Rating: 5/5 (1 votes)
แม่น้ำโขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แม่น้ำโขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำสาขาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบไปด้วยทั้งหมด 8 จังหวัด มีลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 29 ลุ่มน้ำ โดยครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย, จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดเลย, จังหวัดหนองบัวลำภู, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดนครพนม และจังหวัดอำนาจเจริญ
พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งหมดประมาณ 86,932 ตารางกิโลเมตร โดยทุกลำสาขาลำน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ซึ่งแม่ทางน้ำธรรมชาติระหว่างประเทศ โดยลำน้ำส่วนใหญ่ในลุ่มแม่น้ำโขงจะมีความยาวไม่เกิน 50 กิโลเมตร และจะมีความลาดชันของลำน้ำมาก โดยลำน้ำมีสภาพถูกกัดเซาะสูง หากเกิดฝนตกหนักอาจเกิดน้ำป่าไหลหลาย ซึ่งรุนแรงมาก นอกจากนี้พื้นที่ทำการเกษตรจะอยู่บริเวณสองฝั่งของลำน้ำ ซึ่งอยู่บริเวณตอนกลาง และตอนท้ายของลำน้ำโขง โดยแบ่งลุ่มน้ำได้ดังนี้
1. ลุ่มน้ำสวย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบอยู่บริเวณตอนล่างของลุ่มน้ำทางทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,336 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนมากมี หนอง, บึง กระจายอยู่ทั่วไป และพื้นที่ตอนบนจะอยู่ทางทิศใต้ มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาด และเนินเตี้ย ๆ เล็กน้อยในต้นที่ต้นน้ำ โดยมีลำน้ำสาขาย่อยกระจายครอบคลุม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุดรธานี
2. ลุ่มน้ำโมง พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนปลายของแนวเทือกเขาภูพานที่กั้นอยู่ระหว่างพื้นที่ลุ่มแม่น้ำทางตอนบน และลุ่มแม่น้ำทางตอนล่างในแนวของทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ไหลลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ประมาณ 2,645 ตารางกิโลเมตร ส่วนพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำสาขาอื่น ๆ ทางทิศใต้เป็นเพียงเนินเขา และพื้นที่ลาดเท โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ๋จะราบเรียบ โดยครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองบัวลำภู, จังหวัดเลย, จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย
3. ลุ่มน้ำสาน พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเทือกเขาแนวสูงตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ มีพื้นที่ทั้งหมด 881 ตารางกิโลเมตร ทางทิศใต้ และทิศตะวันออกมีพื้นที่ต้นน้ำมีระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และจะค่อย ๆ ลดลงมาบริเวณตอนกลางของพื้นที่ซึ่งลักษณะพื้นที่ค่อนข้างลาดชัน มีพื้นราบเพียงเล็กน้อย บริเวณริมน้ำสายหลัก ได้แก่ ห้วยน้ำเขามัน และลำน้ำสาน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย โดยมีลุ่มน้ำทั้งหมด 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ น้ำสานตอนบน, ห้วยน้ำเข้ามัน และน้ำสานตอนล่าง
4. ลุ่มน้ำโสม พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแนวเขาสูงทางทิศตะวันออกของพื้นที่ โดยจะมีพื้นที่ประมาณ 1,118 ตารางกิโลเมตร แนวเขาทางทิศตะวันตกจะมีความสูงประมาณ 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งมีความสูงกว่าทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากแนวทิวเขาทั้ง 2 ด้าน และจะค่อย ๆ ลดหลั่น ลาดเทลงสู่น้ำที่อยู่ตอนกลางของพื้นที่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นภูเขา และพื้นที่ลาดชัน มีพื้นที่ราบไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ 2 ฝั่งลำน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัดสำคัญ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วยลุ่มน้ำสาขา 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ห้วยน้ำราง, แม่น้ำโสมตอนบน และห้วยน้ำโสมตอนล่าง
