ประเพณีแห่ธงสงกรานต์

ประเพณีแห่ธงสงกรานต์

ประเพณีแห่ธงสงกรานต์
แผนที่ แผนที่ แผนที่ มีแผนที่ มีแผนที่ ไม่มีแผนที่ ไม่มีแผนที่

สถานที่ท่องเที่ยวนครปฐม

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ คือ ประเพณีไทยทำบุญทอดผ้าป่าของชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง ที่ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่ในอำเภอเมือง ที่ตำบลโพรงมะเดื่อ และอำเภอดอนตูม ที่ตำบลเลาเต่าลำเหยตะโกสูง ดอนรวก ทุ่งผักกูด ฯลฯ
 
ช่วงเวลา ประเพณีแห่ธงสงกรานต์จะจัดขึ้นในราวเดือนเมษายนหลังจากวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ผ่านไปแล้วสัก 1 สัปดาห์ จัดขึ้นตามหมู่บ้านต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น
 
ความสำคัญ เนื่องด้วยชาวบ้านที่นับถือพุทธศาสนาพิจารณาเห็นว่าหลังจากสงกรานต์แล้ว เป็นเวลาว่างจากการทำนา และการทำบุญ ในระยะนั้นเว้นห่าง พระภิกษุอาจมีอาหารไม่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นฤดูแล้งไม่มีฝนตก เหมาะแก่การที่วัดแต่ละแห่งจะทำการปรับปรุงพัฒนา รื้อ ถอน ซ่อมแซมกุฎิเสนาสนะ
 
และศาสนสถาน โบสถ์ ศาลา ให้มีความสมบูรณ์สวยงามเตรียมไว้ให้บริการแก่ชาวบ้านในการประกอบกิจกรรมทางศาสนา จึงควรที่ชาวบ้านจะได้ทำการสนับสนุนวัดให้ได้มีเครื่องมือเครื่องใช้ และงบประมาณเงินทองไว้ใช้ดำเนินการดังกล่าวได้สะดวกยิ่งขึ้น ชาวบ้านจึงชักชวนกันสละทรัพย์สิ่งของนำไปมอบให้กับวัดใกล้บ้านของตน
 
กิจกรรม ประเพณีเริ่มด้วยการบอกบุญ เรี่ยไรไปตามหมู่บ้านด้วยขบวนกลองยาว หรือ ดนตรีพื้นบ้านล่วงหน้าวันงาน 1-2 วัน วันแห่ธงไม่ได้กำหนดวันแน่นอน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของชาวบ้าน เช่นจะจัดในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ เพราะชาวบ้านในหมู่บ้านหยุดงาน และกลับจากโรงงานมาเยี่ยมพ่อแม่
 
ธงสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ ยาวประมาณ 10 เมตรขึ้นไป ปลายธงมีกิ่งไผ่และที่สำหรับแขวนสิ่งของไว้ สิ่งที่จะนำมาแขวนที่ธงนั้นได้แก่ ผืนธงชาติและสิ่งของเครื่องใช้ที่มีลักษณะเป็นผืนพอจะแขวนได้ เช่น เสื่อ พรม ผ้าม่าน ซึ่งของเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทางวัดจำเป็นต้องมีไว้ใช้ ชาวบ้านจะพับให้มีขนาดพอเหมาะที่จะแขวนกับปลายธงได้เพียง 1 ชิ้นเท่านั้น ตกแต่งให้สวยงามด้วยดอกไม้สดและดอกไม้แห้ง
 
การแห่ธงชาวบ้านจะแห่ออกจากหมู่บ้าน นำขบวนด้วยเสาธงซึ่งมีคนแบกมาหลายคน ตามด้วยกลองยาวซึ่งเป็นดนตรีพื้นบ้าน และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การพัฒนาวัด ที่ขาดเสียไม่ได้ คือ พุ่มผ้าป่าที่ประกอบด้วยผ้าไตรสำหรับภิกษุนุ่งห่ม บาตร และตาลปัตร โดยเฉพาะธนบัตรที่ใช้ไม้คีบแล้วเสียบไว้กับต้นกล้วยนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งเหล่านี้เรียกว่า "หางธง" วัดแต่ละวัดจะมีขบวนแห่ธง แห่มายังวัดหลายธง เช่น รอบ ๆ วัด มี 5 หมู่บ้าน ในวันแห่ธงสงกรานต์จะแห่มาถึง 5 ธง หรือ 5 คณะพร้อม ๆ กัน
 
ความสนุกสนานที่ชาวบ้านชื่นชอบนั่นก็คือขบวนแห่ธง ซึ่งแต่ละหมู่บ้านนั้นจะคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์แตกต่างกันไป เช่น การแต่งกาย การร่ายรำ การแบกธงที่มีลีลาต่าง ๆ กัน เช่น ให้ชายหนุ่มขึ้นไปที่บนเสาธงแล้วโยนคันเสาธงขึ้นไปให้สูง พร้อมกับคนขี่นั้นให้ตกลงมาแล้วคอยรับ เป็นที่หวาดเสียว แต่ก็ถือว่าแสดงความกล้า และเกิดความสนุกสนาน โดยเมื่อถึงวัดแล้วจะวนรอบโบสถ์ 3 รอบ แล้วปักลงกับพื้นดิน ตกกลางคืนในงานจะมีมหรสพสมโภช ในตอนรุ่งเช้าจึงทำพิธีถวายธงบนศาลาวัด เลี้ยงภัตราหารพระ แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีพระคุณ แล้วมีการสรงน้ำพระเป็นเสร็จพิธี
 
ประเพณีนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยชาวบ้านทั้งหญิงชายช่วยกันจัดทำอุปกรณ์ประกอบในการแห่ การเรี่ยไรทุนทรัพย์เพื่อการกุศล พร้อมทั้งวงดนตรีพื้นบ้าน ที่จะต้องมาช่วยกัน โดยไม่คิดเงินทอง ซึ่งนับเป็นความสามัคคีประการหนึ่ง โดยอีกประการหนึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า การได้ทำบุญแล้ว ย่อมนำมาซึ่งความสุข ทั้งปัจจุบันและอนาคต ย่อมก่อให้เกิดความสงบสุขโดยทั่วกัน
คำค้น คำค้น: ประเพณีแห่ธงสงกรานต์
ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด: 10 เดือนที่แล้ว


แสดงความเห็น

แสดงความเห็น




คำค้น (ขั้นสูง)
     
Email :
  รหัสผ่าน :
  สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

Facebook Fanpage Facebook Fanpage

 

ภูมิภาค ภูมิภาคhttps://www.lovethailand.org/

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(6)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(3)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(5)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(13)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(79)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(4)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(3)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(3)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(8)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

สนามกีฬา สนามกีฬา(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(5)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(2)

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(1)