Rating: 5/5 (1 votes)
ภาคอีสานในประเทศไทย
ภาคอีสานในประเทศไทย หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประกอบไปด้วย 20 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดกาฬสินธุ์, จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดนครพนม, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดยโสธร, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดเลย, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดหนองบัวลำภู, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดบึงกาฬ
ภาคอีสาน มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศไทย ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศโดยรวมจะยกตัวสูงแยกออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน
ภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบไปด้วย เทือกเขาสูงทิศตะวันตก และทิศใต้ โดยทางทิศตะวันตกจะมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 500 - 1,000 เมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล โดยมียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสาน คือ ยอดภูหลวง มีความสูงประเมาณ 1,571 เมตร และมีภูกระดึงที่มีความสูง 1,325 เมตร ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำเลย, แม่น้ำพอง, แม่น้ำพรม, ลำตะคอง และเม่น้ำชี โดยทางทิศใต้จะมีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก ที่กั้นระหว่างภาคอีสานของประเทศไทย กับประเทศกัมพูชา และประเทศลาว
ซึ่งมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 400 - 700 เมตร โดยมียอดเขาเขียวเป็นยอดเขาที่ถือได้ว่าสูงที่สุดอยู่ทางทิศใต้ โดยสูงประมาณ 1,292 เมตร โดยภาพรวมภาคอีสานจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. แอ่งโคราช คิดเป็นพื้นที่ 3 ใน 4 ของภาคอีสานทั้งหมด ได้แก่ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล และลุ่มแม่น้ำชี 2. แอ่งสกลนคร บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และบริเวณตอนเหนือของเขาภูพาน
ภาคอีสานแบ่งจังหวัดตามกลุ่มดังนี้
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วย
กลุ่มย่อยที่ 1 จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดหนองบัวลำภู, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดเลย และจังหวัดบึงกาฬ
กลุ่มย่อยที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดนครพนม และจังหวัดกาฬสินธุ์
กลุ่มย่อยที่ 3 จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย
กลุ่มย่อยที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
กลุ่มย่อยที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร
ชาวอีสานมีพื้นเพมาจากหลายกลุ่มคนที่มาตั้งรกรากที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ชาวไทยโคราช, ชาวส่วย (กุย), ย้อ, ผู้ไทย และชาวโซ้ ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่จะยึดถือประเพณีที่เคยสืบทอดกันมา เช่น ประเพณีท้องถิ่นที่เรียกว่า "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่"
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร
ปรับปรุงล่าสุด : 4 ปีที่แล้ว