
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: วันอังคาร - วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์)
เวลาเปิดทำการ: 10.00 - 21.00 น.
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้เริ่มขึ้นจาก ดร.พิจิตต รัตตกุล ที่เป็นผู้ว่าราชการในสมัยนั้น ซึ่งมีมติให้กรุงเทพมหานครจัดร้างหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากล และเป็นหน้าเป็นตากับประเทศรวมทั้งเพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม
แต่โครงการก็ต้องมาสะดุดลงเมื่อมีการล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบเดิม และเปลี่ยนให้เป็นอาคารพาณิชย์ พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงทุน มาเป็นให้เอกชนสร้างองค์กรด้านศิลปะ จนศิลปิน อาจารย์ นักศึกษาและสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินการคัดด้านเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ทบทวนโครงการ
จนกระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือและได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้าง นับเป็นเวลาถึง 10 ปีกว่าที่หอศิลป์แห่งนี้จะสำเร็จลุล่วงได้
การแสดงผลงาน แบ่งการจัดแสดงออกเป็นทั้งหมด 9 ชั้น คือ
ชั้น 1 การออกร้านจากสถาบันการศึกษาทางศิลปะและดนตรีชั้นนำ
ชั้น 2 ร้านหนังสือที่คัดสรรพิเศษและแตกต่าง รวมทั้งหนังสือหายาก หนังสือทำมือ และภาพยนตร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันโดยหอภาพยนตร์แห่งชิตและมูลนิธิ
ชั้น 3 งานหัตถกรรมจากโครงการในพระราชดำริ
ชั้น 4 จัดแสดงภาพถ่ายของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศ และทัศนศิลป์ร่วมสมัยจากกลุ่มแกลลอรี่ชั้นนำ
ชั้น 5 สำหรับการประชุม ฉายภาพยนตร์, อบรม, เสวนา, การแสดงดนตรี, ละครเวที และการแสดงต่าง ๆ
ชั้น 7-9 ที่จัดแสดงงานทัศนศิลป์
ที่ตั้ง ตรงข้ามห้างมาบุญครองและสยามดิสคัฟเวอรี่ การเดินทางที่ง่ายที่สุดก็คือขึ้นรถไฟฟ้าแล้วมาลงที่สถานีสนามกีฬา ก็สามารถเดินทางเชื่อมมายังหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครได้เลย
แนวความคิดในการออกแบบห้องจัดนิทรรศการของที่นี่จะเน้นความยืดหย่อน ความหลากหลาย และความน่าสนใจของห้องแสดงงานศิลปะ ห้องแสดงงานศิลปะของที่นี่ จึงสามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดความหลากหลายด้านพื้นที่และลักษณะรูปแบบในการแสดงผลงานด้านศิลปะ






แสดงความเห็น

อัลบั้มรูป(9) 

![]() |
● ช่างภาพ: Dear2006 ● ลิงค์: dear2006.multiply.com ● ที่มา: pixpros.net |
● ลิขสิทธิ์ภาพเป็นของช่างภาพ (800*500)
● ดูภาพขนาดเต็มได้จากแฟนเพจของช่างภาพ
● ดูภาพขนาดเต็มได้จากแฟนเพจของช่างภาพ
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage