หอสมุดแห่งชาติ

หอสมุดแห่งชาติ

หอสมุดแห่งชาติ

ประชากร จำนวน: 18507 คน  Share Facebook  
แผนที่ แผนที่ แผนที่ มีแผนที่ มีแผนที่ ไม่มีแผนที่ ไม่มีแผนที่

สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

เปิดให้บริการ: วันจันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 18.30 น.
เปิดให้บริการ: วันเสาร์ อาทิตย์ เปิด 9.00 – 17.00 น.
 
หอสมุดแห่งชาติ ที่เที่ยวกรุงเทพ ปัจจุบันของไทย นั้นสถาปนาขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระมหากษัตราธิราชในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยการรวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณ และหอพุทธสาสนสังคหะเข้าด้วยกัน โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชโองการประกาศจัดการ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้เป็น หอสมุดสำหรับพระนคร ขึ้นเมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม พุทธศักราช 2448 และได้วิวัฒนาการเป็นสำนักหอสมุดแห่งชาติปัจจุบัน
 
หอพระสมุดวชิรญาณ เดิมตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่ข้างนอกประตูพิมานไชยศรี คือศาลาสหทัยสมาคม แต่การบริหารและการให้บริการของหอพระสมุดเป็นสมาคม และเป็นสโมสรสำหรับสมาชิกเท่านั้น ในปีพุทธศักราช 244๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปได้เสด็จทอดพระเนตรกิจการหอสมุดแห่งชาติอังกฤษและหอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส
 
เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร มีพระราชดำริว่า หอพระสมุดวชิรญาณที่ทรงร่วมกันจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นหอพระสมุดสำหรับราชสกุล แม้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในทางวิชาการความรู้ยังไม่กว้างขวาง เพราะส่วนมากเป็นสมาชิกและอยู่ในวงแคบ หากขยายกิจการหอพระสมุดออกไปให้เป็น หอสมุดสำหรับพระนคร เพื่อพสกนิกรจะได้แสวงหา ประโยชน์ต่างๆจะได้จากการอ่านหนังสือ คงจะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นสมตามพระราชประสงค์ที่จะทรงเฉลิมพระเกียรติยศสนองพระเดชพระคุณ
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ ขึ้นเป็นหอสมุดสำหรับพระนครขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2448 และพระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร โดยตามพระสมณนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในขณะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร นั้นเป็นสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครได้พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ โดยเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯให้ย้ายหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร มาไว้ที่ตึกใหญ่บริเวณริมถนนหน้าพระธาตุซึ่งเรียกว่าตึกถาวรวัตถุ และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2459
 
กิจการของหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับโดยได้มีการรวบรวมหนังสืออันมีค่ายิ่งของประเทศไว้ได้เป็นจำนวนมาก และยังได้วางรากฐานการจัดห้องสมุดตามมาตรฐานสากลหลายประการ เช่น ทำบัตรรายการค้นหนังสือ, การจัดหมวดหมู่หนังสือ, ทำบรรณานุกรม และการจัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณค่าต่างๆ จำนวนมาก เป็นต้น
 
ใน ปีพุทธศักราช 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯให้แยกหอพระสมุด วชิรญาณสำหรับพระนครออกเป็น 2 หอ คือ หอพระสมุดวชิราวุธ ตั้งอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุเช่นเดิมให้เป็นที่เก็บหนังสือฉบับพิมพ์และ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวเขียนและตู้พระธรรม
 
ปีพุทธศักราช 2476 รัฐบาลจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นและมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกำหนดให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร มีฐานะเป็นกองหนึ่งในกรมศิลปากรเรียกว่า กองหอสมุดและได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็นหอสมุดแห่งชาติในเวลาต่อมา หอสมุดแห่งชาติได้พัฒนากิจการเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับมี ผู้ใช้บริการจำนวนมากจนถึง พุทธศักราช 25๐5
 
รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติซึ่งเป็นอาคารทรงไทย สูง 5 ชั้นขึ้น ที่บริเวณท่าวาสุกรี ถนนสามเสน และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 25๐9 สำนักหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเป็นอาคารทรงไทย 5 ชั้น บนเนื้อที่ประมาณ 17 ไร่ โดยในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
เว็ปไซต์ เว็ปไซต์: www.nlt.go.th
โทร โทร: 022815212, 022815313
แฟกซ์ แฟกซ์: 022815449
แผนที่ หอสมุดแห่งชาติ แผนที่หอสมุดแห่งชาติ
ห้องสมุด กลุ่ม: ห้องสมุด
คำค้น คำค้น: หอสมุดแห่งชาติหอสมุดแห่งชาติ หอสมุด ที่เที่ยวกรุงเทพ
ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด: 2 สัปดาห์ที่แล้ว


แสดงความเห็น

แสดงความเห็น





คำค้น (ขั้นสูง)
     
Email :
  รหัสผ่าน :
  สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

 

ภูมิภาค ภูมิภาคhttps://www.lovethailand.org/

https://www.lovethailand.org/อ.พระนคร(163)

https://www.lovethailand.org/อ.ดุสิต(15)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองสาน(10)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองเตย(10)

https://www.lovethailand.org/อ.จตุจักร(14)

https://www.lovethailand.org/อ.ดอนเมือง(1)

https://www.lovethailand.org/อ.ตลิ่งชัน(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ธนบุรี(11)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกอกน้อย(15)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกอกใหญ่(13)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกะปิ(13)

https://www.lovethailand.org/อ.บางขุนเทียน(6)

https://www.lovethailand.org/อ.บางเขน(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางคอแหลม(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางซื่อ(2)

https://www.lovethailand.org/อ.บางพลัด(5)

https://www.lovethailand.org/อ.บางรัก(22)

https://www.lovethailand.org/อ.จอมทอง(3)

https://www.lovethailand.org/อ.บึงกุ่ม(7)

https://www.lovethailand.org/อ.ประเวศ(9)

https://www.lovethailand.org/อ.ปทุมวัน(33)

https://www.lovethailand.org/อ.ป้อมปราบศัตรูพ่าย(10)

https://www.lovethailand.org/อ.พญาไท(7)

https://www.lovethailand.org/อ.พระโขนง(4)

https://www.lovethailand.org/อ.ภาษีเจริญ(4)

https://www.lovethailand.org/อ.มีนบุรี(10)

https://www.lovethailand.org/อ.ยานนาวา(3)

https://www.lovethailand.org/อ.ราชเทวี(17)

https://www.lovethailand.org/อ.ลาดกระบัง(1)

https://www.lovethailand.org/อ.หนองจอก(7)

https://www.lovethailand.org/อ.สาทร(4)

https://www.lovethailand.org/อ.สัมพันธวงศ์(10)

https://www.lovethailand.org/อ.หนองแขม(1)

https://www.lovethailand.org/อ.ห้วยขวาง(9)

https://www.lovethailand.org/อ.สวนหลวง(8)

https://www.lovethailand.org/อ.ดินแดง(4)

https://www.lovethailand.org/อ.หลักสี่(2)

https://www.lovethailand.org/อ.คันนายาว(3)

https://www.lovethailand.org/อ.สะพานสูง(4)

https://www.lovethailand.org/อ.วังทองหลาง(2)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองสามวา(5)

https://www.lovethailand.org/อ.วัฒนา(14)

https://www.lovethailand.org/อ.ทวีวัฒนา(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางแค(2)

https://www.lovethailand.org/อ.ทุ่งครุ(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางบอน(1)