
ตลาดพาหุรัด




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: วันจันทร์ - วันเสาร์
เวลาเปิดทำการ: 09.00 - 16.30 น.
ถนนพาหุรัด เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบ้านหม้อ (สี่แยกบ้านหม้อ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนตรีเพชร (สี่แยกพาหุรัด) จนถึงถนนจักรเพชร
ถนนพาหุรัด นั้นเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ โดยทรงให้สร้างขึ้นโดยทรงใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาซึ่งนั้นได้ประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และได้สิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 10 ปี จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลพระราชทานและพระราชทานนามถนนว่า "ถนนพาหุรัด"
ทุกวันนี้ถนนพาหุรัด นั้นเป็นย่านที่มีสินค้าที่มีให้เลือกสรรอย่างมากมายและหลากหลายทั้งผ้าตัด มีอุปกรณ์ตัดเย็บ รวมไปถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสารพัดชาติ มีทั้งชุดไทย-การแสดงนาฎศิลป์ ชุดจีน โดยเฉพาะส่าหรี ซึ่งนอกจากนี้พาหุรัดยังมีชุมชนเล็กๆที่ยังคงดำเนินวิถีแบบภารตะอยู่ จึงทำให้หลาย ๆ คน ขนานนามย่านพาหุรัด ว่าเป็น “ลิตเติ้ล อินเดีย” เมืองไทย
สถานที่สำคัญในบริเวณนั้น จะมีวัดคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา (วัดซิกข์) ซึ่งเป็นวัดซิกข์แห่งแรกของไทย และยังห้างไชน่า เวิลด์ (เดิมชื่อห้างเซ็นทรัลวังบูรพา) มีห้างดิโอลด์สยามพลาซ่า และห้างอินเดีย เอ็มโพเรียม (เดิมชือห้างเอทีเอ็ม)
พื้นที่ของตลาดพาหุรัดนั้นมีบริเวณกว้างจรดถนนหลายสาย แต่ส่วนที่เป็นตัวตลาดจริงนั้นจะอยู่ใจกลางของพื้นที่ โดยในส่วนนี้จะเป็นตลาดเก่า โดยรอบจะเป็นร้านค้า อาคารพาณิชย์มีของขายหลายอย่างทั้งเสื้อผ้า มีเครื่องแต่งตัวอาหารและของใช้ต่างๆ ส่วนมากจะเป็นของพวกแขก หรือเป็นย่านลิดเติ้ลอินเดียของกรุงเทพฯ
ตลาดพาหุรัด ตลาดในกรุงเทพ ที่เที่ยวกรุงเทพ เป็นย่านที่ขึ้นชื่อในเรื่องผ้า มีผ้ามากมายหลากหลายชนิดให้ได้เลือกสรร อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของชุมชนอินเดีย โดยถือได้ว่าเป็นย่านที่มีเสน่ห์เต็มไปด้วยสีสันที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเที่ยวกรุงเทพมหานคร ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนพาหุรัดนับว่าเป็นถนนสายสำคัญรองลงมาจากถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร นั้นเพราะเป็นย่านที่ติดต่อค้าขายกันเป็นส่วนมาก โดยในสมัยกรุงธนบุรีได้มีพวกญวนมาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ ซึ่งญวนได้อพยพมาครั้งเมื่อเกิดการจลาจลวุ่นวายในเมืองเว้ พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ให้รับไว้แล้วพระราชทานที่ให้พักอาศัย คือที่แถวพาหุรัดในปัจจุบัน
ซึ่งแต่ก่อนนั้นจะเรียกว่าบ้านญวนหรือถนนบ้านญวน จนกระทั่งสร้างถนนพาหุรัดแล้วจึงเปลี่ยนชื่อมาเรียกว่าพาหุรัดตามชื่อถนน แต่ด้วยเหตุที่สร้างถนนพาหุรัด ประกอบกับเนื่องมาจากเกิดเพลิงไหม้บ้านญวนตำบลบ้านหม้อ โดยในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ทำให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้นจำนวนมาก จึงได้ตัดถนนขึ้นที่ตรงนั้นและนับว่าเป็นถนนที่กว้างคือกว้าง ถึง 20 เมตร มีความยาวตั้งแต่ถนนบ้านหม้อถึงถนนจักรเพชรเป็นระยะทาง 525 เมตร และที่ใช้ชื่อว่า ถนนพาหุรัด แต่เนื่องจากต้องการตั้งขึ้นก็เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตรนริศราชกุมารี ซึ่งเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนารถ ในรัชกาลที่ 5
โดยตรงปลายที่ถนนพาหุรัดมาบรรจบกับถนนจักรเพชรนั้น ปัจจุบันนี้มีตรอกหนึ่งซึ่งจะเข้าไปสู่สะพานหัน ซึ่งตรอกนี้ตั้งชื่อใหม่ว่า วานิช 1 บริเวณนี้เรียกว่าตลาดสะพานหัน โดยพื้นที่ของตลาดพาหุรัดมีบริเวณกว้างจรดถนนหลายสาย แต่ส่วนที่เป็นตัวตลาดจริงนั้นจะอยู่ใจกลางของพื้นที่ ซึ่งถือเป็นส่วนของตลาดเก่า โดยรอบ ๆ นั้นจะเป็นร้านค้า และอาคารพาณิชย์มีของขายหลายอย่างทั้งเสื้อผ้า มีเครื่องแต่งตัวอาหาร และของใช้ต่าง ๆ โดยส่วนมากจะเป็นของพวกแขก หรือเป็นย่านลิดเติ้ลอินเดียของกรุงเทพฯ





แสดงความเห็น
วันนี้ทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนไป ทางเจ้าของสถานที่ ซึ่งก็คือวัดราชบูรณะ หรือวัดเลียบ กำลังจะทวงคืนทรัพย์สินนี้ เพื่อที่จะปรับปรุงให้เป็นตึกแถวสำหรับทำการค้า สิ่งที่ทางวัดบอกกล่าวกับผู้ค้ารายเดิมก็คือ การปรับปรุงพื้นที่นี้ ไม่ได้หวังผลกำไร ค่าใช้จ่ายที่จะคิดกับผู้เช่าจะเป็นแค่ ค่าก่อสร้างทั้งหมด หารด้วย จำนวนแผงร้านค้าที่มีประมาณ 500 กว่าร้าน
ตลาดพาหุรัด เป็นย่านการค้าของชาวอินเดีย เป็นแหล่งจำหน่ายผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ นอกจากนี้ยังมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นชุดไทย, ชุดจีน หรือชุดส่าหรี, สินค้าเกี่ยวกับงานแต่งงาน อาทิ การ์ดเชิญ, ของชำร่วย
ตอนตี 3-4 ครับ จะถูกมาก เพราะแม่ค้าพ่อค้าเยอะมาก แต่พอตอนสายแม่ค้าพ่อค้าจะลดลง โดนไล่ที่จาก กทม.

อัลบั้มรูป(18) 

![]() |
● ช่างภาพ: RBJ ● ลิงค์: rbj.photo.multiply.com ● ที่มา: pixpros.net |

![]() |
● ช่างภาพ: โฟโต้ออนทัวร์ ● ที่มา: photoontour9.com |

![]() |
● ช่างภาพ: lotslikelove ● ที่มา: oknation.net |
● ลิขสิทธิ์ภาพเป็นของช่างภาพ (800*500)
● ดูภาพขนาดเต็มได้จากแฟนเพจของช่างภาพ
● ดูภาพขนาดเต็มได้จากแฟนเพจของช่างภาพ
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage