หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.นครศรีธรรมราช > อ.เมืองนครศรีธรรมราช > ต.ในเมือง > ประเพณีภาคใต้ วัฒนธรรมภาคใต้ และประเพณีไทย


นครศรีธรรมราช

ประเพณีภาคใต้ วัฒนธรรมภาคใต้ และประเพณีไทย

ประเพณีภาคใต้ วัฒนธรรมภาคใต้ และประเพณีไทย

Share Facebook

Rating: 2.4/5 (267 votes)

ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ภาคใต้ นั้นเป็นภูมิภาคหนึ่งของไทยอยู่ทางใต้ของประเทศ โดยถัดลงไปจากบริเวณ ภาคกลาง บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดา มันทางฝั่งตะวันตก ซึ่งมีเนื้อที่ รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร โดยความยาวจากเหนือจดใต้ ประมาณ 750 กิโลเมตร โดยทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัด ยะลา โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี, เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช
 
โดยมีเทือกเขาสันกาลาคีรี ที่เป็นพรมแดน ขั้นกลางระหว่างไทยกับมาเลเซีย เทือกเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสั้น 1,000 กิโลเมตร โดยจะแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำพุมดวง, แม่น้ำตาปี, แม่น้ำปัตตานี, แม่น้ำ, ท่า, ทอง, แม่น้ำตะกั่วป่า, แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำตรัง โดยชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการ ยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ซึ่งทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบ ต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง และเป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน
 
ภาคใต้ เป็นดินแดนแห่งหมู่เกาะที่มีทะเลที่สมบูรณ์งดงาม มีทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีเสน่ห์ โดยภาคใต้แบ่งพื้นที่ทั้งหมด 14 จังหวัดในประเทศไทยได้แก่
 
1. จังหวัดกระบี่
2. จังหวัดชุมพร
3. จังหวัดตรัง
4. จังหวัดนครศรีธรรมราช
5. จังหวัดนราธิวาส
6. จังหวัดภูเก็ต
7. จังหวัดยะลา
8. จังหวัดสตูล
9. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
10. จังหวัดพังงา
11. จังหวัดพัทลุง
12. จังหวัดปัตตานี
13. จังหวัดสงขลา
14. จังหวัดระนอง
 
วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย คำว่าวัฒนธรรมมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Cultura ภาษาอังกฤษใช้ คำว่า Culture ไทยได้บัญญัติคำว่า วัฒนธรรม ขึ้นใช้เมื่อพุทธศักราช 2483 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูล สงคราม โดยศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิป พงศ์ประพันธ์ ครั้งแรกทรงบัญญัติ คำว่า พฤทธิธรรม ขึ้นใช้ก่อนเมื่อทรงเห็นว่าไม่เป็นที่นิยมใช้จึงทรงเปลี่ยนไปใช้คำว่า วัฒนธรรม ซึ่งเป็นคำที่มี ความไพเราะและมีความหมายสอดคล้องกับวิชาภาษาอังกฤษ คำนี้จึงเป็นที่ยอมรับและใช้กัน อย่างแพร่หลายและยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้
 
วัฒนธรรม คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นคิดขึ้น กำหนดขึ้นบัญญัติขึ้น โดยไม่ได้กระทำตามสัญชาตญาณ เพื่อใช้ในสังคม ของตน อีกทั้งวัฒนธรรมจะปรากฏในรูปของระบบความคิด (Thinking) การกระทำ (Doing) และการมีอยู่ (Having) ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและปรุงแต่งขึ้น
 
ประเพณี เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อสวัสดิภาพของมนุษย์เอง ชีวิตสังคม จะไม่สงบเรียบร้อย ถ้าไม่มีประเพณีหนุนหลัง ประเพณี ของสังคมมิใช่ เป็นสิ่งแน่นอนคงที่ตายตัวหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ตรงกันข้ามประเพณี เกิดขึ้นได้และสลายตัวได้เมื่อสภาพแวดล้อมของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติกว้างขวางขึ้น การประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์กว้างขวางขึ้น มีการติดต่อกับสังคมอื่นมีวิธีการแตกต่างไป ความต้องการและโอกาสที่จะทำให้ชีวิตสุขสบาย จำต้องแสวงหาวิธีใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเมื่อเป็นที่ยอมรับก็จะกลายเป็นประเพณี ใหม่ วิธีการเดิมหรือประเพณีเดิมก็สลายตัวไป การปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ทำให้ประเพณีเปลี่ยนแปลงได้
 
ภาคใต้มีพื้นที่เป็นคาบสมุทรและชายฝั่งทะเล ท้าให้มีชนชาติต่าง ๆ เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และเข้ามาตั้งถิ่น ฐานตั้งแต่ในอดีต จึงมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เช่น คนจีน คนอินเดีย และคนที่มีเชื้อสายมาเลเซียที่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้บริเวณชายฝั่ง และเกาะบางเกาะของภาคใต้ทางด้านตะวันตกมีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่าชาวเล ส่งผลให้เกิดการหล่อหลอมลักษณะเด่นให้มีการปรับตัว ปรับวิถีชีวิตจนเป็นลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะของคนภาคใต้
 
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้
กลุ่มที่ 1 คติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการพื้นฐานขององค์แห่งความรู้ จากการที่ดินแดนภาคใต้มีคนจากวัฒนธรรมอื่นผลัดเปลี่ยนเข้ามาอย่างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานับพันปี ท้าให้เกิดการผสมผสานความคิด ความเชื่อในอ้านาจเหนือธรรมชาติที่หลากหลายจนส่งผลให้เกิดความคิดความเชื่อ
ของคนภาคใต้ เช่น
 
1. ความเชื่อเรื่องการนอนหันศีรษะไปทางทิศใต้เป็นการนอนอย่างบูชาพระพุทธเจ้าและบูชาบิดา-มารดา ซึ่งเป็นมงคลสูงสุด
แห่งชีวิต เนื่องจากตอนปรินิพพานพระองค์หันพระพักตร์ไปเบื้องหน้าคือทิศตะวันออก หันพระเศียรไปทางเบื้องขวา คนปักษ์ใต้นอนหันหัวไปทางทิศใต้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก (ทิศเบื้องหน้า) นอนตามทิศทางที่พระพุทธปรินิพพาน เรียกว่าบูชาพระพุทธเจ้าเป็นมงคลสูงสุดอย่างนี้ก็ได้
 
2. ความเชื่อเรื่องพิธีขอป่าเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านภาคใต้ทาขึ้นเพื่อขอตัดไม้ในป่า สาหรับปลูกสร้างบ้านเรือนหรือที่ทากิน โดยการนาอาหารคาวหวานพร้อมกับตัดกิ่งไม้เป็นรูปตะขอมาเซ่นไหว้เจ้าป่าเจ้าเขา แล้วอธิษฐานขออนุญาตเข้าถางป่า
 
3. ความเชื่อเรื่องสถานภาพสังคมของคนชาวใต้ให้ความส้าคัญกับเพศชายสูงกว่าเพศหญิง การยกย่องบุรุษเพศในการเป็นหัวหน้าครอบครัว พร้อมกันนั้นก็คาดหวังว่าบุรุษต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม และต้องเป็นคนจริง คือ เชื่อถือได้ไม่เหลวไหล ขณะเดียวกันก็มีความคาดหวังให้ผู้หญิงเป็นผู้มีคุณค่าสมเป็นกุลสตรีไทยให้คุณค่าต่อพรหมจารีของผู้หญิงสูงมาก
 
4. พิธีลอยเคราะห์คนภาคใต้นั้นจะมีความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ว่า คนทุกคนมีช่วงเวลาที่ดาวพระเคราะห์มาเสวยอายุ โดยยามใดที่ดาวพระเคราะห์มาเสวยอายุก็จะเกิดโทษกับผู้นั้นอาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีเหตุการณ์ร้าย ๆ มากระทบต่อการดาเนินชีวิตทั้งตัวเอง และญาติมิตร ดังนั้นจึงมักนิยมลอยเคราะห์เพื่อให้ตนพ้นจากเคราะห์กรรมนั้น โดยด้วยการนาต้นกล้วยมาทาเป็นแพ แล้วเอาผม, เล็บ, ขี้ไคล, รวมทั้งดอกไม้ และธูปเทียน ใส่ในแพลอยน้้าไป
 
5. ความเชื่อเรื่องโจ เป็นความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ที่ท้าขึ้นเพื่อใช้ป้องกันปัญหาการลักขโมยผลไม้ในสวนเนื่องจากการแขวนโจที่ต้นไม้จะเป็นการบอกให้รู้ว่าได้มีการก้ากับคาถาอาคมไว้ หากผู้ใดเก็บผลไม้จากต้นที่มีการแขวนโจไปรับประทาน จะท้าให้เจ็บป่วย เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารในลักษณะต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง ท้องบวม ท้องป่อง โดยไม่รู้สาเหตุ และตายในที่สุด
 
กลุ่มที่ 2 ศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณี จากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ท้าให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเลอาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
 
การแต่งกายภาคใต้
 
การแต่งกายภาคใต้ ภาคใต้จะมีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ เชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย โดยปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี, อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
การแต่งกายของชาวใต้ โดยการแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
 
1. กลุ่มเชื้อสายจีน - มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า จะเป็นกลุ่มชาวจีน มีเชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน ระหว่างรูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่
 
2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม จะมีชนดั้งเดิมของดินแดนนี้ที่นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู แต่ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือซิ่นทอแบบมาลายู โดยส่วนฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง จะสวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต ที่พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ โดยจะเย็บด้วยผ้ากำมะหยี่
 
3. กลุ่มชาวไทยพุทธ กลุ่มชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม จะใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน โดยส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือสวนโจงกระเบน เช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและมีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี กลับหน้า
 
อาหารภาคใต้
 
อาหารภาคใต้ พื้นที่โดยส่วนใหญ่ของภาคใต้อยู่ติดกับ ชายฝั่งทะเล ประชาชนส่วนใหญ่จึงทำการประมง และรับประทานสัตว์น้ำที่หาได้จากทะเล คนใต้รับประทานข้าวเจ้าเป็นหลักอาหารส่วนใหญ่มีเครื่องเทศเป็นส่วนผสมโดยเฉพาะขมิ้นซึ่งเป็น เครื่องเทศที่อยู่คู่กับอาหารใต้มานาน นอกจากขมิ้นจะช่วยให้อาหารมีสีเหลืองน่ารับประทานแล้ว อีกทั้งยังลดกลิ่นคาวของอาหารทะเลได้อีกด้วย 
 
อาหารปักษ์ใต้ นั้นจะมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีความเข้มข้นและเผ็ดร้อน คนใต้นิยมปรุงอาหารรสเค็มนำ ตามด้วยรสเปรี้ยวไม่ทานอาหารรสหวาน  ความเผ็ดร้อนมาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้ง และพริกไทยที่ใส่ในน้ำพริกแกงต่าง ๆ รสเค็มได้มาจากกะปิและเกลือ รสเปรี้ยวจากส้มแขก ระกำ มะนาว มะขามเปียก ตะลิงปลิง และมะขามสด เป็นต้น 
 
เนื่องจากอาหารภาคใต้นั้นมีความเผ็ดจัดจ้านมาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนใต้มักจะกิน ผักควบคู่กับการรับประทานข้าว เพื่อลดความเผ็ดร้อนลง โดยซึ่งคนภาคใต้นั้นจะเรียกผักต่าง ๆ เหล่านี้ว่าผักเหนาะ (โดยบางจังหวัดเรียกผักเกร็ด) ซึ่งผักเหนาะที่รับประทานกันจะคล้ายกับภาคกลาง เช่น มะเขือต่าง ๆ , แตงกวา, ถั่วฝักยาว และถั่วพู เป็นต้น
 
ประเพณี และวัฒนธรรมภาคใต้ที่เก่าแก่ ได้แก่
 
ประเพณีสารทเดือนสิบ
 
1. ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา ระยะเวลาของการประกอบพิธีสารทเดือนสิบมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำถึงแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ แต่วันที่ชาวนครศรีธรรมราชนิยมทำบุญคือวันแรม 13-15 ค่ำเป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราช ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ในโอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที
 
ประเพณีอาบน้ำคนแก่
 
2. ประเพณีอาบน้ำคนแก่ ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 13-15 เดือนเมษายน (เดือน 5) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้า หรือตอนบ่ายเป็นไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัดหมายสถานที่และวันเวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม ประเพณีอาบน้ำคนแก่เป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือ แก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของตระกูล รวมทั้งผู้มีพระคุณและบุคคลที่ตนเคารพนับถือ
 
ประเพณีให้ทานไฟ
 
3. ประเพณีให้ทานไฟ ประเพณีไทย และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา การให้ทานไฟ ส่วนใหญ่จะปฏิบัติในช่วงเดือนยี่ เป็นช่วงเวลาที่อากาศหนาวเย็นที่สุด โดยชาวบ้านจะนัดหมายไปพร้อมกันในเวลาย่ำรุ่ง หรือตอนเช้ามืดของวันไหนก็ได้ การให้ทานไฟ เป็นการทำบุญเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์เกิดความอบอุ่นในตอนเช้ามืดของคืนที่มีอากาศหนาวเย็น โดยใช้ลานวัดเป็นที่ก่อกองไฟแล้วทำขนมถวายพระ
 
ประเพณีชักพระ
 
4. ประเพณีชักพระ ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ เป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย
 
ประเพณีทำพุ่มผ้าป่า
 
5. ประเพณีทำพุ่มผ้าป่า ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา คืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ประเพณีทำพุ่มผ้าป่าหรือทอดผ้าป่า กระทำควบคู่กับประเพณีลากพระ ประเพณีนี้จะทำในคืนซึ่งในวันรุ่งขึ้นจะมีประเพณีลากพระ มีทำกันเฉพาะในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น แท้จริงตั้งแต่เดิมมาประเพณีนี้เป็นพิธีหนึ่งทางพุทธศาสนา ที่กระทำต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความเจริญทางวัฒนธรรมของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีประเพณีหนึ่ง มีปฏิบัติกันเฉพาะในเมืองนี้เท่านั้น เป็นประเพณีที่ควรส่งเสริมเผยแพร่ให้คงอยู่สืบไป
 
ประเพณีรับ-ส่งตายาย
 
6. ประเพณีรับ-ส่งตายาย ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ เป็นประเพณีทำบุญวันสาร์ทในเดือนสิบ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกท้องที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญูอย่างสูงยิ่งต่อบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทุกครอบครัวไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
 
มโนห์รา ศิลปพื้นบ้าน
 
7. มโนห์รา ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ศิลปพื้นบ้าน กลุ่มศิลปินมโนห์ราพื้นบ้าน เป็นศิลปะและภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดแก่เยาวชนรุ่นหลัง ได้รับการเลือกให้เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลไทรโสภา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากราชการและเอกชนอย่างต่อเนื่อง
 
ประเพณีขึ้นถ้ำวัดถ้ำเขาขุนกระทิง
 
8. ประเพณีขึ้นถ้ำวัดถ้ำเขาขุนกระทิง ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 เป็นประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาแต่อดีต นิยมจัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรด้วยมีความเชื่อว่าการทำนาหรือ กิจกรรมการเกษตรที่ประสบความสำเร็จได้เกิดจากการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย การขึ้นถ้ำจึงเป็นพิธีกรรมใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมักเป็นพระพุทธรูปของวัดเพื่อแสดงความกตัญญูและเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้แก่ชีวิต

งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ
 
9. งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา เริ่มงานวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (วันออกพรรษา) ของทุกปี งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะการขึ้นโขนชิงธง ที่นายท้ายเรือต้องถือท้ายเรือให้ตรงเพื่อให้นายหัวเรือคว้าธงที่ทุ่นเส้นชัย โดยการขึ้นโขนเรือ
 
ประเพณีลอยเรือชาวไทยใหม่
 
10. ประเพณีลอยเรือชาวไทยใหม่ ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ หมู่ที่ 1 บ้านสังกาอู เป็นประเพณีลอยเรือของชาวไทยใหม่ ปี ละ 2 ครั้ง เดือน6 และเดือน 11 ของทุกปี จะมีการต่อเรือด้วยไม้ระกำขึ้นแล้วนำแห่ลงในทะเล เป็นการเสดาะเคราะห์ของชาวไทยใหม่ (ชาวเล) มารวมตัวของชาวเล หม่ที่1และหมู่ที่7 ตำบลเกาะลันตาใหญ่
 
ประเพณีการแห่นก
 
11. ประเพณีการแห่นก ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ความสำคัญของประเพณีการแห่นก ประเพณีการแห่นก เป็นประเพณีการทางพื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่นราธิวาส ซึ่งได้มีการกระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เป็นประเพณีนิยมที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไม่เป็นประเพณีตามนักขัตฤกษ์ แต่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส เพื่อความสนุกรื่นเริง เป็นการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในศิลปะและอาจจัดขึ้นในการแสดงความคารวะ แสดงความจงรักภักดี แก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ หรือในโอกาสต้อนรับแขกเมือง บางทีอาจจัดขึ้นเพื่อความรื่นเริงในพิธีการเข้าสุนัต หรือที่เรียกว่า "มาโซยาวี" หรือจัดขึ้นเพื่อประกวดเป็นครั้งคราว นกที่นิยมทำขึ้นเพื่อการแห่ ประเพณีการแห่นกนั้นนอกจากที่ให้ความสนุกสนานแล้ว ยังให้คติ ความเชื่อ ความรัก ความสามัคคี และความเชื่อในการยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้ร่วมพิธีในการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ และเป็นการอนุรักษ์ให้ประเพณีแห่นกยังคงอยู่สืบเนื่องต่อไป
 
ประเพณีการแต่งงาน
 
12. ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ โดยในช่วงเวลา การแต่งงานนั้นจะกระทำกัน 3 ขั้นตอน คือ
1. การสู่ขอ โดยฝ่ายชายจะให้ฝ่ายญาติผู้ใหญ่ที่เป็นผู้หญิงล้วน ๆ เป็นเถ้าแก่ไปทาบทามสู่ขอกับพ่อแม่ฝ่ายหญิง
2. การหมั้น เมื่อถึงกำหนดหมั้นฝ่ายชายจะจัดเถ้าแก่นำขบวนขันหมากไปยังบ้านฝ่ายหญิง โดยชายผู้จะเป็นเจ้าบ่าวไม่ได้ไปด้วย
3. พิธีแต่งงาน โดยทั่วไปจะจัดหลังจากหมั้นและไม่เกิน 2 สัปดาห์ โดยถือฤกษ์ 4 -5 โมงเย็นของวันใดวันหนึ่ง
 
พิธีการแต่งงานของมุสลิมจะไม่นิยมแต่งในช่วงที่ประกอบพิธีฮัจญ์ โดยพิธีสมรสตามหลักการของศาสนาอิสลามตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม คำว่าแต่งงานในศาสนาอิสลาม จึงเรียกว่านิกะห์ ซึ่งชายคนหนึ่ง จะแต่งงานกับหญิงได้อย่างมากที่สุดในขณะเดียวกันอย่างที่สุด 4 คน คือ หมายความว่า ชายคนหนึ่งจะมีภรรยาได้ในขณะเดียวกัน อย่างมากที่สุด 4 คน แต่มีข้อบังคับว่าชายผู้นั้นจะต้องเลี้ยงดู ให้ความยุติธรรมกับภรรยาทั้งหมดได้ ถ้าไม่มีความสามารถแล้วก็ให้มีเพียงคนเดียวเท่านั้น
 
ประเพณีบุญบั้งไฟ
 
13. ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ เป็นประเพณีบุญบั้งไฟ แห่งเดียวในภาคใต้ เนื่องจากตำบลภูเขาทองมีราษฎรอพยพมาจากภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ และได้นำเอาศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงานมาด้วย
 
ลากพระ (ชักพระ)
 
14. ลากพระ (ชักพระ) ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา วันออกพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) เป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนา กระทำกันหลังวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา 1 วัน คือตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือเรือ รถ หรือล้อเลื่อนที่ชาวบ้านเรียกว่า "พนมพระ" แล้วแห่แหนชักลากไปตามถนนหนทาง หรือในลำน้ำ แล้วแต่สภาพภูมิประเทศจะเหมาะสม ซึ่งชาวใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาหลายจังหวัดจะมีประเพณีนี้
 
ประเพณีลากพระของชาวใต้นั้นมีมาแต่โบราณและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอื่น ๆ โดยสืบเนื่องหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแข่งขันเรือพาย, การประชันโพนหรือแข่งโพน, กีฬาซัดต้ม, การทำต้มย่าง และการเล่นเพลงเรือ เป็นต้น โดยนอกจากนั้นประเพณีชักพระยังก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันทำคุณงามความดี และก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของหมู่คณะ นำความสุขสงบมาให้สังคม
 
ประเพณีกินผัก
 
15. ประเพณีกินผัก ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา ประกอบพิธี 9 วัน ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน (ตรงกับเดือน 11 ของไทย) กินผักภาษาจีนเรียกว่า "เก้าอ็วงเจ" หรือ "กิวอ็วงเจ" เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของคนไทยที่มีเชื้อสายจีนทางฝั่งทะเลตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดพังงาในเขตอำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง แต่เดิมผู้คนกินผักมักมีเชื้อสายฮกเกี้ยน แต่ในปัจจุบันแพร่หลายไปยังกลุ่มอื่น ๆ ด้านคุณค่าของพิธีกินผักนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคร้ายจากตัวผู้กินผัก
 
แล้วยังเป็นการแสดงออกถึงความคารพบรรพบุรุษ และเป็นการฝึกจิตใจของผู้กินผักให้บริสุทธิ์ อีกทั้งได้รักษาศีลอีกทั้งยังเหมาะกับสภาพสังคมในปัจจุบันด้วย เพราะเป็นช่วงที่ได้ประหยัดการใช้จ่าย จึงงดการเที่ยวเตร่ และอาหารผักก็ราคาถูกกว่า โดยสุดท้ายยังก่อให้เกิดความสามัคคี เพราะว่าผู้ที่ร่วมกินเจไม่ว่าคนร่ำรวยหรือคนจนจะไปร่วมในพิธีกันอย่างพร้อมเพรียงด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม  และทักทายกันด้วยดี จึงทำให้จำนวนผู้ที่เข้าร่วมกินผัก อย่างเช่น ในจังหวัดพังงาจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ที่แสดงให้เห็นว่าประเพณีกินผักจะคงอยู่สืบทอดต่อไปอีกนาน
 
ประเพณีการเดินเต่า
 
16. ประเพณีการเดินเต่า คือการเดินหาเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย ซึ่งแหล่งที่มีการเดินเต่าทางภาคใต้นั้นมีหลายแหล่ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่คือบริเวณชายฝั่ง แถวฝั่งทะเลด้านตะวันตก หรือชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ทางตะวันตกของจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นหาดทรายที่มีความยาวโดยตลอดร่วม 100 กิโลเมตร ซึ่งในบริเวณชายฝั่งทะเลนั้น จะมีเต่าทะเลหลายชนิดขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย เมื่อถึงฤดูวางไข่ ชนิดของเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ตามชายฝั่งตะวันตกนี้มีหลายชนิด ซึ่งชาวบ้านเรียกกันหลายชื่อได้แก่ เต่ากระ เต่าเฟือง เต่าเล็ก เต่าหางยาว เป็นต้น เวลาที่เต่าทะเลหลายชนิดขึ้นมาวางไข่บนหาด เมื่อถึงฤดูวางไข่คือประมาณ เดือน 11 แรม 1 ค่ำ ราวปลายเดือนตุลาคม หรือต้นเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือน 4 ราว ๆ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนก่อนหรือหลังเวลาที่ว่ามานี้มีบ้างเล็กน้อย ประชาชนในท้องถิ่นได้ร่วมมือกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ เต่าทะเล เป็นต้น ถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนใน ถือเป็นการทำผิดกฎหมายถูกดำเนินคดีทางกฎหมายได้
 
หอศิลป์หนังตะลุง
 
17. ประเพณีหนังตะลุง ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ แนะนำที่หอศิลป์หนังตะลุง หอศิลป์แห่งนี้ มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการอนุรักษ์หนังตะลุงทั้งในปัจจุบันและอดีต โดยการร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคลัสเตอร์แกะหนังเมืองลุงและภาครัฐ ในการนำหนังตะลุงไปเผยแพร่ยังที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
 
ภายในหอศิลป์มีพิพิธภัณฑ์สถานแสดงตัวหนังตะลุง กรรมวิธีการสร้างหนังตะลุง ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง ประวัติช่างผู้ทำ และเครื่องดนตรีหรือเครื่องประกอบในการแสดงหนังตะลุง อีกทั้งยังมีบริการรับเข้ากรอบรูป รับแกะสลักภาพหนังตะลุงทุกรูปแบบ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภาพแกะหนังตะลุง เปิดสอนวิชาการแกะหนังตะลุง บริการให้ข้อมูล สาธิตการแกะหนังตะลุง และการแสดงหนังตะลุงและมโนราห์
 
การแข่งโพน
 
18. การแข่งโพน ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา ปลายเดือนสิบ ก่อนประเพณีชักพระ วัดต่าง ๆ เตรียมทำบุษบก หุ้มโพน และเริ่มการคุมโพนเพื่อเป็นการประกาศให้ชาวบ้านรู้ว่า ทางวัดจะจัดให้มีการชักพระ ต่อมามีการโต้เถียงเกี่ยวกับเสียงโพน จึงคิดเล่นสนุกสนานมากขึ้น มีการท้าพนันกันบ้างว่า ผู้ตีโพนคนใดเรี่ยวแรงดีที่สุด ลีลาท่าทางการตีดีที่สุด โพนวัดใดเสียงดังมากที่สุด จึงมีการแข่งขันตีโพนกันขึ้น ในระยะ แรก ๆ เข้าใจว่า คงตีแข่งขันภายในวัดและค่อยขยายออกมาภายนอกวัด เพิ่มจำนวนโพนขึ้น จัดประเภทและมีกติกามากขึ้น การคิดเล่นสนุกสนานเหล่านี้ ทำให้มีการแข่งโพนกันอย่างกว้างขวางในระยะหลัง และกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา ปัจจุบันการแข่งโพนเป็น กิจกรรมการละเล่นที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง
 
ชิงเปรต
 
19. ประเพณีชิงเปรต ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน 10 เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน 10 นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย
 
ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลานลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น
 
พิธีโกนผมไฟของมุสลิม
 
20. พิธีโกนผมไฟของมุสลิม ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา หลังจากทารกคลอดได้ 7 วัน บิดาจะจัดพิธีเชิญโต๊ะอีหม่าม หมอตำแยและเพื่อนบ้านไปร่วมพิธี มารดาจะจัดการอาบน้ำบุตร แล้วห่มผ้าวางบนเบาะ เอาลูกอินทผาลัมใส่จานเล็กๆ และถ้วยสำหรับใส่ผม มีดโกน และกรรไกรใส่ถาดเสร็จแล้วให้โต๊ะอีหม่ามหรือหมอตำแยทำพิธีโกนผม เมื่อโกนเสร็จทุกคนยืนขึ้นสวดสรรเสริญพระนบี จบแล้วโต๊ะอีหม่ามอ่านดูอา (สวดขอพร) แล้วเลี้ยงอาหารเป็นอันเสร็จพิธีโกนผมไฟ
 
การแข่งขันว่าวประเพณี
 
21. การแข่งขันว่าวประเพณี ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา ต้นสัปดาห์แรกเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี การแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูล เริ่มมีวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2519 โดยคณะครู-อาจาย์โรงเรียนสตูลวิทยา และชาวบ้านตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ริเริ่มจัดการแข่งขัน เนื่องจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ลงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ลมว่าวกำลังพัดย่านท้องที่สนามบิน และในจังหวัดภาคใต้ เหมาะแก่การเล่นว่าว เป็นการตอบแทนบุญคุณของควายที่ช่วยเหลือชาวนา ทำนา จึงเทอดทูนผู้มีพระคุณ เป็นการอนุรักษ์ช่างฝีมือในการทำว่าว ซึ่งนับวันจะหายากยิ่งขึ้น เสริมสร้างความสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ของประเทศมาเลเซียที่มีชายแดนติดต่อกับจังหวัดสตูล เป็นศูนย์รวมของว่าวภาคใต้ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ปลูกฝังให้เยาวชนให้ตระหนักถึงภูมิปัญญาไทย มรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรม
 
ประเพณีลอยแพ
 
22. ประเพณีลอยแพ ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา เมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย การลอยแพซึ่งบางคนเรียกว่า "สงเภา" (ส่งตะเภา) เป็นการส่งโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรงให้พ้นไป เพราะคิดว่าโรคภัยไข้เจ็บเหล่านั้นเกิดจากผีห่าให้ร้าย ต้องเอาอกเอาใจด้วยการส่งเสียเสบียงอาหารแล้วให้ออกไป ไม่ให้ทำอันตรายอีกต่อไป
 
การแสดงลิเกป่า
 
23. การแสดงลิเกป่า ลิเกป่าหรือลิเกรำมะนา ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ เป็นการเล่นพื้นเมืองที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของชาวเมืองนครศรีธรรมราชและชาวภาคใต้ทั่วไป ไม่ทราบแน่ชัดว่าการละเล่นชนิดนี้มีมาตั้งแต่เมื่อใดคนเก่าคนแก่ของชาวภาคใต้ซึ่งมีอายุมากกว่า 70 ปีแล้วเล่าให้ฟังว่ามีคณะลิเกป่าเล่นกันมานานและเกือบจะพูดได้ว่ามีอยู่เกือบจะทุกหมู่บ้าน โดยเฉพาะที่อำเภอเมืองมีลิเกป่ามากกว่าที่อื่นใดทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบันนี้จะหาดูลิเกป่าจากที่ใดในเมืองนครศรีธรรมราชไม่ได้อีกแล้ว
 
การกวนข้าวอาซูรอ
 
24. การกวนข้าวอาซูรอ ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ ช่วงเวลา ตรงกับวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีของศาสนาอิสลาม (ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี) การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน
 
การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน
 
การแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน
 
25. ประเพณีการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน ประเพณีภาคใต้ และวัฒนธรรมภาคใต้ คนไทยนิยมเลี้ยงและนิยมเล่นนกเขาชวามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตจะนิยมเลี้ยงและเล่นกันในราชสำนัก ข้าราชบริพาร ขุนนาง คหบดี และประชาชนที่สูงอายุเท่านั้น มักจะจัดการแข่งขันในงานนักขัตฤกษ์ และงานชมรม สมาคมเกี่ยวกับนกเขาชวารวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ก็มักจัดให้มีการแข่งขันเป็นครั้งคราว
 
