
วัดลัฏฐิกวัน

Rating: 4.3/5 (6 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวมุกดาหาร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดลัฏฐิกวัน สร้างขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 โดย พระนันทวิโร (บุ) เป็นผู้สร้างขึ้น ณ บริเวณป่าโนนรัง ถึงห่างจากวัดเดิม (วัดมโนภิรมย์) ไปทางเหนือ 231 วา เดิมเป็นป่ามีซากปูนปรักหักพัง สันนิษฐานว่าเป็นวัดร้างและโบสถ์น้ำเก่าแก่ไม่ทราบประวัติว่าสร้างขึ้นในสมัยใดด้วยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีเพียงพระพุทธรูปที่ชำรุด แเละป่าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป
เป็นสถานที่บำเพ็ญสมณธรรมของท่านหอ (อัญญาท่านหอ) อยู่ก่อนแล้ว พระนนทวโร (บุ) ได้มองเห็นเป็นที่เหมาะจึงได้สร้างวัดลัฏฐิกาวัน ขึ้นในสถานที่ดังกล่าว หลังจากที่พระนันทวโร (บุ) หรือ ปัญญาท่านบุ มาประจำอยู่วัดที่ท่านสร้างขึ้นใหม่นี้ไม่นานนัก คือในปี พ.ศ. 2463 นั้นเอง
ท่านก็ได้รับตำแห่งเป็นพระอุปัชฌาย์ และในปีต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูนันทวโร (บุ) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้รับหน้าที่ปกครองเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอมุกดาหาร อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ปกครองคณะสงฆ์ทั่วมุกดาหาร แต่ประจำอยู่วัดลัฏฐิกวันตามเดิม และได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ไว้ภายในวัด
ที่ตั้ง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชุมชนโบราณ มีอายุร่วม 300 ปี (ถึง พ.ศ. 2533) ตั้งอยู่ริ่มฝั่งขวาแม่น้ำโขงห่างจากตัวเมืองมุกดาหารขึ้นไปตามแม่น้ำโขงทางทิศเหนือ 18 กม. และอยู่ห่างจากพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม ตามริมฝั่งโขงลงมาทางทิศใต้ราว 33 กม. (คำว่า "ชะโนด" เป็นชื่อพืชยืนต้นตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายมะพร้าว ใบคล้ายตาล แต่แฉกริ้วใบบอบบางกว่า มีผลกินได้ ชาวไทยอีสานเรียกว่า "ค้อเขียว")
รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง เป็นสิมขนาดค่อนข้างเล็กและเตี้ย แปลนรูป 4 เหลี่ยมผืนผ้า พื้นที่ภายในขนาด 5.40 ม. x 5.10 ม. แอวขันกออิฐฉาบปูนทำเป็นบัวคว่ำขึ้นไป เสาก่ออิฐขนาดใหญ่ 0.40 ม. ด้านละ 4 ต้น หลังคาทรงปั้นหยายกเป็นจั่วซ้อนบน เดิมมีไม้แกะสลักเป็นยอดปั้นลม และหลังคาก็มุงด้วยกระเบื้อง ดินขอตลอดทั้งหลัง (เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นสังกะสีภายหลัง) ผนังก่อทึบ เฉพาะด้านหลังพระประธาน
นอกนั้นทำเป็นระเบียงเตี้ย ใช้ขวดเหล้าไวน์ฝรั่งเศสสีเขียวเข้มทำเป็นลูกกรง เว้นเป็นทางเข้าโดยไม่ทำบานประตูสวนสะดุดตาภายในสิมหลังนี้ก็คือ พระประธานปางมารผจญเป็นปูนปั้นปิดทอง มีปัญจวัคคีย์นั่งพนมมือ อยู่รอบด้านหน้า ซึ่งแปลกกว่าที่อื่น ด้านหลังพระประธานก็ทำลวดลายปูนปั้นเป็นตัวกนกให้นูนชะโงกออกมาปกเกตุมาลาพระพุทธรูป ทีผนังสวนอื่นและทีตัวเสานั้น
ช่างได้เขียนฮูปแต้มเป็นเรื่องไตรภูมิบ้างทศชาติบ้าง เป็นฝีมือหยาบ ๆ แบบช่างพื้นบ้านอีสาน โดยทั่ว ๆ ไป สวนผนังนอกของด้านหลังนั้นทำปั้นปูนนูนต่ำเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ และทวารบาลเอาไว้ โดยรอบสิมหลังนี้จะมีเต้าไม้ยื่นออกมารับเชิญชาย และมีคันทวยยันรับโดยรอบ
รูปแบบของคันทวยนั้นได้รับอิทธิพลจากช่างทางเวียงจันท์อย่างแน่นอน (รูปแบบเดียวกับทวยในระเบียงคตของวัดพระธาตุหลวงนครเวียงจันท์) ฐานและเสาใช้ก่ออิฐถือปูนพื้นเมือง โครงสร้างเครื่องบนหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็งขื่อใช้ไม้ 4 เหลี่ยมขนาด 30 ซม. หลังคาเดิมมุงกระเบื้องดินขอทั้งหมด สภาพของวัสดุดูยังคงทนแข็งแรง ใช้งานได้อีกหลายปี




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage