พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง
Rating: 3.2/5 (9 votes)
แผนที่ แผนที่ แผนที่ มีแผนที่ มีแผนที่ ไม่มีแผนที่ ไม่มีแผนที่

สถานที่ท่องเที่ยวลพบุรี

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง ที่บ้านโคกสลุง จ.ลพบุรี ก่อตั้งขึ้นเนื่องจากชาวไทยเบิ้งที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน ทำให้พื้นที่บ้านเรือนดั้งเดิมหายไป ชาวบ้านเกรงว่าวัฒนธรรม ประเพณี
 
และวิถีชีวิตการทำมาหากินแบบเก่าของชาวไทยเบิ้งจะหายไปด้วย จึงรวมตัวกันทำประชาพิจารณ์ในปี พ.ศ. 2541 และตกลงกันก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ไทยเบิ้ง เพื่อแสดงอัตลักษณ์และรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ให้ลูกหลาน
 
ชาวไทยเบิ้งโคกสลุงมีสำเนียงการพูดคล้ายภาษาไทยภาคกลาง แต่ออกเสียงเหน่อ สิ่งที่เป็นอัตลักษณ์เด่นชัดที่สังเกตได้คือ การแต่งกายและของใช้จำเป็น โดยผู้หญิงสูงอายุจะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อกระโจมหรือเสื้ออีหิ้ว ผ้าขาวม้าพาดบ่า นิยมกินหมาก สะพายย่ามสีแดง
 
สำเนียงการพูดออกเสียงเหน่อ มีคำพูดที่แปลกจากภาษากลางบางคำ และมักลงท้ายด้วยคำว่าเบิ้ง เติ้ง เหว่ย ด๊อก ซึ่งบอกได้ว่าเป็นคนไทยเบิ้งโคกสลุง
 
นามสกุลชาวไทยเบิ้งโคกสลุงจะขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยคำว่า “สลุง” ดังนั้น ถ้าหากใครมีนามสกุลลงท้ายด้วยสลุงต้องมีเทือกเถาเหล่าอยู่ที่โคกสลุงเป็นแน่
 
ทั้งนี้ ความเป็นมาของชาวไทยเบิ้งนั้นถือว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกับชาวไทยโคราช แต่อพยพโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานบริเวณพื้นที่ จ.ลพบุรี มีภาษาและวัฒนธรรมหลายอย่างคล้ายกับไทยโคราช เอกลักษณ์ของไทยเบิ้งคือภาษาที่มักจะลงท้ายประโยคด้วยคำว่า “เบิ้ง” หรือ “เติ้ง” ทำให้คนทั่วไปเรียกคนกลุ่มนี้ว่าไทยเบิ้ง
 
ในพิพิธภัณฑ์ไทยเบิ้งได้จำลองบ้านที่อยู่อาศัยของไทยเบิ้งแบบดั้งเดิมคือ เป็นเรือนฝาคร้อเสาสูง ขึ้นลงด้วยบันไดแบบชักออกได้ ค่อนข้างแคบและชัน แต่สามารถใช้งานได้จริง เมื่อขึ้นไปบนบ้านส่วนแรกที่พบคือ ชานบ้านไม่มีหลังคา เปิดลานโล่งรับลม ใช้สำหรับนั่งกินข้าวเย็นในครอบครัว เรียกว่าการกินข้าวล่อ คือนั่งเห็นหน้าเห็นตากันระหว่างกินข้าว ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันในครอบครัว
 
คนไทยเบิ้งมักจะทำกับข้าวเย็นเพียงอย่างเดียว จากนั้นจะนำไปแบ่งญาติ ๆ อีกหลายบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนกับข้าวกัน สร้างความผูกพันระหว่างญาติพี่น้อง ปัจจุบันชาวไทยเบิ้งโคกสลุงบางส่วนออกไปรับจ้างทำงานนอกหมู่บ้าน วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนกับข้าว กินข้าวล่อ ก็เริ่มน้อยลง
 
ฝาบ้านไทยเบิ้งทำด้วยต้นคร้อซึ่งเป็นต้นปาล์มชนิดหนึ่ง มีความคงทน ใช้งานได้ถึง 20-30 ปี มี 3 ชั้น ชั้นนอกสุดทำหน้าที่รับแดดรับลมเป็นใบคร้อ ชั้นกลางเป็นแฝก ชั้นในสุดคือไม้ไผ่สับฟาก ในบ้านเป็นห้องโล่ง เจ้าของบ้านจะนำฟูก มุ้ง และหมอนนอน ไว้มุมหนึ่ง เมื่อมีแขกมาก็จะหาฟูกและมุ้งมาให้ปูนอนเพิ่ม ส่วนที่ประตูบ้านและตามฝาผนังก็แขวนเครื่องมือทำมาหากิน เช่น ไซดักปลา แห กระดึงผูกคอสัตว์ รวมถึงปืนผาหน้าไม้ที่ใช้ในการล่าสัตว์
 
เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวไทยเบิ้ง คนไทยแห่งลุ่มน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี ที่ช่วยกันอนุรักษ์และฝากมายังคนรุ่นหลังว่าอย่าลืมรากเหง้าตัวเองเบิ้ง
แผนที่ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง แผนที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง
พิพิธภัณฑ์ กลุ่ม: พิพิธภัณฑ์
คำค้นคำค้น: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง ไทยเบิ้ง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ ที่เที่ยวลพบุรี
ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด: 3 สัปดาห์ที่แล้ว


แสดงความเห็น

แสดงความเห็น




คำค้น (ขั้นสูง)
   
Email :
  รหัสผ่าน :
  สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

 

ภูมิภาค ภูมิภาคhttps://www.lovethailand.org/

https://www.lovethailand.org/อ.เมืองลพบุรี(40)

https://www.lovethailand.org/อ.พัฒนานิคม(14)

https://www.lovethailand.org/อ.โคกสำโรง(2)

https://www.lovethailand.org/อ.ชัยบาดาล(7)

https://www.lovethailand.org/อ.ท่าวุ้ง(7)

https://www.lovethailand.org/อ.บ้านหมี่(9)

https://www.lovethailand.org/อ.ท่าหลวง(2)

https://www.lovethailand.org/อ.สระโบสถ์(2)

https://www.lovethailand.org/อ.ลำสนธิ(4)