
สวนหินธรรมชาติ พุหางนาค

Rating: 4.3/5 (4 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวสุพรรณบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
สวนหินธรรมชาติ พุหางนาค "มรดกทางธรรมชาติชิ้นเอกของเมืองสุพรรณ ที่ควรค่าแก่การปกปักษ์รักษาไว้" ความงดงามของสวนหินธรรมชาติดึกดำบรรพ์อายุนับหมื่นล้านปี สวนป่าไม้โบราณอายุนับ 1000 ปี และปริศนาแห่งศาสนสถาน เมืองโบราณอู่ทอง
เป็นสถานที่ที่น่าสนใจแห่งใหม่ของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่เต็มไปด้วยความงดงามทางธรรมชาติ สวนหินที่งดงามตามจินตนาการ ด้วยรูปทรงที่หลากหลาย และริ้วรอยที่สรรสร้างโดยธรรมชาติ ดั่งผลงานชิ้นยอดของศิลปินชั้นเยี่ยม ความงามที่แฝงไว้ซึ่งปริศนา ให้ผู้ที่สนใจเรื่องราวของอารยธรรมโบราณ ร่องรอยที่ปรากฏบนแผ่นหินขนาดใหญ่ ที่เกิดจากมือมนุษย์ที่ใช้เครื่องมือโบราณ ตัดแบ่งหิน เพื่อการสร้างสถานที่ ที่ยังคงไว้เป็นปริศนา ให้เราต้องค้นหากันต่อไป
ป่าปรง พันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์อายุนับ 1,000 ปี ความงามอันเป็นที่หมายปองของใครหลายคนที่เห็นคุณค่า แต่ขาดจิตสำนึก หากไม่มีความร่วมมือช่วยกันดูแลรักษา ความงดงามที่มากด้วยคุณค่า คงหมดไปจากป่านี้ เป็นความอัศจรรย์ของป่าใกล้เมืองที่ยังหลงเหลือพันธุ์ไม้โบราณมากมายให้เราได้ชื่นชม
จันผา ไม้อนุรักษ์ ที่คนชอบลักลอบตัดไปขาย จันผาที่นี่มีมากมาย แต่ละต้นสูงใหญ่ นั้น หมายถึงอายุและมูลค่าของไม้ชนิดนี้ และความงดงามของสีสันสดสวยด้วยสีสันดอกไม้ป่า ที่จะเบ่งบานตามธรรมชาติ สีเหลือง ของ ดอกสลัดไดอายุหลายร้อยปี ที่จะงดงามในช่วงออกพรรษาของทุกปี หลังลมหนาวส่งลา ใบไม้ป่าร่วงหล่น เหลือเพียงกิ่งก้านยืนต้น เพื่อพลิดอกสีเหลืองอันน่ายล ของไม้งามนาม สุพรรณนิกา และพุดป่าสีขาวบริสุทธิ
สะพานหิน มหัศจรรย์งานสร้างของธรรมชาติ หรือฝีมือมนุษย์ ปัจจุบัน สวนหินธรรมชาติ พุหางนาค ได้เปิดให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยพระ มหาสมชาติ เทวธมโม เจ้าสำนักสงฆ์พุหางนาค ได้ร่วมมือกับชาวชุมชนในพื้นที่ จัดเส้นทาง พาชมความงดงาม และเรียนรู้ธรรมชาติของสวนหินแห่งนี้ เพื่อเป็นเกราะป้องกันการบุกทำลาย และหาประโยชน์ จากทรัพยากรณ์อันทรงคุณค่า
โดยหวังให้นักเดินทางท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก ในธรรมชาติ จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องป่าแห่งนี้ ภาพหลุ่มที่เกิดจากการลอบขุดต้นปรง ภาพต้นจันผาที่เหลือเพียงตอขนาดใหญ่ บ่งบอกถึงอนาคตของไม้โบราณเหล่านี้ หากเราไม่ช่วยกันดูแล "หลุ่มที่โดนขุด กิ่งก้านที่โดนตัด เราหวังให้เป็นภาพสุดท้ายที่จะได้เห็น"
หินตั้ง ที่นักวิชาการโบราณคดีและประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่ามนุษย์ยุคโบราณนำหินมาวางซ้อนกันไว้ เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อกว่า 2,000 ปีที่ผ่านมา
หินตั้ง เป็นวัฒนธรรมหินที่คนพื้นเมืองยุคดึกดำบรรพ์สุวรรณภูมิอุษาคเนย์จัดวางเป็นกลุ่มให้ได้รูปลักษณะต่าง ๆ ใช้บอกเขตศักดิ์สิทธิ์ พบมากในอีสานและลาว เช่น ไหหินที่ทุ่งไหหิน แขวงเชียงขวาง ในลาว ครั้นรับพุทธศาสนาก็ปรับหินตั้งเป็นเสมาหิน เช่น ที่ภูพระบาทบัวบก-บัวบาน อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี
หินตั้ง ที่ป่าหินตั้ง บนยอดเขาพุหางนาค เมืองอู่ทอง สุพรรณ คือสิ่งก่อสร้างในศาสนาผีพื้นเมืองสุวรรณภูมิอุษาคเนย์ ที่มีอยู่ก่อนรับศาสนาพราหมณ์-พุทธ จากอินเดีย แสดงว่าบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน มีชุมชนขนาดใหญ่ระดับเมืองหรือรัฐเล็ก ๆ อยู่แล้ว ก่อนติดต่อรับอารยธรรมอินเดีย




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
|