ป้อมพระจุลจอมเกล้า

ป้อมพระจุลจอมเกล้า

ป้อมพระจุลจอมเกล้า
แผนที่ แผนที่ แผนที่ มีแผนที่ มีแผนที่ ไม่มีแผนที่ ไม่มีแผนที่

สถานที่ท่องเที่ยวสมุทรปราการ

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 06.00 - 21.00 น.
 
ป้อมพระจุลจอมเกล้า ตั้งอยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า อยู่ห่างจากแยกพระสมุทรเจดีย์ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 303 ประมาณ 6 กิโลเมตร หรือสามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศสาย 20 ป้อมพระจุลฯ-ท่าดินแดง
 
ป้อมพระจุลฯ เป็นป้อมที่ทันสมัยและมีบทบาทสำคัญยิ่งในการปกป้องอธิปไตยของชาติ ซึ่งเป็นที่ทำการยิงต่อสู้กับอริราชศัตรูมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นป้อมที่จารึกอยู่ในความทรงจำของคนไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทยมายาวนาน เพราะในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแสวงหาเมืองขึ้น บรรดาประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ติดเขตแดนไทย ก็ถูกประเทศทั้งสองเข้าครอบครองไปหมดแล้ว
 
นับเป็นภัยใหญ่หลวงสำหรับประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทย พระองค์จึงทรงหาวิธีป้องกันต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันทางน้ำ ทรงดำริให้ปรับปรุงป้อมต่าง ๆ ทางปากน้ำ โดยจ้างชาวต่างประเทศที่ชำนาญการทหารเรือเป็นที่ปรึกษาวางแผนในการปรับปรุงกิจการทหารเรือในครั้งนั้นด้วย ภายในป้อมพระจุลจอมเกล้าในปัจจุบันมีสิ่งที่น่าสนใจคือ
 
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้มีความสง่างามยิ่ง โดยทรงฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพเรือ พระหัตถ์ถือกระบี่ นอกจากนี้ภูมิทัศน์โดยรอบยังแวดล้อมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดดูร่มรื่น ใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และเหตุการณ์ในสมัย ร.ศ. 122
 
พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง เป็นเรือรบประจำการมีอายุการใช้งานนานที่สุดในกองทัพเรือเป็นเวลากว่า 60 ปี จนกระทั่งกระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่ามีสภาพทรุดโทรมมากจึงปลดประจำการเพื่ออนุรักษ์เป็นพิพิธภัณฑ์ 
 
อุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนม์มายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2545 สำหรับอุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือนั้น ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ จัดแสดงภาพความเสียหายจากการรบ และภาพสู่การพัฒนากองทัพเรือ นอกจากนั้นภายในอุทยานฯ ยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์กลางแจ้ง รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งแสดงถึงวิวัฒนาการของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศ ตลอดจนบทบาทในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจัดแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ 
 
- กลุ่มปืนเสือหมอบ ซึ่งเป็นปืนรุ่นแรกที่บรรจุทางท้ายกระบอก และเป็นอาวุธปืนหลุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วง ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436) 
 
- กลุ่มปืนและอาวุธสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 
 
- กลุ่มปืนและอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1, 2 ยุทธนาวีที่เกาะช้าง 
 
- กลุ่มปืนและอาวุธที่กองทัพเรือมีใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน 
 
- การจัดแสดงสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือในยามสงบ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 
 
นอกจากนั้นยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ ที่นักท่องเที่ยวสามารถชมป่าชายเลนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกระยาง นกนางนวล ปลาตีน ปูลม หรือปูก้ามดาบ ป้อมพระจุลฯ เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00–18.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด ผู้เข้าชมต้องขออนุญาตจากกองรักษาการณ์บริเวณหน้าประตูป้อมฯ และแลกบัตรประจำตัวไว้ หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรนำชมสถานที่ต้องทำหนังสือถึงพิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง
 
การเดินทาง การเดินทางเที่ยวชมป้อมพระจุลจอมเกล้า, พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง และอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ให้เริ่มต้นจากสามแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลวงหมายเลข 303)
 
มุ่งหน้าตรงไปทางอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ถึงสามแยกพระสมุทรเจดีย์ให้เลี้ยวขวาไปจนสุดถนน ระยะทาง 12 กิโลเมตร จะถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและแบบธรรดา สาย 20 (ป้อมพระจุลจอมเกล้า-ท่าน้ำท่าดินแดง ก็สามารถไปถึงป้อมพระจุลจอมเกล้าได้เช่นกัน
โทร โทร: 024756109, 0-4756259, 024758845, 02-4756357
แผนที่ ป้อมพระจุลจอมเกล้า แผนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า
คำค้น คำค้น: ป้อมพระจุลจอมเกล้า
ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด: 8 ปีที่แล้ว


แสดงความเห็น

แสดงความเห็น




https://www.lovethailand.org/

อัลบั้มรูป(9) https://www.lovethailand.org/

สถานที่ ขอบคุณภาพสวย ๆ 3 รูป จากคุณ: Hzind
You have an error in your SQL syntax; check the manual that corresponds to your MariaDB server version for the right syntax to use near '-21 , 21' at line 1