
ประเพณีแห่เทียนพรรษา

Rating: 4.3/5 (4 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวชลบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ตำบลหนองชาก งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของตำบลหนองชากซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่ และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น ๆ โดยใช้สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา
ประเพณีแห่เทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น ก็เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ ให้เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน โดยการนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณีไทย
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยการเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม จะหล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะไปในตัว การสรรหาภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ และความชำนาญในเรื่อง การทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบน ต้นเทียน ซึ่งการทำเทียนให้เป็นลายไทย แล้วนำไปติดบนต้นเทียน การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น แต่ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขอขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก ส่วนการฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน ซึ่งเป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม ดนตรีประกอบก็เป็น เครื่องดนตรีประจำถิ่นให้ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ ทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ซึ่งประชาชนต่างเฝ้ารอคอย
ศิลปะการฟ้อนรำที่นิยมนำมาประกอบการแสดงในขบวนแห่ คือ การรำเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งกระลอ, เซิ้งแหย่ไข่มดแดง, เซิ้งกระติบ และเซิ้งสวิง ซึ่งดัดแปลงมาจากการประกอบอาชีพในวิถีชีวิตประจำวันทั้งสิ้น
งานแห่เทียนพรรษา เป็นงานที่ทำให้คนวัยรุ่น หนุ่มสาว ได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดและสัมผัส กับศิลปวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด โดยตั้งแต่การเข้าเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ เป็นลูกมือช่างของทางวัด ในการแกะสลักทำลวดลายต้นเทียน ก็ค้นคว้าหาวิธีการทำเพียรพรรษาให้วิจิตรพิศดาร งดงาม แต่ประหยัดการเข้าร่วมในขบวนแห่จะเป็นการผสมผสานระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เช่น โปงลาง, การเล่นดนตรีพื้นบ้าน หรือเป่าแคน จะมีทั้งผู้สูงอายุและคนหนุ่มสาว ส่วนขบวนฟ้อนรำ จะใช้เด็ก ๆ รุ่นเยาว์ ถึงวัยหนุ่มสาวมากกว่าคนสูงวัย ซึ่งคาดหวังได้ว่า ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย จะสืบทอดต่อไปอีกยาวไกล



แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage