
ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง





สถานที่ท่องเที่ยวเชียงราย
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.
ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง อุทยานแห่งศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาลุ่มน้ำโขง 6 ชาติ ชื่นชมความงามตามธรรมชาติและย้อนอดีตเพื่อสัมผัสความเป็นอยู่และวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนภาคเหนือ ชาวไทยภูเขา และชนเผ่าต่างๆแห่งลุ่มแม่น้ำโขง
ตั้งอยู่ จังหวัดเชียงรายกิโลเมตรที่ 12 ของทางหลวงหมายเลข 1089 (แม่จัน - ท่าตอน) ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 36 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ จัดเป็นหมู่บ้านทางวัฒนธรรม เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นหุบเขา และลำห้วยขุนน้ำแม่จัน มีอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ ห้อมล้อมด้วยไร่ชา และสวนดอกท้อ มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขี่ช้าง นั่งเกวียน มีการแสดงของช้าง
การสาธิตต่าง ๆ เช่น การทำเครื่องเงิน เครื่องจักสาน การทำกระดาษสา การปั่นฝ้ายทอผ้า งานเย็บปักถักร้อยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และสาธิตวิธีชงชาตามแบบฉบับของยูนนาน การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากประเทศไทย ลาว จีน (ตอนใต้) พม่า เวียดนาม และกัมพูชา
การแสดงจะมีระหว่างเวลา 11.00 - 12.00 น. และ 14.00 - 15.00 น. อัตราค่าอาหารกลางวันและการแสดง
1. ค่าชมการแสดง + อาหารกลางวัน ท่านละ 200.- บาท ถึง 300.- บาท ( ขึ้นอยู่กับรายการอาหาร )
2. ค่าชมการแสดงกรณีไม่ทานอาหารกลางวัน 150.- บาท / ท่าน
3. เด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ราคาท่านละ 100.- บาท
นอกจากตระการตากับการแสดงความเป็นอยู่และศิลปวัฒนธรรมจากแคว้นสิบสองปันนา โดยคณะนักแสดงจากประเทศจีน และรำลึกอดีตสัมผัสกับความงามของธรรมชาติรายรอบอุทยานยังมี
ฆ้องชัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฆ้องชัยลานทองฯ หนักประมาณ 3 ตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ประติมากรรมร่วมสมัยแกะสลักเป็นรูปนักษัตร 12 ราศี และรูปหล่อสำริดสิงห์ 4 ทิศ จาก 4 ประเทศได้แก่ น พม่า ลาว และไทย สะท้อนถึงความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องของมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง
ลานฆ้องชัย ฆ้องชัย ตั้งตระหง่าน ณ ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เชียงราย เป็นดินแดนซึ่งพญามังราย ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1805 นับได้ 740ปี ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีน้ำโขงไหลผ่าน ดังนั้นลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
จึงได้รวบรวมเอาวัฒนธรรม ของประเทศลุ่มน้ำโขงอันได้แก่ประเทศจีนตอนใต้ เมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม เข้ามารวบไว้ เพื่อจรรโลงและรักษาวัฒนธรรมที่ดีสืบต่อไป
ลานฆ้องชัย มีลักษณะเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 80 เมตร ตรงจุดศูนย์กลางมีฆ้องชัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งเด่นเป็นสง่าตัวฆ้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร หนักประมาณ 3 ตัน มีโลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุก
ด้านหน้าแกะสลักเป็นรูปนักษัตร 12ราศี และด้านหลังเป็นรูปแผนที่ของ 6 ประเทศมีลักษณะเด่นของแต่ละประเทศมาผสมผสานกันด้านล่างบริเวณพื้นรอบลานฆ้องปูด้วยอิฐดินเผาสีแดง และยังมรใบกาสะลองแกะลงบนพื้นอิฐทุกก้อน (ต้นกาสะลองถือว่าเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย)เปรียบเสมือนว่าใบกาสะลองร่วงหล่นบนแผ่นดินเชียงราย
รายล้อมรอบฆ้อง มีรูปหล่อสิงห์เป็นงานประติมากรรม จากประเทศจีน ประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว และ ประเทศไทย ประเทศละ 1 คู่ ยืนเด่นเป็นสง่าเฝ้าฆ้องทั้ง 4 ทิศประกอบไปด้วย
รูปหล่อสิงห์ ประติมากรรมลานฆ้องรูปหล่อสิงห์ 4 ประเทศ เป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม
สิงห์ไทย ได้นำอิทธิพลของศิลปะเชียงแสนและล้านนามาสร้างเป็นผลงานประติมากรรมก่อให้เกิดรูปแบบสิงห์ที่มีลักษณะและรูปทรงและรายละเอียดขอองงานในรูปแบบร่วมสมัย โดยส่วนฐานได้จำลองสถานที่สำคัญของประเทศไทย อันได้แก่ พระปรางวัดอรุณราชวราราม ยักษ์วัดโพธิ์ ยักษ์วัดแจ้ง และแม่น้ำเจ้าพระยา
สิงห์จีน ได้นำเอารูปสิงห์ด้านหน้าพระราชวัง ณ กรุงปักกิ่งมาสร้างสรรค์เป็นผลงานประติมากรรมซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบสิงห์ที่มีลักษณะและรูปทรงและรายละเอียดของงานในรูปแบบร่วมสมัยโดยส่วนฐานได้จำลองสถานที่สำคัญของประเทศจีน เช่นป่าหินแห่งคุณหมิง และกำแพงเมืองจีน
สิงห์เมียนมาร์ ได้นำเอารูปแบบสิงห์มาจากประตูทางเข้าวัดชะเวดากอง นครแห่งจักรวาล ได้นำมาสร้างสรรค์ โดยเป็นผลงานประติมากรรมก่อให้เกิดรูปแบบสิงห์ที่มีลักษณะรูปทรงและรายละเอียดของงานในรูปแบบร่วมสมัยโดยส่วนฐานได้จำลองสถานที่สำคัญของประเทศเมียนมารือันได้แก่เจดีย์ชะเวดากอง
สิงห์ลาว ได้นำรูปแบบสิงห์ที่ใช้ในการประกอบพิธีแห่มหาสงกรานต์ในเมืองหลวงพระบาง มาสร้างสรรค์เป็นผลงานประติมากรรมก่อให้เกิดรูปแบบสิงห์ที่มีลักษณะรูปทรงและรายละเอียดของผลงานในรูปแบบร่วมสมัยโดยส่วนฐานได้จำลองสถานที่สำคัญของประเทศลาว คือวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง ปู่เย ย่าเย สิงห์ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวลาวว่าเป็นผู้ที่นำสิ่งที่ดีงามมาจากสวรรค์มาอวยพรในวันสงกรานต์







แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage