Rating: 2.8/5 (5 votes)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกว่า ภาคอีสาน จัดเป็นส่วนหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช โดยมีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวโดยทางทิศเหนือ และภาคตะวันออก ทางทิศใต้จะมีเทือกเขาพนมดงรักตั้งกั้นระหว่างประเทศกัมพูชา และภาคตะวันออกของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีทิวเขาดงพญาเย็น และทิวเขาเพชรบูรณ์ ตั้งเป็นแนวกั้นทางตะวันตกโดยแยกจากภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยนั้นนับว่ามีพื้นที่มากที่สุด โดยประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายจะมีเนื้อที่ประมาณ ร้อยละ 33.17 เมื่อเทียบกับหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย จึงนับได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยมีเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสาน คือ ภูหลวง, ภูลมโล และภูกระดึง ซึ่งนับเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำชี, แม่น้ำห้วยหลวง, แม่น้ำลำตะคอง, แม่น้ำเลย, แม่น้ำพอง, แม่น้ำมูล, แม่น้ำพรม และแม่น้ำสงคราม
โดยภาษาหลักที่ใช้กันในภาคตะวันอออกเฉียงเหนือ คือ ภาษาลาว และภาษาอีสาน โดยสำเนียงหนึ่งจะมาจากแม่น้ำโขงฝั่งขวา ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันโดยทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ และจังหวัดนครราชสีมา แต่ยังไม่ถือว่าเป็นภาษาหลักที่ใช้ นอกจากนี้ยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบริเวณภาคอีสานตอนใต้ และยังมีภาษาอื่น ๆ ที่ใช้อีกมากมาย เช่น ภาษาโส้, ภาษาไท, ภาษากวย, ภาษาไทยโคราช, ภาษาข่า, ภาษาแสก, ภาษากะเลิง, ภาษาย้อ และภาษาโย้ย เป็นต้น ภาษาอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ค่อนข้างโดดเด่น เช่น อาหารที่รับประทาน, อักษร, ดนตรี และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของประเทศเยอรมนี ลาดเอียงมาจากทิวเขาเพชรบูรณ์ทางภาคตะวันตกลงไปแม่น้ำโขง ซึ่งกันโดยประเทศลาว นอกจากนั้นทางทิศเหนือ และทิศตะวันออก ทิศใต้ยังกั้นติดกับประเทศกัมพูชาด้วยภูเขาพนมดงรัก โดยแอ่งโคราชจะตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยมีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ส่วนทางทิศเหนือจะจรดแอ่งสกลนครโดยมีเทือกเขาภูพานล้อมกั้นไว้ โดยแอ่งสกลนครจะมีแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำสงคราม และแม่น้ำเลย โดยทั่วไปดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่จะเป็นทราย ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่วไปจะเป็นที่ราบ และบางส่วนเป็นภูเขา โดยเฉพาตอนกลาง เช่น จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดกาฬสินธุ์, จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดบึงกาฬ เป็นต้น โดยจุดสูงสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยจะอยู่ที่ ยอดภูหลวง ซึ่งมีความสูง 1,835 เมตร เหนือระดับทะเลปานกลาง โดยตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงของจังหวัดเลย
ลำน้ำหลักของแม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำชี, แม่น้ำมูล โดย แม่น้ำมูลนั้นไหลมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา โดยไหลต่อไปทางทิศตะวันออก และมาบรรจบกับแม่น้ำโขงในจังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำอีกสายหนึ่งที่สำคัญ คือ แม่น้ำชี ไหลผ่านตอนกลางของภาคตะวนออกเฉียงเหนือก่อนจะไหลไปบรรจบแม่น้ำมูลในจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนแม่น้ำสงคราม และแม่น้ำเลย ก็เป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำโขงเช่นเดียวกัน โดยแม่น้ำเลยจะไหลผ่านไปทางทิศเหนือผ่านจังหวัดเลย ส่วนแม่น้ำสงครามจะไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านจังหวัดอุดรธานี, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคาย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดนครพนม, จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดหนองบัวลำภู, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดกาฬสินธุ์, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดยโสธร, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดศรีสะเกษ และจัวหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีลักษณะแบบทุ่งหญ้าสะวันนา คือ มีอากาศค่อนข้างร้อนชื้นสลับกลับฤดูแล้ง มีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยช่วงฤดูหนาว (เดือนตุลาคม - เดือนกุมภาพันธ์) อากาศจะค่อนข้างหนาวเย็นสาเหตุเพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจังหวัดที่พบว่ามีอุณหภูมิต่ำที่สุด ได้แก่จังหวัดเลย ส่วนในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม) จะได้รับอิทธิพลจากพยุดีเปรสชัน ทำให้จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนที่สุด และจังหวัดฝนที่ตกน้อยที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา ฤดูร้อน (เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม) อาจกาศจะค่อนข้างแร้ง และแห้งมาก เนื่องจากอยู่ไกลทะเล โดยจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงที่สุด
ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทรัพยกรดิน และทรัพยากรน้ำ ดินส่วนใหญ่เป็นดินทราบ และขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินส่งผลให้ดินแห้ง และเค็ม จึงไม่เหมาะกับการปลูกพืช แลำทำนา ส่วนทรัพยากรน้ำเนื่องจากดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้จึงขาดแคลนน้ำ โดยต้องอาศัยชลปานเข้ามาช่วยเพื่อเก็บกักน้ำ
เขื่อนที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เขื่อนลำพระเพลิง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา, เขื่อนสิรินธร อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี, เขื่อนจุฬาภรณ์ อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ, เขื่อนลำปาว อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์, เขื่อนอุบลรัตน์ อยู่ในจังหวัดขอนแก่น และเขื่อนลำตะคอง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
อาหารทางภาคอีสาน จะมีวัฒนธรรมที่หลากหลายที่สุดของประเทศไทย เช่น ข้าวหอมมะลิ, ปลาแดก, ปลาร้าหลน, ข้าจี่, ลาบ, น้ำตก, ไข่มดแดง, เลือดแปลง, ส้มตำ, หมก, ซกเล็ก, เอาะ, ซั่ว, เหนียน, ป่น, ซุป, แจ่ว, เข้าเปียก, ยำสลัดลาว และแหนมเนือง ฯลฯ เป็นต้น
ประเพณีที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่จัดในหลายจังหวัดที่ติดกับแม่น้ำ ช่วงเดือนตุลาคม ตรงกับวันออกพรรษา 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยมีความเชื่อว่า เป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเรือไฟที่ใช้ประกอบจะทำมาจากต้นกล้วย หรือไม้ไผ่ ที่นำมาต่อกันจนได้โครง รูปทรงที่สวยงาม โดยจะมีการไหลเรือไฟในเวลากลางคืน
แผนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางของอินโดแปซิฟิค อยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 101 องศา กับ 105 องศาตะวันออก และเส้นรุ้ง 14 องศา กับ 18 องศา 30 ลิปดาเหนือ บริเวณรอบ ๆ มีทิวเขาเกือบทุกด้าน จึงทำให้ลักษณะเป็นที่ราบสูง โดยพื้นที่จะแยกออกจากภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยมีป่า และทิวเขากั้นไว้ มีแม่น้ำโขงอยู่ทางฝั่งเหนือ และฝั่งตะวันออก
นอกจากนี้ยังเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทย และลาว ในทางประวัตติศาสตร์ โดยในสมัยโบราณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอาณาจักรขอมมาก่อนที่จะตกมาเป็นของไทย ส่งผลให้ในปัจจุบัน มีชาวเขมร อาศัยอยู่ปะปนกับชนชาติไทย โดยมีชาวเวียดนามมาปะปนอยู่บ้าง นอกจากนี้ยังมีคนจีน อาศัยอยู่ด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นอยู่ในวงระนาบของประเทศเขมร และประเทศลาว มีเพียงแค่แม่น้ำโขงที่กั้นอยู่
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร
ปรับปรุงล่าสุด : 4 ปีที่แล้ว