
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย





สถานที่ท่องเที่ยวลำพูน
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 19.00 น.
ช่วงเวลา จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เดือน 8 เหนือ) ชาวบ้านเรียกว่า ประเพณีแปดเป็ง
ความสำคัญ ประเพณีภาคเหนือ (ประเพณีไทย)และวัฒนธรรมภาคเหนือ ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยจัดขึ้นทุกปี เพราะถือว่าพระธาตุหริภุญชัยเป็นพระธาตุเจดีย์ที่สำคัญหนึ่งในแปดพระธาตุเจดีย์ของประเทศไทย น้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนั้นเป็นน้ำสรงพระราชทาน น้ำทิพย์จากดอยขะม้อ และน้ำสรงของประชาชน วัตถุประสงค์ของประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย มีดังนี้
1. เพื่อเป็นการสักการะพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันเก่าแก่ และนับเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดลำพูนและชาวพุทธทั่วไป
2. เพื่อสักการะพระบรมอัฐิธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการบูชาเสาหลักเมือง เพราะชาวลำพูนถือว่า เจดีย์พระธาตุหริภุญชัยเป็นเสาหลักเมือง เมื่อสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยจึงได้ทำบุญเสาหลักเมืองลำพูนด้วย
พิธีกรรม ในวันขึ้น 13 ค่ำ จะมีพิธีฝังเสาสำหรับผูกเชือกดึงหม้อน้ำสรง ชาวบ้านเรียกว่า เสาก๊างน้ำ ในวันนี้ฝนมักจะตก ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่า หลังจากฝังเสาก๊างน้ำแล้ว เทวดาจะต้องสรงน้ำพระธาตุก่อนใคร เมื่อเสร็จงานเรียบร้อยแล้ว เสาก๊างน้ำจะถอดเก็บรักษาไว้
โดยตอนบ่ายวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 13.๐๐ น. ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยข้าราชการ, นักเรียน, นักศึกษา และประชาชน ได้ร่วมขบวนแห่นำน้ำสรงพระราชทาน โดยพร้อมเครื่องสักการะบูชา และน้ำทิพย์ดอยขะม้อ เดินทางไปยังวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แล้วทำพิธีถวายสักการะ โดยคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ จะมีเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยเป็นประธานนำสวดถวายอดิเรก หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
โดยจะทำพิธีสรงน้ำพระธาตุโดยสรงน้ำพระราชทานก่อน ต่อจากนั้นกลุ่มประชาชนจึงเข้าสรงน้ำ โดยเมื่อน้ำสรงเมื่อเต็มหม้อแล้ว ประชาชนจะช่วยกันดึงเชือกให้หม้อน้ำสรงเลื่อนขึ้นไปยังองค์พระธาตุ ซึ่งบนองค์พระธาตุ จะมีชายแต่งตัวชุดขาวคล้ายพราหมณ์ประมาณ 5-6 คน คอยรับน้ำสรง โดยจะนำไปสรงรอบๆองค์พระธาตุ ซึ่งประชาชนจะสรงน้ำกันอย่างไม่ขาดสายจนถึงเวลาประมาณ 17.๐๐ น. เป็นอันเสร็จพิธี
ประเพณีนี้แสดงถึงความยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสรณะของประชาชน ด้วยการแสดงคารวะต่อพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในครอบครัวและชุมชน มาร่วมสักการะบูชาองค์พระธาตุร่วมกัน พร้อมกับแสดงความยินดีปรีดา ด้วยการแสดงตีกลองหลวง ฟ้อนพื้นเมือง แห่ครัวทานเพื่อนมัสการและสักการะพระบรมธาตุ



แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage