วัดโพธิ์ศรี

วัดโพธิ์ศรี

วัดโพธิ์ศรี
แผนที่ แผนที่ แผนที่ มีแผนที่ มีแผนที่ ไม่มีแผนที่ ไม่มีแผนที่

สถานที่ท่องเที่ยวมหาสารคาม

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดโพธิ์ศรี พิพิธภัณฑ์ปู่ไห ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 ซุ้มประตูวัดโพธิ์ศรี รูปปั้นฆ้อง 3 ดุม สิม โบสถ์เก่าวัดโพธิ์ศรี (สร้าง 2467)
 
ประวัติความเป็นมาของของบ้านเชียงเหียน บ้านเชียงเหียนในปัจจุบันหรือที่เคยเป็นเมืองเชียงเหียนในอดีต ยังไม่มีหลักฐานที่พอจะ ยืนยันได้ว่าสร้างมาแต่เมือได จากหลักฐานทางโบราณคดีก็พอสามารถยืนยันได้ว่า บริเวณพี้นที่ดินแห่งภาคอีสานเคยมีมนุษย์อาศัยมาช้านานแล้ว
 
ได้มีการพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น เชa่นการขุดคูนี้ คันดินล้อมรอบบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในขณะนั้น จึงเป็นที่พอจะกล่าวได้ว่า บริเวณนั้นที่แห่งนี้ได้มีชุมชนตั้งที่อยู่อาสัยมานานแล้วแต่ไม่สามารถระบุชัดลงไปเมื่อประมาณปีใด พ.ศ. ใดเท่านั้น
 
บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา เป็นเมืองโบราณมีลักษณะ เป็นเนินสูงรูปไข่คือสูงตรงกลางมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะทำเลที่ตั้งที่ดีคือเมื่อฝนตกน้ำจะไหลลงสู่คูน้ำและบึงที่อยู่รอบหมู่บ้านทุกบึงและจากทำเลที่ตั้งของบ้านเชียงเหียนดังกล่าวจึงมีความสอดคล้องกับลักษณะของเมืองในสมัยทวารวดีคือมักจะมีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมือง
 
ประวัติความเป็นมาของฆ้อง 3 ดุม ฆ้อง 3 ดุมที่อยู่บนซุ้มประตูวัด ซึ่งตัวจริงเอาขึ้นมาไม่ได้ที่อยู่ในสระแก้ว ท่านอาจารย์บุญมั่น คำสะอาด ได้พร้อมชาวบ้านได้เห็นดีด้วยในการจำรองมาจากใบจริงเพื่อให้ช่างเสงี่ยม อุปชิต ได้ประดิษฐ์รูปฆ้องเอาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นเป็นที่ระลึก ประวัติบ้านเชียงเหียน
 
จากอาจารย์บุญมั่น คำสะอาด ว่า "ฆ้องใบนี้เป็นของเก่าแก่ตั้งแต่สมัยขอมปกครอง คือพระยาเชียงเหียน เป็นฆ้องของพระยา เห็นท่าจะสู้สงครามในครั้งนี้ไม่ได้จึงเก็บของมีค่าไปโยนทิ้งลงสระน้ำ ที่หนองสระแก้ว ได้หามฆ้องไปทิ้งลงสระแก้วด้วย" ตั้งแต่นั้นมาจนถึงสมัยปู่ย่า ตายาย ในสมัยนั้นพ่อใหญ่อ่อน ซึ่งไม่ทราบนามสกุล พ่อสังข์ รัตนพลแสน จำนามสกุลไม่ได้เพราะตายไปหลายชั่วอายุคนแล้ว
 
ท่านไปหาปลาที่หนองสระแก้ว ในสมัยนั้นหน้าแล้ง น้ำที่หนองสระ เพียงคร่งแข้ง ท่านพ่อใหญ่อ่อนได้แหลมไปแทงปลาไหลที่สระแก้วไปบนฆ้อง เห็นว่าฆ้องใบนี้แปลกเพราะมี 3 ดุม จึงนำข่าวมาบอกผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านทั้งหลายให้ทราบกัน ตั้งแต่นั้นมาจนถึงขณะนี้ก็ยังอยู่ที่เดิม เพียงแต่จำรองมาประดิษฐ์สร้างเป็นอนุสรณ์ ไว้ซุ้มประตูวัดโพธิ์ศรี บ้านเชียงเหียน เพื่อให้ลูกหลานได้รู้ว่าเป็นบ้านโบราณ เคยเป็นเมืองเชียงเหียนในอดีตมาก่อน ลูกหลานเกิดภายหลังก็จะได้เห็นสิ่งที่สำคัญของหมู่บ้านตนเองได้เป็นอย่างดี 
 
วัตถุโบราณในบ้านเชียงเหียน ได้เคยมีการขุดค้นมาแล้ว อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2517 - 2518 โดย Chster Gorman กับ พิสิฐ เจริญวงศ์ ซึ่งผลการขุดค้นครั้งนั้น กำหนดอายุว่า มีการอยู่อาศัยเริ่มแรกเมื่อราว 3500 ปีก่อนคริสกาล (หรือประมาณ 5500 ปีมาแล้ว) แต่ผลอายุดังกล่าวยังไม่ค่อยได้รับการายอมรับกันนัก
 
ในการขุดครั้งนั้นได้พบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายอย่าง อาทิ โครงกระดูกมนุษย์ที่มีเครื่องสำริด ฝังร่วมอยู่ด้วยหลายโครง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีการอยู่อาศัยของชุมชนต่อเนื่องจนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ด้วย 
 
ส่วนการขุดค้นครั้งที่ สอง ดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยนักโบราณคดีจากกองโบราณคดี กรมศิลปากร (นายอำพัน กิจงาม) ผลการขุดค้นครั้งนี้ พบว่าแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเหียนมีชั้นดินลึกประมาณ 6 เมตร ชั้นดินล่างสุดที่แสดงถึงการเริ่มต้นอยู่อาศัยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
 
กำหนดอายุได้ราว 3300 - 2000 ปีมาแล้วโดยได้พบโบราณวัตถุหลายประเภท เช่น เครื่องมือสำริด เครื่องมือเหล็ก และหลุมศพ 6 หลุม ชั้นดินตอนกลาง จัดเป็นสมัยประวัติศาสตร์ อายุราว 2000 - 1500 ปีมาแล้ว ได้พบภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง ส่วนชั้นดินด้านบนสุด พบหลักฐานที่แสดงถึงการอยู่อาศัยของผู้คนยุคปัจจุบัน
 
สถานที่ตั้ง บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
แผนที่ วัดโพธิ์ศรี แผนที่วัดโพธิ์ศรี
วัด กลุ่ม: วัด
คำค้น คำค้น: วัดโพธิ์ศรี
ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด: 8 ปีที่แล้ว


แสดงความเห็น

แสดงความเห็น




คำค้น (ขั้นสูง)
     
Email :
  รหัสผ่าน :
  สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

 

ภูมิภาค ภูมิภาคhttps://www.lovethailand.org/

https://www.lovethailand.org/อ.เมืองมหาสารคาม(16)

https://www.lovethailand.org/อ.แกดำ(3)

https://www.lovethailand.org/อ.โกสุมพิสัย(11)

https://www.lovethailand.org/อ.กันทรวิชัย(10)

https://www.lovethailand.org/อ.เชียงยืน(2)

https://www.lovethailand.org/อ.บรบือ(5)

https://www.lovethailand.org/อ.นาเชือก(5)

https://www.lovethailand.org/อ.พยัคฆภูมิพิสัย(3)

https://www.lovethailand.org/อ.วาปีปทุม(5)

https://www.lovethailand.org/อ.นาดูน(5)

https://www.lovethailand.org/อ.ชื่นชม(3)