5. ลุ่มน้ำแม่โขง ส่วนที่ 3 พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเขาล้อมรอบ มีพื้นที่ประมาณ 690 ตารางกิโลเมตร มีความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และค่อย ๆ ลาดลงมาทางทิศเหนือ สถาพเป็นเขาสูง นอกจากนี้ยังถือเป็นต้นน้ำของลำน้ำสาขาเล็ ๆ อื่น ๆ ที่ลาดชันหลายสายไหลลงสู่ลำน้ำเหือง ซึ่งเถือเป็นลำน้ำของแม่โขงทางทิศเหนือ ซึ่งจะครอบคลุมพทืนที่จังหวัดเลย โดยมีลุ่มน้ำสาขา 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ แม่น้ำโขงส่วนที่ 3 ตอนบน น้ำหู และแม่น้ำโขงส่วนที่ 3 ตอนล่าง
6. ลุ่มน้ำแม่โขง ส่วนที่ 4 มีพื้นที่ประมาณ 794 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยแนวเขาที่กระจายอยู่ตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะแนวเขาทางทิศใต้ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ต้นน้ำโดยมีระดับความสูงประมาณ 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยระดับความสูงของแนวเขาจะค่อย ๆ ลดต่ำลง และทางทิศเหนือจะมีความสูงประมาณ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งแนวเขาเหล่านี้ก่อให้เกินน้ำสาขาเล็ก ๆ ที่ลาดชันหลายสายไหลลงสู่ลำน้ำเหือง ซึ่งเป็นลำน้ำโขงทางทิศเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย มีลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 3 สาขา คือ แม่น้ำโขงส่วนที่ 4 ตอนบน, น้ำคาน และแม่น้ำโขงส่วนที่ 4 ตอนล่าง
7. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขง ส่วนที่ 5 พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแนวเขากระจากอยู่รอบ ๆ ตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ มีพื้นที่ประมาณ 1,760 ตารางกิโลเมตร มีความสูงประมาณ 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่งผลให้แนบเขาเหล่านี้เกิดลำน้ำสาขาเล็ก ๆ หลายสายที่ลาดชันไหลจากทางทิศใต้ลงสู่แม่น้ำโขงทางทิศเหนือ สภาพเป็นภูเขา และพื้นที่ลาดชัน ครอบคลุมพทืนที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย โดยมีลุ่มแม่น้ำสาขา 4 ลุ่มน้ำ ได้แก่ แม่น้ำโขงส่วนที่ 5 ตอนบน, ห้วยน้ำชม, ห้วยสะงาว และแม่น้ำโขงส่วนที่ 5 ตอนล่าง
8. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขง ส่วนที่ 6 มีพื้นที่ประมาณ 553 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำโขง สภาพส่วนใหญ่ จึงประกอบไปด้วยพื้นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ มีหนอง และบึง กระจายอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างมาก โดยมีลำน้ำสายสั้น ๆ หลายสาย ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุดรธานี มีลุ่มน้ำสาขาเพียง 1 ลุ่มน้ำ คือ แม่น้ำโขงส่วนที่ 6
9. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขง ส่วนที่ 7 ขอบเขตพื้นที่ครอบคลุมลุ่มน้ำทางทิศเหนือ, ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกจรดกับแม่น้ำโขง มีพื้นที่ประมาณ 2,556 ตารางกิโลเมตร อยู่ช่วงกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตรประชาชนลาว โดยทางทิศใต้จะอยู่แนวสันปันน้ำแม่สงคราม, ห้วยคอง, ห้วยฮ้้ กับลำน้ำสาขาย่อยที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรง ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปจะเป็นพื้นที่ราบติดแม่น้ำโขง ทางทิศใต้ของพื้นที่จะเป็นลุ่มน้ำดอน มีที่ราบตามแนวลำน้ำเพียงเล็กน้อย ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคาย มีลุ่มน้ำสขา 4 ลุ่มน้ำ คือ แม่น้ำโขงส่วนที่ 7 ตอนบน, แม่น้ำโขง ส่วนที่ 7 ตอนกลาง, ห้วยบังบาตร และแม่น้ำโขงส่วนที่ 7 ตอนล่าง
10. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขง ส่วนที่ 8 พื้นที่มีแนวสันปันน้ำสูงประมาณ 160 - 190 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ประมาณ 1,145 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นเขตลุ่มแม่น้ำย่อย แม่น้ำโขงส่วนที่ 8 กับลุ่มน้ำที่กั้นตลอดแนวทิศตะวันออกของลุ่มแม่น้ำติดกับแม่น้ำโขงจังหวัดนครพนม โดยมีทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสายหลัก ได้แก่ ห้วยบ่อ, ห้วยบังกอ และห้วยบังฮวก มีพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาสูง ลาดชัด โดยจะลดหลั่นเป็นเนินสูง ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด โดยตอนล่างจะเป็นที่ค่อนข้างราบเรียบ ที่คลรอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดนครพนม มีลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ห้วยบังกอ, ห้วยบ่อ และห้วยบังฮวก
11. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขง ส่วนที่ 9 มีพื้นที่ประมาณ 449 ตารางกิโลเมตร มีแนวสันปันน้ำสูงประมาณ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงส่วนที่ 9 และลุ่มแม่น้ำย่อยห้วยน้ำก่ำ, ลุ่มแม่น้ำย่อยห้วยบางทราบ ตลอดแนวทิศตะวันออกของลุ่มแม่น้ำจะอยู่ติดกับแม่น้ำโขงในจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเป็นต้นกำเนิดของห้วยชะโนด พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนซึ่งเป็นภูเขาสูง และลาดชัน เป็นเนินสูงตอนกลางเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ส่วนตอนล่างจะค่อนข้างราบเรียบ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม มีลุ่มแม่น้ำ 1 สาขา คือ แม่น้ำโขงส่วนที่ 9
12. ลุ่มน้ำห้วยคอง ขอบเขตลุ่มน้ำทางทิศเหนือ อยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยคองกับลำแม่น้ำย่อยที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง มีพื้นที่ประมาณ 709 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกจะอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยซาวกับห้วยฮี้ ทางทิศตะวันตกจะอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยอังฮ๋า ซึ่งอยู่ในลุ่แม่น้ำโขงส่วนที่ 7 ทางทิศใต้อยู่บนแนวสันปันน้ำห้วยคองกับห้วยขมิ้น และจุดบรรจบห้วยคองกับแม่น้ำสงคราม โดยครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดหนองคาย โดยมีลุ่มน้ำสาขา 2 ลุ่มน้ำ คือ ห้วยขาว และห้วยคองสายหลัก
13. ลุ่มน้ำห้วยดาน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 675 ตารางกิโลเมตร มีขอบเขตของพื้นที่ทางด้านทิศเหนือที่อยู่บนจุดบรรจบระหว่างห้วยดานและห้วยหลวง ทางด้านทิศตะวันออกจะอยู่บนแนวสันปันน้ำห้วยดาน และห้วยหลวง ส่วนทางทิศใต้จะอยู่บนแนวปันลุ่แม่น้ำโขงอีสาน และลุ่มแม่น้ำชี สภาพพื้นที่โดยส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบที่ราดจากทางทิศใต้ และทิศตะวันออกมาทางทิศเหนือ ระดับความสูงประมาณ 170 - 190 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มีลุ่มน้ำสาขา 2 ลุ่มน้ำ คือ ห้วยดานตอนบน และห้วยดานตอนล่าง
14. ลุ่มน้ำห้วยหลวง ตั้งอยู่ขอบเขตลุ่มน้ำทางเหนือจรดแม่น้ำโขงเขตแดนของประเทศไทย และสปป.ลาว มีพื้นที่ประมาณ 3,417 ตารางกิโลเมตร ทางด้านตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำระหว่างห้วยหลวง แม่น้ำสงคราม และห้วยคอง โดยด้านทิศตะวันตก และทิศใต้จะจรดภูเขาภูพานบนแนวสันปันน้ำ ตอนใต้ของลุ่น้ำจะมีแนวภูเขาภูพานที่โอบจากทางด้านทิศตะวันตกจนมาถึงทางทิศใต้ พื้นที่ลาดชันลงมาสุดแนวเขื่อนห้วยหลง ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย, จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองบัวลำภู มีลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 7 ลุ่มน้ำ คือ ห้วยหลวงส่วนที่ 1 - 6 และห้วยเจียม
