
วัดกู่ป่าลาน





สถานที่ท่องเที่ยวลำพูน
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดกู่ป่าลาน เลขที่ 196 หมู่ 8 บ้านศรีดอนชัย ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน รหัสไปษณีย์ 51180 วัดราษฎร์ มหานิกาย เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อ พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2533 พระครูประภัศร์วรการ เตชวโร เจ้าอาวาสวัดกู่ป่าลาน
วัดกู่ป่าลาน ซึ่งเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดในอำเภอบ้านธิ ทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อสมัยพระยามังรายยึดนครหริภุญชัยได้แล้ว ได้เวนเมืองหริภุญชัยให้อ้ายฟ้าปกครองเป็น "ขุนฟ้า"
ส่วนพระยามังรายเสด็จไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครหริภุญชัยเรียกว่า ทับทานแซ่ (หรือทับบ้านแช่พล) หลังการตีนครหริภุญชัยได้แล้วนักโบราณคดี และนักวิชาการส่วนมากมักจะข้ามเลยไปกล่าวถึงการสร้างเวียงกุงกามเลย
ก่อนที่จะย้ายไปตั้งมั่นเป็นการถาวรที่เวียงเชียงใหม่ในปัจจุบัน ความจริงแล้วเมืองที่พระยามังรายสร้างหลังจากตีนครหริภุญชัยได้เป็นแห่งแรกนั้นอยู่บริเวณที่ราบลุ่มดอยเวียงมีลำน้ำแม่กวงไหลผ่าน ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
พื้นที่บริเวณนี้มีแหล่งศิลปกรรมสมัยล้านนา ยุคแรกหลงเหลือกระจัดกระจายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า คือ "กู่เรือง" หรือที่เรียกในภาษาท้องถิ่นว่า "กู่เฮือง" และ "กู่ป่าลาน" พระยามังรายประทับอยู่ที่เมืองใหม่แห่งนี้ได้ไม่นานก็เกิดอุทกภัยอย่างหนัก
ดังข้อความปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ว่า "อยู่ลูนได้ 2 ปี ถึงปีก่าเม็ด ศักราชได้ 645 ตัว เจ้าพระยามังรายปลงบ้านเวนเมืองหื้อขุนฟ้ากินเมืองลำพูน แล้วก็ย้ายไปสร้างเมืองแห่งหนึ่ง ว่าจักสร้างเวียงอยู่ตังยาวเรือนมากนัก เจ้าพระยามังรายหื้อขุดแม่น้ำผ่าบ้าน
หื้อเป้นที่ตกท่าแห่งคนทั้งหลาย ลวดเรียกแม่น้ำแจวนั้นแลมีภายหนอีสานแห่งเมืองลำพูนอยู่ที่นั้นได้ 3 ปี น้ำท่วมเมืองกลางวษา ช้างม้าวัวควายที่อยู่มิได้" พระองค์จึงย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ "เวียงกุงกาม" ในปีจุลศักราช 648 (พ.ศ.1829)
ก่อนที่จะย้ายหนีอุทกภัยไปตั้งเมืองใหม่อีกครั้งเป็นถาวรที่ เชิงดอยสุเทพ คือ เมืองเชียงใหม่ปัจจุบันนี้ นับแต่นั้นมานครหริภุญชัยก็ถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาไทกู่ป่าลาน หรือ กู่เฮือง อยู่ในหมู่บ้านศรีดอนชัย ตำบลบ้านธิ
เป็นสถูปเจดีย์ศิลปะแบบล้านนาขนาดเล็ก เหนือองค์เจดีย์ทั้งสี่ด้านทำเป็นซุ้มโขง แบบกระจังหน้านาง ประดับปูนปั้นเป็นลายเครือเถาที่อ่อนช้อยสวยงาม ใต้ซุ้มทั้งสี่ด้านมีลายปูนปั้นประดับด้วยลายที่ไม่ซ้ำกัน
ด้านตะวันออกเป็นรูปธรรมจักรด้านนี้เป็นซุ้มโล่งเข้าไปในองค์เจดีย์ ส่วนอีก 3 ด้าน ทำเป็นผนังเรียบ ภายในองค์เจดีย์สันนิษฐานว่าใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ผนังในซุ้มด้านเหนือเป็นรูปนกยูง ส่วนซุ้มด้านใต้
และด้านตะวันตกนั้น ลายกะเทาะไม่หลงเหลือให้เห็นแล้ว ลายปูนปั้นปรปะดับกู่ป่าลาน มีลักษณะคล้ายกับลายปูนปั้นที่ประดับเจดีย์วัดบุพพาราม หรือ วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่
แสดงให้เห็นว่าโบราณสถานที่พบในเขตอำเภอบ้านธินี้กับเจดีย์วัดเจ็ดยอดเป็นศิลปกรรมล้านนาร่วมสมัยกันพ.ศ. 2520 ราษฎรบ้านศรีดอนชัย จึงได้พร้อมใจกันบูรณะวัดร้าง กู่ป่าลาน ขึ้นเป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษา ได้อาราธนาพระวัชระ เตชวโร จากวัดป่าตาล มาเป็นผู้บูรณะวัดร้างกู่ป่าลาน





แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage