หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.พิษณุโลก > อ.เมืองพิษณุโลก > ต.ในเมือง > งานสมโภชพระพุทธชินราช


พิษณุโลก

งานสมโภชพระพุทธชินราช

งานสมโภชพระพุทธชินราช

Share Facebook

Rating: 3.8/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา ช่วงวันมาฆะบูชา (ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี) โดยรวมเวลา 7 วัน 7 คืน ซึ่งปัจจุบันนั้นจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์
 
ความสำคัญ ประเพณีภาคเหนือ (ประเพณีไทย)และวัฒนธรรมภาคเหนือ งานสมโภชพระพุทธชินราชมีมาแต่โบราณกาล เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองสมโภชพระพุทธชินราช 3 วันบ้าง 5 วันบ้าง 7 วันบ้าง ต่อมาทางจังหวัดพิษณุโลกได้ริเริ่มกำหนดเป็นงานประจำปีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2477 โดยถือกำหนดเอาวันเพ็ญเดือนสามเป็นต้นไปมีการฉลอง 7 วัน 7 คืน โดยเพื่อให้ประชาชนได้มานมัสการพระพุทธชินราช เพื่อเป็นศิริมงคล และพักผ่อนหย่อนใจด้วยการชมมหรสพ และสามารถเลือกซื้อสินค้าพื้นบ้านจากจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดต่าง ๆ กลับบ้านไปเป็นที่ระลึกและใช้ในครอบครัว
 
พิธีกรรม พิธีกรรมจะมี 2 ช่วง คือ พิธีเปิดงาน และพิธีไหว้พระพุทธชินราชของ ประชาชน พิธีเปิดงาน จะจัดงานในตอนเย็นของวันก่อนวันงาน โดยนิมนต์พระสงฆ์ ผู้ใหญ่ทำพิธีทางศาสนา และเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในพิธี ผู้ร่วมงานได้แก่ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทั่วไป โดยมีพิธีการดังนี้
 
1. สวดมนต์ไหว้พระรับศีล และพระสงฆ์สวดมนต์
 
2. ทำพิธีเปิดงาน (เหมือนพิธีเปิดงานทั่วไป) โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้กล่าวเปิดงาน
 
3. พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา
 
4. ถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระสงฆ์
 
5. พระสงฆ์สวดให้พรเป็นจบพิธีช่วงแรก หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันงานประชาชนจะเข้านมัสการโดยมีพิธีการดังนี้
- จุดธูปเทียน และนำดอกไม้มาบูชาพระ
 
- กราบไหว้พระพุทธชินราชในวิหาร อธิษฐานขอความสวัสดี และความเป็นมงคลให้เกิดแก่ตน
 
- หลังจากนั้นอาจจะมีการปล่อยนก, ปล่อยปลา และปล่อยเต่า ตามความเชื่อ โดยการจัดงานสมโภชนอกจากพิธีทางศาสนาแล้ว ยังมีมหรสพทั้งดนตรี, ภาพยนตร์, ลิเก, การละเล่นพื้นเมือง และการออกร้านจำหน่ายสินค้า เครื่องอุปโภค และบริโภค ของที่ระลึก สินค้าพื้นเมืองจากกลุ่มแม่บ้านหน่วยงานเอกชนจากจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอื่น ๆ ในทุกภาคของประเทศไทย
 
การสมโภชพระพุทธชินราช เป็นการเฉลิมฉลองพระคู่บ้านคู่เมืองของเมือง และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองพิษณุโลก และพุทธศาสนิกชนทั่วไป แสดงถึงความยึดมั่นศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเป็นการพักผ่อนหย่อนใจของชาวนาชาวไร่หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(3)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(29)

มัสยิด มัสยิด(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(3)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(7)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(4)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(5)

น้ำตก น้ำตก(19)

ถ้ำ ถ้ำ(3)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(9)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)