15. ลุ่มน้ำห้วยฮี้ มีพื้นที่ประมาณ 743 ตารางกิโลเมตร อยู่ขอบเขตลุ่มน้ำทางทิศตะวันออกบนแนวปันน้ำของภูกิ่ว และแนวสันปันน้ำของลำน้ำสาขาของห้วยบังบาตร กับลำน้ำสาขาห้วยทราบใหญ่ โดยไหลลงไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยฮี้ ซึ่งขอบเขตลุ่มน้ำทางทิศเหนือจะอยู่บนแนวสันปันน้ำของลำน้ำห้วยฮี้ กับลำน้ำสาขาที่ไหลลงกุดทิงหญ่ ส่วนทางทิศตะวันตกจอยู่ที่แนวสันปันน้ำของห้วยฮี้ กับแม่น้ำสงคราม ทิศใต้จะอยู่บนจุดบรรจบระหว่างห้วยฮี้กับแม่น้ำสงคราม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคาย มีลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 3 ลุ่มน้ำ คือ ห้วยทรายใหญ่, ห้วยฮี้ตอนบน - ตอนล่าง
16. ลุ่มน้ำห้วยน้ำปวน ประกอบด้วยลำน้ำสาขาที่สำคัญ 2 สาย มีพื้นที่ประมาณ 1,084 ตารางกิโลเมตร เป็นลำน้ำสวนที่ไหลมาจากแนวเขาทางทิศเหนือลงมาสู่ทางทิศใต้ และมาบรรจบกับลำน้ำปวน ซึ่งไหลมาจากที่ลาดสูงทางทิศเหนือก่อนจะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเลย พื้นที่ส่วนใหญ่ลาดเทมีความชันไม่มากนักจากต้นแม่น้ำยังแม่น้ำสายหลัก และมีลักษณเป็นพื้นที่บริเวณ 2 ฝั่งลำแม่น้ำสายหลัก ตลดอดทั้งพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมีแนวเขาไม่สูงมากนัก แต่จะครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย โดยมีลุ่น้ำสาขา 3 ลุ่มน้ำ คือ ห้วยปวนตอนบน-ตอนล่าง และห้วยน้ำสวย
17. ลุ่มน้ำห้วยน้ำหมัน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 619 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแนวเขาสูลตลอดทั้นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ โดยมีพื้นที่ราบเป็นส่วนน้อยโดยเฉพาะบริเวณลำน้ำหมันที่ตั้งอยู่ตอนกลางของพื้นที่จะมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบแคบ ๆ ตามแนวลำน้ำของลุ่มน้ำไปจรดลำน้ำเหือง โดยมีแนวเขาทางทิศใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่น้ำตอนบนที่มีสภาพเป็นภูเขาสูง และมีความชันค่อย ๆ ลดหลั่นลงมาทางทิศเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่าง ครอบคลุมจังหวัดเลย มีลุ่มน้ำสาขาทั้นหมด 2 ลุ่มน้ำ คือ น้ำหมันตอนบน-ตอนล่าง
18. ลุ่มน้ำแม่น้ำเลยตอนล่าง พื้นที่ส่วนใหญ่มีแนวเขาสูงชัน มีพื้นที่ประมาณ 2,922 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ต้นน้ำาจากทิศใต้ และทิศตะวันออก มีลำน้ำสาขาสายสำคัญ ได้แก่ น้ำคู้, น้ำเลย, น้ำฮวย, น้ำทบ, น้ำหมาน และน้ำลาย โดยจะมีแนวเขาที่อยู่ในระดับสูงจากทางทิศใต้ ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเลย และจะค่อย ๆ ลดหลั่นมาทางทิศเหนือของพื้นที่ตอนล่างของลุ่มแม่น้ำ ครอบคลุมจังหวัดเลย มีลุ่มน้ำทั้งหมด 9 สาขา ได้แก่ แม่น้ำเลยส่วนที่ 1 - 4, น้ำคู้, น้ำทบ, ห้วยน้ำฮวย, ห้วยน้ำลาย และห้วยน้ำหมาน
19. ลุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนบน มีพื้นที่ประมาณ 3,270 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตลุ่มน้ำทางเหนืออยู่บนสันปันน้ำระหว่างแม่น้ำสงครามกับห้วยฮี้ และห้วยคอง ทางด้านทิศตะวันออกจะแบ่งแม่น้ำสงครามออกเป็นลุ่มน้ำย่อยแม่น้ำสงครามตอนล่างมาที่จุดบรรจบห้วยคองกับแม่น้ำสงครามด้านทิศตะวันตกซึ่งอยู่บนแนวสันปันน้ำห้วยหลวงกับแม่น้ำสงคราม ส่วนทางทิศใต้จรดภูเขาภูพานที่แนวสันปันน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร, จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย มีลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 8 ลุ่มน้ำ คือ แม่น้ำสงครามตอนบนส่วนที่ 1 - 3, ห้วยศาลจอด, ห้วยผาลาด, ห้วยทวน, ห้วยโคน และห้วยคำมิต
20. ลุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,065 ตารางกิโลเมตร ขอบเขตจะกินพื้นที่ลุ่มแม่น้ำทางทิศเหนือจรดลำห้วยในลุ่มแม่น้ำโขงส่วนที่ 7 ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำโขง ทิศตะวันตกจะอยู่แนวบรรจบของห้วยคองกับแม่น้ำสงคราม ส่วนทางทิศใต้อยู่แนวบรรจบกับห้วยน้ำอูนกับแม่น้ำสงคราม โดยเป็นพื้นที่ลาดชัน มีเนินลอนลูกคลื่นลาดชันพื้นที่โดยส่วนใหญ่จะเป็นทุ่งหญ้า หรือป่าไม้พุ่มเตี้ยโดยสลับกับพืชไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร มีลุ่มแม่น้ำทั้งหมด 6 ลุ่มน้ำ ได้แก่ แม่น้ำสงครามตอบล่างส่วนที่ 1 - 3, ห้วยโนด, ห้วยซาง และห้วยน้ำเมา
21. ลุ่มน้ำห้วยน้ำยาม พื้นที่ทางทิศเหนือยู่แนวสันปันน้ำระหว่างลำน้ำสาขาของห้วยน้ำยาม และลำน้ำสาขาของแม่น้ำสงคราม และมาบรรจบห้วยน้ำยามกับแม่น้ำสงคราม ทางด้านทิศตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยน้ำยาม และห้วยน้ำอูน ส่วนทางด้านทิศตะวันตกอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยน้ำยาม กับลำน้ำสาขาแม่น้ำสงคราม ทางด้านทิศใต้อยู่บริเวณแนวสันปันน้ำภูผาเหล็ และภูผาทอง ครอบคลุม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ประมาณ 1,730 ตารางกิโลเมตร มีลุ่มน้ำสาขา คือ ลำน้ำยามตอนบน, ห้วยโทง และลำน้ำยามตอนล่าง
22. ลุ่มน้ำห้วยน้ำอูน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,542 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ทางทิศเหนือจะอยู่บนแนวสันปันน้ำอูนกับห้วยน้ำยาม และมาบรรจบกับห้วยน้ำอูนกับแม่น้ำสงครา ทางทิศตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยน้ำอูนกับลำน้ำสาขาที่ไหลลงมาหนองหาน และห้วยน้ำอูนกับห้วยน้ำพุง ที่อยู่ทางทิศตะวันออกสันปันน้ำของภูผาทอง ซึ่งแนวสันแบ่งลุ่มน้ำย่อยแม่น้ำสงครามตอนบน, ห้วยน้ำยาม และห้วยน้ำอูน ทางทิศใต้จะอยู่แนวสันปันน้ำตามภูเขาก้อ, ภูนางงอย และภูเขียว โดยครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร โดยมีลุ่นแม่น้ำ 4 สาขา คือ ลำน้ำอูนตอนบน ตอนกลาง ตอนล่าง และห้วยปลาหาง
23. ลุ่มน้ำห้วยทวย มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 782 ตารางกิโลเมตร พื้นที่มีลักษณะเป็นแนวแคบ ๆ ด้านเหนือสุดของภาคสภาพเป็นพื้นที่ลูกคลื่นติกันจนถึงเนินเขา โดยมีกลุ่มหินชุดโคราชรองรับอยู่ ห้วยทวยจะมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงบริเวณทางด้านทิศใต้ของอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยไหลลงมาที่บริเวณบ้านปากทวย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร โดยมีลุ่มแม่น้ำสาขา 2 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ห้วยทวยตอนบน และห้วยทวยตอนล่าง
24. ลุ่มน้ำแม่น้ำพุง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 836 ตารางกิโลเมตร โดยมีแนวสันปันน้ำสูงประมาณ 300 - 400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีแขตระหว่างลุ่มแม่น้ำย่อยน้ำพุงกับลุ่มแม่น้ำย่อยน้ำอูน, ลุ่มแม่น้ำย่อยห้วยน้ำก่ำ และลุ่มแม่น้ำย่อยห้วยบางทราย จังหวัดสกลนคร โดยอยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของลุ่มน้ำเป็นต้นกำเนิดของลุ่มน้ำพุง พื้นที่ลุ่นน้ำตอนบนจะเป็นภูเขาสูง ลาดชัน และลดหลั่นเป็นเนินสูง ตอนกลางถึงตอนล่างเป็นที่ราบและลูกคลื่น ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดสกลนคร มีลุ่มน้ำสาขา 2 ลุ่มน้ำ คือ น้ำพุงตอนบน และน้ำพุงตอนล่าง
25. ลุ่มน้ำห้วยน้ำก่ำ มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,678 ตารางกิโลเมตร มีความสูงประมาณ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มแม่น้ำย่อยลำน้ำก่ำ, กับลุ่มแม่น้ำย่อยลำน้ำพุง, ลุ่มน้ำย่อยแม่น้ำโขงส่วนที่ 8 และลุ่มน้ำย่อยห้วยชะโนดในจังหวัดสกลนคร โดยทางทิศเหนือ ทิศตะวันตกของลุ่มน้ำจะเป็นต้นกำเนินของลำน้ำบัง และลำน้ำก่ำ โดยพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนจะเป็นภูเขาสูงที่ลาดชัน และลดหลั่นเป็นเนินสูง โดยตอนกลางจะเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ส่วนตอนล่างจะเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ โดยครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร โดยมีลุ่มน้ำสาขา 6 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลำน้ำก่ำส่วนที่ 1 - 4, น้ำบังตอนบน-ล่าง
26. ลุ่มน้ำห้วยบางทราย มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,398 ตารางกิโลเมตร มีความสูงประมาณ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยแบ่งเขตแดนระหว่างลุ่มน้ำย่อยหัวยบางทราย, ลุ่มน้ำย่อย, ลุ่มน้ำก่ำห้วยชะโนด, ลุ่มน้ำย่อยห้วยมุก, ลุ่มน้ำย่อยห้วยบังอี่ ในจังหวัดมุกดาหาร และทางทิศเหนือ ทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำจะเป็นต้นกำเนิดของห้วยบางทราย พื้นที่ลุ่นน้ำตอนบนจะเป็นภูเขาสูง ที่จะลาดชัน และลดหลั่นเป็นเนินสูง โดยตอนกลางจะเป็นที่ราบลูกคลื่นลอนลาด ส่วนตอนล่างจะเป็นที่ราบเรียบ ครอบคุลม 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม มีลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 4 ลุ่มน้ำ คือ ห้วยบางทราบส่วนที่ 1 - 4
27. ลุ่มน้ำห้วยมุก มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 797 ตารางกิโลเมตร มีแนวสันปันน้ำทางทิศตะวันตก สูประมาณ 332 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยแบ่งเขตแดนระหว่างลุ่มน้ำย่อยห้วยมุก และลุ่มน้ำย่อยห้วยบังอี่ในจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นต้นกำเนิดขอลำน้ำห้วยมุก พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนจะเป็นภูเขาสูง และเป็นที่่ลาดชันโดยจะลดหลั่นเป็นเนินสูง ทางตอนกลางจะเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ส่วนตอนล่างจะเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดมุกดาหาร มีลุ่มน้ำสาขา 2 ลุ่มน้ำ คือ ห้วยมุกตอนบน และห้วยมุกตอนล่าง
28. ลุ่มน้ำห้วยบังอี่ มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,564 ตารางกิโลเมตร มีแนวเทือกเขาสูงประมาณ 400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแนวเขตระหว่างลุ่มน้ำย่อยห้วยบังอี่กับลุ่มแม่น้ำย่อยห้วยบางทราย, ลุ่มน้ำย่อยห้วยมุก และลุ่มน้ำย่อยแม่โขงตอนล่างของจังหวัดมุกดาหาร โดยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำ จะเป็นต้นกำเนิดของห้วยบังอี่ พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนจะเป็นภูเขา ลดหลั่น และลาดชัน ตอนกลางจะเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาน ส่วนตอนล่างจะเป็นที่ค่อนข้างราบเรียบ ครอบคลุมจังหวัดมุกดาหาร มีลุ่มน้ำสาขา 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ห้วยบังอี่ตอนบน-ตอนกลาง-ตอนล่าง
29. ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,358 ตารางกิโลเมตร สภาพของพื้นที่โดยทั่วไปมีแนวเทือกเขาสูงประมาณ 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จะอยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของลุ่แม่น้ำ และมีแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มแม่น้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนล่างกับลุ่มแม่น้ำสาขาห้วยบังอี่ โดยทอดยาวมาจากจังหวัดมุกดาหารถึงจังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาลาดชันที่ลดหลั่นเป็นเนินสูง นอกจากนี้ยังเป็นต้นกำเนิดของห้วยบังอี่ พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบ และลูกคลื่นลอนลาด ส่วนทางตอนล่างจะเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร
ปรับปรุงล่าสุด : 4 ปีที่แล้ว