
นาฏมวยไทย วัฒนธรรม ประเพณีไทย





สถานที่ท่องเที่ยวชลบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
นาฏมวยไทย วัฒนธรรม ประเพณีไทย ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายแขนง เป็นมรดกสืบต่อเนื่องมายาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน “มวยไทย” คืออีกหนึ่งศาสตร์ที่เป็นภูมิปัญญามายาวนานจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏในพงศาวดารหลาย เล่มอาทิ ฉบับพระนพรัตน์(แก้ว) พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) เรื่อง“สมเด็จพระเจ้าเสือ” หรือสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักมวยไทยอีกทั้งเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 29 แห่งอาณาจักรสมัยอยุธยา พระองค์ทรงปรีชาด้านมวยไทยโดยทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทยต่าง ๆ ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจนและได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลัง เรียกว่ามวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้กำหนดให้วันขึ้นเสวยราชสมบัติของพระสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ซึ่งตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น “วันมวยไทย” เพื่อยกย่องส่งเสริมศิลปะป้องกันตัวของไทย ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวต่างจากชนชาติอื่น
ในปัจจุบันมวยไทยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอ ให้ผู้รับชมเกิดความเข้าใจและสนใจในศาสตร์ของศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทย ที่นำเสนอไม่ใช่เป็นเพียงแค่กีฬาเพียงอย่างเดียวได้มีการนำเสนอผ่านรูปแบบศาสตร์ด้านศิลปะการแสดงที่เรียกว่า “นาฏมวยไทย” ซึ่งเป็นการแสดง กำนิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2552 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” พระราชทานถ้วยรางวัลในการแข่งขันนาฏมวยไทย
ซึ่งดำเนินติดต่อมายาวนานถึง 8 ปี (2552-2559) โดยมีพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มีเจตนารมณ์แห่งการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทย มวยไทยให้กับเยาวชน รูปแบบการแสดงนั้นประกอบด้วยท่ามาตรฐานแม่ไม้มวยไทย หมัด, เท้า, เข่า และศอก โดยก่อนการแสดงทุกครั้งต้องมีการไหว้ครูถือเป็นกติกาบังคับ และนับเป็นจารีตประเพณีของมวยไทยที่ยึดปฏิบัติมาแต่โบราณ นาฏมวยไทยถือเป็นอีกหนึ่งด้านของศาสตร์ศิลปะการแสดง เพราะ มีหลายองค์ประกอบมี การนำเสนอผ่านเรื่องราว ดนตรี โดยการนำเสนอทั้งหมด นำเสนอผ่านรูปแบบการต่อสู้ออกอาวุธแบบมวยไทยจากที่กล่าวมาเบื้องต้นจะเห็นได้ว่ามวยไทยได้ถูกพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอจากมวยไทย ที่ต่อสู้ หรือใช้เป็นกีฬามีการนำมาเสนอผ่านรูปแบบการแสดงโดยนาฏมวยไทย ได้มีลักษณะเด่นและลักษณะร่วมแตกต่างจากมวยไทยทั่วไป และเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานรูปแบบการแสดงแบบร่วมสมัย
นาฏมวยไทยพบว่ามีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ องค์ประกอบหลักการแข่งขันซึ่งในการแข่งขัน หรือการแสดงนาฏมวยไทยทุกครั้งผู้เข้าร่วมการแข่งขั้นจะต้อง มีการแสดงออกท่าแม่ไม้มวยหลัก ๆ ที่สำคัญ ได้แก่
- การไหว้ครูมวยไทย (ท่าบังคับ) ถือเป็นการเคารพต่อครูอาจารย์ โดยกระบวนท่าไหว้ครู ในการแสดงไม่บังคับว่าจะต้องเริ่มด้วยท่าอะไร และจบด้วยท่าอะไร แต่โดยธรรมเนียมยึดถือ ปฏิบัติ ในการแสดงนาฏมวยไทย มักเริ่มต้นด้วยท่าเทพนม เป็นต้น
- ท่าพื้นฐานมวยไทย (รูปแบบบังคับ) คือการออกอาวุธ 4 ท่า ประกอบด้วย หมัด เท้า เข่า ศอก ซึ่งในรูปแบบของนาฏมวยไทย ไม่ได้ระบุอย่าง ชัดเจนว่าควรเริ่มที่ท่าพื้นฐานมวยไทยท่าใดก่อน ซึ่งผู้ออกแบบการแสดงสามารถ ประดิษฐ์ หรือประยุกต์ลีลาท่าการออกอาวุธได้แต่ต้องมีความสมบูรณ์ของท่าอย่างชัดเจน
- ท่าแม่ไม้ลูกไม้มวยไทย ในการแสดงนาฏมวยไทยสิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ ท่าแม้ไม้ลูกไม้เพราะการแสดงนาฏมวยไทยหรือการแสดงมวยไทยนอกจากกระบวนท่าหลักคือไหว้ครูและการออกอาวุธ หมัด เท้า เข่าและศอก ท่า แม้ไม้ลูกไม้ถือเป็นสิ่งสำคัญในที่สำคัญในมวยไทยเพราะเป็นท่าที่จะต้องใช้ในการต่อสู้ ซึ่งท่าแม่ไม้มวยไทยมีด้วยกัน 15 ท่า และท่าลูกไม้ 15 ท่า
- ท่ามวยที่สร้างสรรค์ ท่ามวยสร้างสรรค์ในการแสดงนาฎมวยไทยคือการนำเอาท่ามวยมาประยุกต์การออกอาวุธเชิงสร้างสรรค์ให้มากขึ้น ยกตัวอย่างจากเดิมท่าการออกอาวุธมวยไทย เช่น การต่อยตรงก่อนการออกอาวุธ อาจมีการตีลังกาหลังแล้วมาต่อย เป็นต้น หรือการต่อตัวแล้วไปออกอาวุธบนชั้นลอยเป็นต้น
- ท่ามวยแสดงทั้งแนวดิ่ง และแนวราบ ปกติการออกอาวุธนาฏ มวยไทยหรือมวยไทยโดยทั่วไป นักแสดงหรือผู้ชกจะยืนในลักษณะเท้าติดพื้น แต่การออกอาวุธนาฏมวยไทยได้มีการพัฒนากระบวนการออกท่าทางออกอาวุธคือ การออกอาวุธจากบนอากาศ เช่นกระโดด จากฐานชั้นสองลงมาแสดงอาวุธ เพื่อให้ท่านั้นดูหนักหน่วงรุนแรงและสมจริง อาทิ การออกอาวุธหมัดโดยเหยียบหลังผู้แสดงอีกหนึ่งท่านเพื่อเป็นฐานแล้วกระโดดลงมาต่อย
- ท่ามวยที่ผสมผสานการโยนตัว การแสดงนาฏมวยไทยมีการนำทักษะการโยนตัวมาผสมผสานกับรูปแบบมวยไทยมาปรับใช้ในการออกอาวุธโดยก่อนการออกอาวุธ มีการเพิ่มทักษะการโยนตัว ผู้แสดงให้ลอยกลางอากาศเพื่อให้ดูท่าออกมาดูคมชัดออกอาวุธแรงชัดเจน โดยผู้ที่รับอาวุธก็แสดงท่าทางประกอบเพื่อให้ท่ามวยไทยนั้นดูสมจริงชัดเจนดุเดือด และเพิ่มความสมบูรณ์ของท่ายิ่งขึ้น
- ความแข็งแรงในการปฏิบัติท่า นักแสดงนาฏมวยไทยทีมที่ประสบความสำเร็จหรือ การแสดงนาฏมวยไทยที่สมบูรณ์นั้น นอกเหนือจากท่ามวยที่แปลกใหม่ อีกหนึ่งสิ่งส ำคัญคือความแข็งแรงในการปฏิบัติการแสดงท่ามวยไทยที่แข็งแรง ชัดเจนในการออกอาวุธชัดเจน และการปฏิบัติท่าที่สมบูรณ์
นาฏมวยไทยได้ถูกพัฒนารูปแบบมาจากศิลปะป้องกันตัวต่อสู้แบบไทย และมีการถ่ายทอดปรับปรุงท่าของมวยมาในรูปแบบต่าง ๆ อีกทั้งการนำเสนอผ่านเรื่องราวของวรรณคดีไทย อย่างต่อเนื่องและได้รับความสนใจเป็นอย่างดีของเยาวชนรุ่นใหม่เพื่อความคงอยู่ของนาฏมวยไทยอันเป็นศิลปะป้องกันตัวแบบไทยต่อไป
รูปแบบการแสดงนาฏมวยไทย เป็นการแสดงที่พัฒนารูปแบบมากศิลปะป้องกันตัวต่อสู้แบบไทยหรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า มวยไทย โดยมีการผสมผสานกับศาสตร์ในด้านศิลปะการแสดงมีการเสนอในรูปแบบที่อิสระโดย
สามารถแบ่งได้เป็น 2 องค์ประกอบคือ
- องค์ประกอบหลัก โดยก่อนแสดงต้องเริ่มต้นจากการไหว้ครูมวยไทยในลำดับแรกของการแสดง โดยถือเป็นจารีตประเพณีปฏิบัติต่อด้วยกระบวนท่ามวยไทยประกอบด้วย ท่าหมัด, ท่าเท้า, ท่าเข่า, ท่าศอก และท่าแม่ไม้ลูกไม้
มวยไทยต่าง ๆ
- องค์ประกอบรอง คือเครื่องแต่งกายเน้นความเป็นไทยและถูกต้องตามหลักของมวยไทย สวมมงคลศีรษะ ผ้าพันมือ และสวมประเจียด ท่ามวยสร้างสรรค์เช่นการ กระโดดโยนตัวต่อตัวก่อนการออกอาวุธ ท่ามวยแสดงทั้งแนวดิ่ง และแนว
ราบ ท่ามวยที่ผสมผสานการโยนตัว อีกทั้งความแข็งแรงในการปฏิบัติท่ามวยไทยและมีการผสมผสานนำเรื่องเรื่องราวในท้องถิ่นวรรณคดี หรือวรรณกรรมไทยมาเป็นแนวความคิด ในการนำเสนอเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ และดนตรีที่ใช้เป็นดนตรีที่มีลักษณะทำนองแบบไทยไม่มีเนื้อร้องประกอบทำนองสนุก



แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage