้น
ส่วนผสม (สูตรอาหารภาคใต้)
- ใบเหลียง 1 ถ้วย
- ไข่ไก่ 3 ฟอง
- กระเทียม ½ ถ้วย
- น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วขาว ½ ช้อนโต๊ะ
- พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
วิธีทำ (เมนูอาหารใต้)
1. น้ำใบเหลียงมาล้างให้สะอาด และพักเตรียมไว้
2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไปเล็กน้อย ใส่กระเทียมลงไปผัด พอให้กระเทียมเริ่มเหลือง จากนั้นใส่ไข่ไก่ลงไป ตีให้ไข่แตก จากนั้นใส่ใบเหลียงตามลงไป เทคนิคคือผัดไฟแรง และผัดเร็ว ๆ สักเกตุจากผักจะเริ่มหดตัวลงไป จากนั้นให้ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว, น้ำมันหอย และพริกไทย
อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป นั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว
สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม
ไปยังส่วนบน