
แม่น้ำเจ้าพระยา




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
แม่น้ำเจ้าพระยา นั้นเป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย โดยเกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสาขาหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ซึ่งจะมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจะเห็นความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน คือ แม่น้ำน่านจะมีสีค่อนข้างแดง ส่วนแม่น้ำปิงมีสีค่อนข้างเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อย ๆ และรวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่
ล่องเจ้าพระยา ด้วยเรือด่วน จากท่าน้ำ จ. นนทบุรี ถึงท่าน้ำวัดราชสิงขรในสมัยอยุธยาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายหลักจากอยุธยาสู่ปากอ่าวไทย ช่วงโค้งน้ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลเลียบผ่านเขตกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน หรือที่เรียกว่า " เกาะรัตนโกสินทร์ " ซึ่งสถาปนาในรัชกาลที่1 พ.ศ. 2325
โดยมีพระบรมมหาราชวัง และวัดพระแก้วอันงามสง่าเป็นสัญลักษณ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งฝั่งตรงข้ามเป็นที่ตั้งของพระราชวังเดิมสมัยธนบุรี และวัดอรุณราชวราราม โดยเป็นสถานที่สำคัญที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวต่างประเทศตลอดสายน้ำเจ้าพระยาทางนี้มีท่าเรือหลายแห่งให้แวะขึ้นไปเดินชม มีทั้งตลาดดั้งเดิมคู่กรุงเทพฯ เช่น ตลาดดอกไม้ ผักผลไม้ ไม้ดอก และไม้ประดับ
รวมทั้งแหล่งอาหารและแหล่งจับจ่ายที่ได้สัมผัสสีสันวิถีชีวิตของคนกรุงเทพ ฯ ได้ตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงยามค่ำคืน หรือจะชมทิวทัศน์ของสถาปัตยกรรมทางน้ำ ทั้งโบสถ์ฝรั่ง มัสยิด วังเจ้านาย บ้านโบราณของคหบดี บริษัทห้างร้านของชาวตะวันตกที่แทรกสลับด้วยอาคารสำนักงานหรูทันสมัย ที่สะท้อนการผสมผสานสองบุคลิกของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทั้งมหานครแห่งความทันสมัยและศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ
นอกจากการนั่งเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำแล้ว จุดที่แนะนำให้แวะขึ้นไปเดินเที่ยว ได้แก่ ปากคลองตลาด แหล่งขายส่งดอกไม้ และพืชผักผลไม้แห่งใหญ่ เทเวศร์ แหล่งขายต้นไม้และย่านอาหารอร่อย
แต่ที่ไม่ควรพลาดคือ การเดินชมย่านไชน่าทาวน์เยาวราช จากท่าน้ำราชวงศ์เดินเลียบไปตามถนนราชวงศ์เข้าสู่ย่านไชน่าทาวน์ริมถนนเยาวราช แวะเข้าไปนั่งดื่มน้ำชา กาแฟที่ร้านกาแฟโบราณ หรือชิมอาหารจีนในภัตตาคารรุ่นแรก ๆ ของเยาวราชบนถนนพาดสาย หากมีเวลาอาจเดินต่อไปทางสำเพ็งและพาหุรัด หรือ ลิตเติ้ลอินเดีย แหล่งขายผ้า อาหาร และเครื่องเทศแบบอินเดีย
อีกแหล่งที่ไม่ควรพลาดคือ ท่าพระอาทิตย์ ยามเย็นเดินชมอาคารเก่าริมแม่น้ำตามเส้นทางเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาสุดทางที่สวนสันติชัยปราการ ภายในสวนมีพระที่นั่งสันติชัยปราการริมน้ำไม่ไกลจากพระที่นั่งมีต้นลำพูต้นสุดท้ายของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "บางลำพู" ภายในบริเวณยังเป็นที่ตั้งของป้อมพระสุเมรุ ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ป้อมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ที่เหลืออยู่
เรือโดยสารของ บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา บริการทุกวันจากท่าวัดราชสิงขรถึงท่าน้ำนนทบุรี (ในช่วงเวลาเร่งด่วนไปท่าเรือปากเกร็ด) เที่ยวแรก เวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย เวลา 18.40 น.
แม่น้ำและลำคลองน้อยใหญ่ล้วนมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของทุกชีวิต เป็นแหล่งน้ำใช้อุปโภคบริโภคและการเกษตร ในอดีตใช้เป็นเส้นทางคมนาคม และยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทยในปัจจุบัน มีคลองหลายแห่งที่ขุดขึ้นเพราะเหตุผลนี้ จำนวนคลองที่มากมายนั้นทำให้เราได้รับการขนานนามว่าเป็น "เวนิสตะวันออก"
ตลอดทางของแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจมากมาย ท่านจะได้ชมวิถีชีวิตของชาวบ้านริมน้ำ ไม่ว่าจะเป็นบ้านของชาวบ้านหรือความรู้ในประวัติของสิ่งปลูกสร้างบริเวณนั้น นอกจากนี้ท่านจะได้เห็นทุ่งนาที่มีต้นข้าวเขียวขจีตัดกับโรงงานอุตสาหกรรมสูงๆ ดึงดูดใจของสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา




แสดงความเห็น
ไปเรือด่วนตรงสะพานตากสินก็ได้ค่ะ มีพาทัวร์รอบ ๆ สถานที่สำคัญใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมบรรยาย ไทยและอังกฤษ
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

อัลบั้มรูป(15) 

![]() |
● ช่างภาพ: Pornpisanu Poomdee ● ลิงค์: pixpros.net ● ที่มา: flickr.com/photos/demio5100 |

![]() |
● ช่างภาพ: Nutthavood Punpeng ● ลิงค์: facebook.com/Nutexzles ● ที่มา: 87davis.com |

![]() |
● ช่างภาพ: Thanipat Peeramatukorn ● ลิงค์: facebook.com/thanipat.peeramatuko ● ที่มา: thanipat.tumblr.com |

![]() |
● ช่างภาพ: Noppadol Wongtrangan ● ลิงค์: flickr.com/larhalt ● ที่มา: pixpros.net |

![]() |
● ช่างภาพ: Joseph Benchapol ● ลิงค์: facebook.com/Jotahito ● ที่มา: 500px.com/jotahito |
● ลิขสิทธิ์ภาพเป็นของช่างภาพ (800*500)
● ดูภาพขนาดเต็มได้จากแฟนเพจของช่างภาพ
● ดูภาพขนาดเต็มได้จากแฟนเพจของช่างภาพ
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage