หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.สมุทรปราการ > อ.พระประแดง > ต.ทรงคนอง > ประเพณีแห่ปลา


สมุทรปราการ

ประเพณีแห่ปลา

ประเพณีแห่ปลา

Share Facebook

Rating: 4/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา ช่วงเวลาที่จัดงาน คือ หลังจากงานสงกรานต์ 13 เมษายน ไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์
 
ความสำคัญ ประเพณีแห่ปลา ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างประเทศรู้จักประเพณีนี้และไปชมกันปีละไม่ต่ำกว่าห้าหมื่นคนความเป็นมาของประเพณีนี้ก็สืบเนื่องมาจากตำนานของมอญที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า
 
มีพระอาจารย์องค์หนึ่งมีลูกศิษย์อยู่หลายคน พระอาจารย์องค์นี้มีความเชี่ยวชาญในการทำนายโชคชะตาเป็นยิ่ง วันหนึ่งพระอาจารย์ได้ตรวจดูดวงชะตาของลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่ ปรากฏว่าสามเณรองค์นั้นอยู่ในเกณฑ์ชะตาขาด จะต้องถึงแก่ความตายในไม่ช้า พระอาจารย์มีความสงสารเป็นอย่างยิ่ง แต่ไม่อาจจะช่วยเหลือได้
 
จึงบอกให้สามเณรกลับไปเยี่ยมญาติโยมที่บ้านเพื่อที่จะได้มีโอกาสพบปะกันก่อนตาย สามเณรเข้าอำลาพระอาจารย์แล้วเดินทางกลับไปบ้าน ระหว่างทางเดินผ่านไปตามทุ่งนาจนถึงหนองน้ำแห่งหนึ่งน้ำแห้งขอด มีปลาตกปลักจมอยู่ในโคลนรังแต่จะรอความตาย สามเณรเกิดความสงสารจึงได้จับปลาไปปล่อยในลำคลองแล้วเดินทางต่อไปจนถึงบ้าน
 
เมื่อสมควรแก่เวลาแล้วก็เดินทางกลับวัด ฝ่ายพระอาจารย์เมื่อเห็นสามเณรกลับมาก็แปลกใจเพราะยังเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองอยู่ จึงสอบถามจนได้ความว่าขณะที่เดินทางกลับบ้านนั้นได้ช่วยเหลือปลาที่รอความตายให้กลับมีชีวิตยืนยาวต่อไป พระอาจารย์จึงเข้าใจว่ากุศลที่สามเณรสร้างในครั้งนี้กลับเป็นผลานิสงส์หนุนนำให้สามเณรมีชีวิตยืนยาวต่อไป
 
จากตำนานดังกล่าวทำให้ชาวรามัญยึดถือเป็นตัวอย่างและปฏิบัติกันอยู่เสมอมา ซึ่งส่วนประเพณีแห่นกที่ทำควบคู่กับแห่ปลาในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นทีหลัง โดยจะขอกล่าวย้อนถึงสาเหตุที่จะกลายมาเป็นประเพณีแห่ปลาว่าเมื่อประมาณ 50 ปีล่วงแล้วคุณย่าพ่วง พงษ์เวช ชาวมอญตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง นั้นเป็นผู้ที่ชอบทำบุญทำกุศลอย่างมาก ท่านจึงได้บอกให้ อาจารย์คล้าย พงษ์เวช ซึ่งเป็นบุตรชายให้จัดงานทำบุญเลี้ยงพระแล้วปล่อยปลาจำนวนมาก ๆ ท่านอาจารย์คล้าย พงษ์เวช
 
จึงได้จัดให้ตามความประสงค์ทุกประการ โดยวิวัฒนาการจากการปล่อยปลาตามปกติมาเป็นการเชิญสาว ๆ ในหมู่บ้านมาเข้าร่วมขบวนถือโหลปลา โดยนำด้วยดุริยางค์แล้วนำไปปล่อยที่วัดทรงธรรมวรวิหาร ในปีรุ่งขึ้นท่านอาจารย์คล้าย พงษ์เวช เห็นว่าน่าจะกระทำเช่นนี้อีกต่อไป จึงได้เป็นเจ้าภาพจัดงานขึ้น โดยจะใช้โรงเรียนอำนวยวิทย์ อำเภอพระประแดง ซึ่งท่านเป็นเจ้าของอยู่เป็นสถานที่จัดงานและได้เชิญสาวๆจากหมู่บ้านต่างๆ (หมู่บ้านมอญ) รวม 14 หมู่บ้าน มาร่วมในขบวนแห่
 
และในปีต่อมาท่านได้เชิญสาวมอญจากบางกระดี่ ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จากบางขันหมาก จังหวัดลพบุรี จากปากเกล็ด จังหวัดนนทบุรี มาร่วมขบวนด้วย จึงนับว่าเป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่และตระการตา แต่เนื่องจากสาวมอญแต่ละแห่งนั้นแต่งกายตามประเพณีในท้องถิ่นของตน จึงทำให้เกิดความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และปิดท้ายขบวนด้วยกลองยาวที่สร้างความครึกครื้นอยู่ตลอดเวลา โดยส่วนการแห่นกนั้นท่านอาจารย์ได้ผนวกเข้าทีหลังจนกลายเป็นประเพณีแห่นกแห่ปลาในที่สุด
 
พ.ศ. 2498 รูปขบวนก็ได้เปลี่ยนไปอีก โดยกล่าวคือมีขบวนนางสงกรานต์เพิ่มขึ้น ส่วนนางสงกรานต์นั้น นั้นจะไม่มีการประกวด เพียงแต่เสาะหาสาวที่มีความงามที่สุดมาเป็นนางสงกรานต์ จนกระทั่ง พ.ศ. 2506 ท่านอาจารย์คล้าย พงษ์เวช ย่างเข้าสู่วัยชราจึงต้องการพักผ่อน แต่ทางราชการเห็นว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ดี สมควรจะอนุรักษ์ไว้จึงได้รับการปฏิบัติกันต่อๆ มา ครั้นถึง พ.ศ. 2521 ได้มีการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงขึ้น และต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน
 
ขบวนแห่ปลา แห่นกในปัจจุบันได้รับความร่วมมือจากตำบลต่างๆ ในอำเภอพระประแดง จึงทำให้รูปขบวนวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ มีสาวงามจำนวนมากขึ้น มีขบวนรถจากตำบลต่างๆ ตกแต่งอย่างสวยงามขั้นขบวนสาวงามอยู่เป็นระยะๆ มีวงดุริยางค์ของโรงเรียนต่าง ๆ นำแต่ละขบวนเป็นที่ครึกครื้นแล้วปิดท้ายด้วยขบวนกลองยาวอย่างเคย 

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(2)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(9)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(5)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(30)

มัสยิด มัสยิด(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(9)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(1)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(1)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)