
วัดเขียนบูรพาราม

Rating: 4/5 (5 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวศรีสะเกษ
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดเขียนบูรพาราม ตั้งอยู่บ้านพราน ม. 4 ต.ห้วยเหนือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ห่างจากที่ว่าการ อำเภอขุขันธ์ไปทางทิศตะวันออก ระยะทาง 400 เมตร ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ 49 กิโลเมตร
วัดเขียนบูรพาราม เดิมชื่อ "วัดเขมร" แต่คนทั่วไปนิยมเรียกวัดนี้ว่า "วัดเขียน" ซึ่งเป็น สำเนียง ที่เพี้ยนไปจากคำว่า "เขมร" นั่นเอง เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของเมืองขุขันธ์ หรืออำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน เมื่อมีการ ตั้งชื่อวัดเป็นทางราชการ จึงเปลี่ยนเป็น "วัดเขียนบูรพาราม"
เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ สัณนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่ไม่ปรากฎนามผู้สร้าง จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.2323 พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน คนที่ 2 (เชียงขัน) พร้อมด้วยกรมการเมืองได้นำราษฎรอพยพไปตั้งเมืองใหม่ ณ ตำแหน่งบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านตะแบกบ้านพราน ในปัจจุบัน ระหว่างที่ทำการถางป่าในบริเวณที่เป็นที่ตั้งวัดเขียนนั้น ก็ได้พบก้อนหินสีแดงโผล่ขึ้นบนจอมปลวก
มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูป ท่านเจ้าเมืองจึงได้บัญชาการให้ราษฎรตกแต่งพื้นที่บริเวณนั้น เสริมฐานแล้วสร้างเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่สวมทับลงบนจอมปลวกนั้น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีพุทธลักษณะงดงาม เข้าใจว่าสร้างไว้กลางแจ้ง เป็นพระเจ้าใหญ่ประจำเมือง รอบๆองค์พระคงจะสร้างเป็นวัด นิมนต์พระเณรมาอยู่
แต่คงจะยังไม่เรียบร้อยดีนัก ก็จัดการอพยพเมืองใหม่ไปตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งตรงบ้านแตระบ้านหาดในปัจจุบัน เนื่องจากที่เดิมห่างไกลแหล่งน้ำเกินไป ทำให้วัดพระเจ้าใหญ่เสื่อมโทรมและร้างไป จนบริเวณพระพุทธรูปพระเจ้าใหญ่กลายเป็นป่าทึบมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่นเพราะขาดคนเอาใจใส่ จนถึงกับมีเรื่องเล่าว่า สภาพป่าดงที่ขึ้นรกทึบมากถึงขนาดกับมีเสือท้องแก่มาคลอดลูกบนหน้าตักท่าน
ต่อมาพระหลักคำอุด พระหลักคำประจำเมืองได้มาพบแล้วเกิดศรัทธา จึงชักชวนชาวบ้านมาร่วมกันบูรณะวัดร้างนั้นขึ้น แล้วสร้างพระอุโบสถคร่อมองค์พระพุทธรูป กาลเวลาผ่านไปได้มีคนใจร้ายใจบาปไปแกะเอาแก้วพระเนตรของพระพุทธรูปทั้งสองข้างไป ด้วยอำนาจพระบารมีอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระพุทธรูปทำให้ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงได้ยินเสียงร้องก้องไปทั้งป่า
ครั้นรุ่งเช้าชาวบ้านได้ไปหาข้อเท็จจริงจึงทราบว่า ดวงพระเนตรขององค์พระพุทธรูปถูกขโมยไป ท่านจึงได้บันดาลให้เกิดเสียงดังขึ้น เพื่อบอกกล่าวเรื่องราวให้ชาวบ้านทราบ
ต่อมาประมาณปี 2325 เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ 3 คือ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) ได้จัดการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ ด้วยการก่ออิฐหุ้มองค์เดิม สร้างฐานให้สูงขึ้น ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่งดงาม และมีขนาดใหญ่ที่สุดในขณะนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกท่านว่า "หลวงพ่อโต" มาแต่บัดนั้น




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage