
ทีเค พาร์ค อุทยานการเรียนรู้




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วิสัยทัศน์ ร่วมสร้างสรรค์สังคมการเรียนรู้ ที่เที่ยวกรุงเทพ
พันธกิจ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ร่วมสร้างสรรค์สังคมการเรียนรู้ โดยการสร้างทัศนคติและนิสัยรักการอ่าน การคิด และการแสวงหาความรู้ในกลุ่มเด็กและเยาวชน
วัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กร
1. เป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่เน้นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการแสวงหาความรู้ในบรรยากาศการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ทันสมัย
2. ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีนิสัยรักการอ่าน การแสวงหาความรู้และการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตลอดชีวิต
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนมีโอกาสพัฒนา แลกเปลี่ยนและแสดงผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถสร้างนวัตกรรม ผลผลิตหรือชิ้นงานจากการผสมผสานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ค่านิยมหรือวิถีชีวิต นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลาย
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจในการสร้างทัศนคติและนิสัยรักการอ่าน การคิด และการแสวงหาความรู้ โดยเปิดบริการ “อุทยานการเรียนรู้” เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2548
เพื่อเสริมสร้างความรู้และพัฒนาความคิด ผ่านกระบวนการส่งเสริมการรักการอ่าน การแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้มีคุณภาพ อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ มีบทบาทในการเสริมสร้างปัญญาและเตรียมความพร้อมแก่เยาวชน รวมถึงการสร้างสรรค์และจุดประกายความคิด ปลูกต้นไม้แห่งปัญญาให้งอกงาม โดยมีภารกิจได้แก่
1. การพัฒนาองค์ความรู้ สร้างต้นแบบและให้บริการแหล่งเรียนรู้ โดยพัฒนาต้นแบบแหล่งเรียนรู้ที่เน้นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ในบรรยากาศการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ทันสมัย ในรูปแบบ “ห้องสมุดมีชีวิต” รูปแบบต่าง ๆ
ได้แก่ อุทยานการเรียนรู้ต้นแบบและบริการ (TK park) ณ อาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 8 พื้นที่สำหรับเยาวชนและผู้มีใจรักการเรียนรู้ โดยส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงระหว่าง หนังสือ ดนตรีและสื่อมัลติมีเดีย
เป็นพื้นที่แห่งการแสดงออกทุกพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน อุทยานการเรียนรู้ภูมิภาคต้นแบบ คือ อุทยานการเรียนรู้ ยะลา เป็นแม่ข่ายในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต แบ่งปัน และกระจายโอกาสในการเข้าถึงการอ่านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในภาคใต้
โดยเน้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล ศูนย์การเรียนรู้มีชีวิตต้นแบบในท้องถิ่น แบ่งเป็น 4 ขนาด ดังนี้ ระดับจังหวัด ขนาดพื้นที่ประมาณ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป
โดยร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนครหรือเทศบาลเมือง สำหรับประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ และจังหวัดใกล้เคียง ระดับตำบล ร่วมมือกับเทศบาลตำบล ขนาดพื้นที่ประมาณ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป
เพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลและการเรียนรู้ให้กับชุมชนและท้องถิ่นใกล้เคียง ห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียนปรับห้องเรียนเป็นห้องสมุดมีชีวิตสำหรับนักเรียนในโรงเรียนและเครือข่าย รวมทั้งชุมชนโดยรอบ ขนาดพื้นที่ 105-150 ตร.ม. (1-3 ห้องเรียน) และห้องสมุดเด็กไทยคิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุดประชาชน เป็นต้น ขนาดพื้นที่ 50-150 ตร.ม.
2. การพัฒนาต้นแบบแหล่งเรียนรู้บนโลกไซเบอร์ ในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้เสมือน (Digital TK ) www.tkpark.or.th เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดทำระบบข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อกระจายความรู้
ที่สามารถเข้าถึงได้จากทุกพื้นที่ในประเทศไทย ด้วยเนื้อหาสาระความรู้หลากหลายแขนง รวมถึงหนังสือออนไลน์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หนังสือเสียง และ e-Learning เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าใช้บริการและร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน “ชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์”
3. พัฒนากิจกรรมต้นแบบในการส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้สำหรับเยาวชน เพื่อกระตุ้นและจุดประกายให้เยาวชนค้นพบความถนัด ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
กิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต และกิจกรรมส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้พัฒนาศักยภาพ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเผยแพร่ผลงานจากความคิดสร้างสรรค์สู่สังคม
4. การขยายผลเพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์เนื้อหาสาระ การสร้างแรงบันดาลใจและถ่ายทอดองค์ความรู้การบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิตและความรู้ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อจุดประกายความคิด
อาทิ วิจัยพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาสาระ (Content) โดยรวบรวมองค์ความรู้ที่มีความเป็นไทยอันทรงคุณค่ามาจัดทำเป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการของเด็กและเยาวชน ได้แก่ ชุดนิทานและวรรณกรรมเยาวชนพื้นบ้าน ชุดเกมสร้างสรรค์
การจุดประกายและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิตและองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาวิชาการ การอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต และการอบรมบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน





แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage