Rating: 4.5/5 (6 votes)
ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
ช่วงเวลา ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108 เริ่มในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งถือว่าเป็นวันทำบุญที่แท้จริง แต่ประเพณีจะเริ่มขึ้นตั้งแต่แรม 7 ค่ำ เดือน 12 โดยเริ่มพิธีตั้งแต่ตอนบ่าย
ความสำคัญ ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108 เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานแล้วในอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ โดยจัดขึ้นตามวัดริมลำน้ำในคลองบางกอกน้อยหลายวัดด้วยกัน คือ วัดไทยเจริญ วัดบางไกรนอก วัดอุทยาน วัดโบสถ์ วัดบางไกรใน เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนา ทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล และเกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในชุมชน
พิธีกรรม การทำบุญตักบาตรพระ 108 จะเริ่มพิธีตั้งแต่แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ในตอนบ่ายทุกวัดตามริมน้ำจะมีการแห่พระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงของแต่ละวัด เช่น หลวงพ่ออาคมจากวัดไทยเจริญ หลวงพ่อโตวัดอุทยาน แห่ไปตามลำน้ำ โดยการจัดขบวนแห่อย่างสวยงาม มีการรำประกอบ จุดประสงค์ของการแห่ขบวนพระนี้ก็เพื่อประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันว่า จะมีพิธีทำบุญตักบาตรพระ 108 ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ให้สาธุชนมาร่วมทำบุญในวันรุ่งขึ้น การแห่ขบวนพระนี้ทุกวัดจะแห่พร้อมกันหมด
วันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งถือเป็นวันทำบุญใหญ่ จะเริ่มพิธีตั้งแต่เวลา 05.00 น. เป็นต้นไปจะมีประชาชนมาร่วมทำบุญตามลำน้ำอย่างแน่นขนัดทั้งสองฝั่งคลอง ประชาชนส่วนใหญ่ที่มาทำบุญจะมาทางเรือ เตรียมอาหารคาวหวานมาอย่างพร้อมมูล ชาวบ้านจะนิมนต์พระสงฆ์ลงเรือจ้างบ้าง เรืออีแปะบ้างเรือบางลำมีพระ 1 รูปหรือ 2 รูป ไม่เกินลำละ 3 รูปและมีคนพายเรือ 3-4 คน เพื่อรับอาหารคาวหวานจากประชาชน
การทำบุญนี้จะเริ่มพร้อมกันทุกวัด พระจะบิณฑบาตไปในทางเดียวกัน เช่นเริ่มต้นทางฝั่งขวาก็จะรับบิณฑบาตเรื่อยไป แล้วจึงวกกับมาทางฝั่งซ้ายบ้าง วัดแต่ละวัดจะแห่พระพุทธรูปประดับตกแต่งอย่างสวยงามไปรับบิณฑบาตด้วย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองและบริจาคทรัพย์ตามศรัทธาเพื่อนำไปบำรุงวัด ช่วงเวลาที่ประชาชนทำบุญหนาตาจะอยู่ระหว่างเวลา 06.00-07.00 น. ในระหว่างการทำบุญนี้ จะมีชาวบ้านแต่งตัวเป็นฤาษีหรือนำผ้าเหลืองมาห่มให้ใช้ขันครอบศีรษะสมมุติเป็นพระมาร่วมบิณฑบาตด้วย
เป็นการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จัดทำเพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาและแสดงความสมานสามัคคีของชาวบ้าน
หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก
กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
ปรับปรุงล่าสุด : 10 ปีที่แล้ว