อาชีพภาคใต้
 
กลุ่มที่ 3 การประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่น ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ท้านา พื้นที่ที่ปลูกข้าวในภาคใต้เป็นที่ราบริมทะเล และเป็นที่ราบระหว่างภูเขา ส่วนใหญ่ใช้น้้าฝนในการท้านา และฝนจะมาล่าช้ากว่าภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้การท้านาในภาคใต้จึงล่าช้ากว่าภาคอื่นวิธีการเกี่ยวข้าวในภาคใต้ แตกต่างไปจากภาคอื่น เพราะชาวนาใช้แกระเกี่ยวข้าว โดยเก็บทีละรวงแล้วมัด เป็นกำๆ ทำไร่กาแฟ มีสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้ และมะม่วง หิมพานต์
 
การประมงน้้าลึกและประมงชายฝั่ง การท้านากุ้ง เลี้ยงหอยมุก ส่วนผลงานด้านหัตถกรรม ได้แก่ ผ้าเกาะยอ ผ้าไหมพุมเรียง
ผ้าทอเมืองนคร ผ้าบาติก เครื่องประดับเครื่องใช้ประเภทเครื่องเงิน เครื่องทอง ทองเหลือง และเครื่องถม งานฝีมือจักสานย่านลิเพา และเครื่องประดับที่ทำจากเปลือกหอย สิ่งต่าง ๆ
 
นวดภาคใต้
 
กลุ่มที่ 4 การผสมผสานวิถีเดิมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
นวดลังกาสุกะ เป็นการนวดศาสตร์ดั้งเดิม หรือ นวดท้องถิ่นที่เรียกว่า ลังกาสุกะ มีลักษณะคล้ายกับนวดราชส้านัก คือ ใช้ฉพาะนิ้วมืออย่างเดียว ต่อมามีการทดลองปรับใช้ทางโตนดที่มีส่วนโค้ง ส่วนงอ มาเป็นตัวช่วยในการยืดคลาย
กล้ามเนื้อ
 
สปา คือศาสตร์แห่งการปรับร่างกายกับอารมณ์ให้สมดุลกัน ท้าให้รู้สึก ผ่อนคลาย ซึ่งนับเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ส้าหรับสปา ในเมืองไทยนั้นมีความโดดเด่นด้วยการนำสมุนไพรไทย เช่น ขมิ้น ตะไคร้ ฯลฯ มาเป็นส่วนผสมของน้้ามันหอม ลูกประคบ และยังมีการน้าศาสตร์อื่นๆ มาผสมผสาน
 
สุดท้ายคือภูมิปัญญาการปลูกบ้าน การสร้างที่อยู่อาศัยของชาวภาคใต้ในสมัยก่อน จะมีลักษณะเป็นบ้านหรือเรือน ซึ่งเรียกกันโดยส้าเนียงภาษา ใต้ว่า “เริน” ลักษณะของเรือนของชาวใต้มี 2 ลักษณะ คือ เรือนเครื่องผูก และเรือนเครื่องสับ
 
เรือนเครื่องผูกเรือน
 
1. เรือนเครื่องผูกเรือนที่ใช้วัสดุต่าง ๆ ประกอบกันเช้ากับโครงสร้างและตัวเรือนโดยการผูกยึดด้วยเชือก เถาวัลย์ วัสดุหลักมักเป็นไม้ไผ่ และไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่ล้วนแล้วแต่หาได้ ภายในท้องถิ่นมีการปรับแปรวัสดุง่าย เพียงน้ามาผูกยึด สอดสานเรียบร้อยเข้าด้วยกันไม่มีความคง ทนถาวรและให้ความปลอดภัยไม่มากนักภูมิปัญญาในการสร้างเรือนไทยเครื่องผูกของชาวใต้
 
เรือนเครื่องสับ
 
2. เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนที่เกิดขึ้นหลังเรือนเครื่องผูก เนื่องจากเครื่องมือ เครื่องใช้ ในการแปรรูปไม่พัฒนา ยังใช้ขวาน เลื่อย ส้าหรับตัดโค่น และตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นเหลี่ยมได้ง่าย เรือนเครื่องสับจึงใช้ไม้เหลี่ยม ขั้นแรกอาจมีแค่ มีด พร้า ขวาน ส้าหรับสับตกแต่ง จึงเรียกเรือนที่ ใช้ซึ่งสับ ตกแต่งด้วยขวาน และมีดพร้าว่า เรือนเครื่องสับ

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(9)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(9)

พระราชวัง พระราชวัง(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(12)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(5)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(44)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(8)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(1)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(6)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(11)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(11)

น้ำตก น้ำตก(43)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(14)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(29)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(4)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(1)

เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้ เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้(18)