หน้าหลัก > ภาคตะวันออก > จ.จันทบุรี > อ.เมืองจันทบุรี > ต.วัดใหม่ > ค่ายตากสิน


จันทบุรี

ค่ายตากสิน

ค่ายตากสิน

Share Facebook

Rating: 3.3/5 (8 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ค่ายตากสินจันทบุรี เป็นสถานที่ตั้งของกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่1 กองพลนาวิกโยธิน อยู่ที่บริเวณบ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี เมืองจันทบุรีโบราณที่บ้านลุ่ม มีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อครั้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงยกทัพมาตีเมืองจันทบุรีแล้วยึดเป็นที่ตั้งมั่นในการเตรียมการกู้ชาติหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าในปีพ.ศ.2310 ใน ร.ศ.112 หรือ ปี พ.ศ.2436 ฝรั่งเศสซึ่งพยายามขยายอำนาจเข้าไปในลาวและเขมร
 
ได้ใช้กำลังบังคับและยื่นคำขาดให้ไทยยกดินแดนของลาวทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงกับเขมรส่วนนอก ซึ่งเคยเป็นประเทศราชของไทยให้กับฝรั่งเศส ในระหว่างที่รอคอยให้สัญญาต่างๆมีผลบังคับใช้ ฝรั่งเศสได้ทำการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน จนถึงปี พ.ศ.2448 เพื่อเป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาข้อ 6 ซึ่งต่อท้ายหนังสือสัญญา ระหว่าง กรุงฝรั่งเศส วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2436 (ร.ศ.112) แต่เหตุผลที่เลือกยึดเมือง จันทบุรีก็เพราะเป็นเมืองที่สำคัญทางด้านยุทธศาสตร์
 
เป็นจุดที่ควบคุมอ่าวสยามที่ติดต่อกับแหลมมลายูของอังกฤษเป็นทางผ่านเข้าไปยังสามจังหวัดของไทยที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ บ่อพลอย บ่อไพลิน ในเขตเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ นอกจากนั้นเมืองจันทบุรียังมีท่าเทียบเรือที่ปากแม่น้ำและ มีอู่ต่อเรือระวางตั้งแต่ 300-400 ตัน การยึดจันทบุรี จึงเท่ากับยึดท่าเรืออู่ต่อเรือ และเรืออื่น ๆ ไว้เป็นการตัดกำลังไทยทางอ้อมด้วย กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งค่ายทหารขึ้นภายในบริเวณบ้านลุ่มหรือบริเวณที่เป็นค่ายตากสินในปัจจุบันและที่ปากน้ำแหลมสิงห์
 
รวมทั้งได้สร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายหลัง ปัจจุบันหลักฐานร่องรอยต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองจันทบุรีที่บ้านลุ่มยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ภายในบริเวณค่ายตากสินเท่านั้น อาคารฝรั่งเศสที่สร้างขึ้นได้แก่ อาคารกองรักษาการณ์ อาคารตอนซ่อมบำรุงและสรรพาวุธ อาคารพัสดุ อาคารคลังแสงหมายเลข 5
 
ซึ่งแต่เดิมคงเป็นคลังกระสุนดินดำเนื่องจากทำใต้ถุนโปร่งและมีช่องระบายลมอยู่ทั่วไป และอาคารคลังแสงหมายเลข 7 ซึ่งมีแผนผังคล้ายกับตึกแดง ที่ปากน้ำแหลมสิงห์ ซึ่งฝรั่งเศสได้สร้างขึ้นเช่นกัน ภายหลังจากที่ทหารฝรั่งเศสถอนออกจากเมืองจันทบุรี เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2448 บริเวณค่ายทหารที่ในบริเวณค่ายตากสินได้มีการใช้งานสืบต่อมา
 
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 3 เมื่อถึงสี่แยกเขาไร่ยา ให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 316 ประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงสี่แยกพระยาตรัง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนท่าหลวง ตรงไป จะพบค่ายตากสินอยู่ด้านซ้ายมือ

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน กลุ่ม: แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน

ปรับปรุงล่าสุด : 6 ปีที่แล้ว

แผนที่ค่ายตากสิน

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(7)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(7)

พระราชวัง พระราชวัง(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(2)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(25)

โบสถ์ โบสถ์(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(16)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(4)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(5)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(7)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(3)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(8)

น้ำตก น้ำตก(21)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(4)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(9)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(3)

สนามกีฬา สนามกีฬา(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(7)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(3)