หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.นนทบุรี > อ.บางกรวย > ต.บางขุนกอง > ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108


นนทบุรี

ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108

ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108

Share Facebook

Rating: 4.5/5 (6 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108 เริ่มในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งถือว่าเป็นวันทำบุญที่แท้จริง แต่ประเพณีจะเริ่มขึ้นตั้งแต่แรม 7 ค่ำ เดือน 12 โดยเริ่มพิธีตั้งแต่ตอนบ่าย
 
ความสำคัญ ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108 เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานแล้วในอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ โดยจัดขึ้นตามวัดริมลำน้ำในคลองบางกอกน้อยหลายวัดด้วยกัน คือ วัดไทยเจริญ วัดบางไกรนอก วัดอุทยาน วัดโบสถ์ วัดบางไกรใน เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนา ทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล และเกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในชุมชน
 
พิธีกรรม การทำบุญตักบาตรพระ 108 จะเริ่มพิธีตั้งแต่แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ในตอนบ่ายทุกวัดตามริมน้ำจะมีการแห่พระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงของแต่ละวัด เช่น หลวงพ่ออาคมจากวัดไทยเจริญ หลวงพ่อโตวัดอุทยาน แห่ไปตามลำน้ำ โดยการจัดขบวนแห่อย่างสวยงาม มีการรำประกอบ จุดประสงค์ของการแห่ขบวนพระนี้ก็เพื่อประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันว่า จะมีพิธีทำบุญตักบาตรพระ 108 ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ให้สาธุชนมาร่วมทำบุญในวันรุ่งขึ้น การแห่ขบวนพระนี้ทุกวัดจะแห่พร้อมกันหมด
 
วันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งถือเป็นวันทำบุญใหญ่ จะเริ่มพิธีตั้งแต่เวลา 05.00 น. เป็นต้นไปจะมีประชาชนมาร่วมทำบุญตามลำน้ำอย่างแน่นขนัดทั้งสองฝั่งคลอง ประชาชนส่วนใหญ่ที่มาทำบุญจะมาทางเรือ เตรียมอาหารคาวหวานมาอย่างพร้อมมูล ชาวบ้านจะนิมนต์พระสงฆ์ลงเรือจ้างบ้าง เรืออีแปะบ้างเรือบางลำมีพระ 1 รูปหรือ 2 รูป ไม่เกินลำละ 3 รูปและมีคนพายเรือ 3-4 คน เพื่อรับอาหารคาวหวานจากประชาชน
 
การทำบุญนี้จะเริ่มพร้อมกันทุกวัด พระจะบิณฑบาตไปในทางเดียวกัน เช่นเริ่มต้นทางฝั่งขวาก็จะรับบิณฑบาตเรื่อยไป แล้วจึงวกกับมาทางฝั่งซ้ายบ้าง วัดแต่ละวัดจะแห่พระพุทธรูปประดับตกแต่งอย่างสวยงามไปรับบิณฑบาตด้วย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองและบริจาคทรัพย์ตามศรัทธาเพื่อนำไปบำรุงวัด ช่วงเวลาที่ประชาชนทำบุญหนาตาจะอยู่ระหว่างเวลา 06.00-07.00 น. ในระหว่างการทำบุญนี้ จะมีชาวบ้านแต่งตัวเป็นฤาษีหรือนำผ้าเหลืองมาห่มให้ใช้ขันครอบศีรษะสมมุติเป็นพระมาร่วมบิณฑบาตด้วย
 
เป็นการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จัดทำเพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาและแสดงความสมานสามัคคีของชาวบ้าน

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 10 ปีที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

พระราชวัง พระราชวัง(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(2)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(53)

มัสยิด มัสยิด(11)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(2)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(1)

ทุ่งดอกไม้ ทุ่งดอกไม้(1)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(2)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(8)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(1)