
มัสยิดรีอายะตุ้ลกอดีรี





สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
มัสยิดรีอายะตุ้ลกอดีรี ที่เที่ยวกรุงเทพ มัสยิดในกรุงเทพ ย้อนหลังไปประมาณ 90 ปีเศษ นับแต่ ปี พ.ศ.2456 ก่อนจะเป็น “อนุสรณ์ตระกูลกอดีรี” ต้องระลึกถึงบรรพบุรุษของเรา คือ ต่วนฮัจยีหวัง กอดีรี หรือครูหวัง กอดีรี ซึ่งเป็นผู้จุดประกายก่อกำเนิด “อนุสรณ์ตระกูลกอดีรี” ขึ้น ครูหวังได้ร่วมกับที่น้องมุสลิมจำนวนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการสร้าง “บาแล” เพื่อเป็นสถานที่ละหมาดญะมาอะห์ และเป็นที่สอนศาสนามีความยาว 8 เมตร กว้าง 6 เมตร หลังคามุงจาก โดยมีคณะผู้บริหารชุดแรก ได้แก่ 1. ต่วนฮัจยีหวัง กอดีรี 2. โต๊ะเยาะห์เด็ง นิซู 3. โต๊ะหมอนิล มูเราะห์ 4. โต๊ะกีมะห์ ขำกา 5. แชเล็ก วังหิตัง 6. โต๊ะกีเลาะห์ 7. ผู้ใหญ่เก็บ ขำทอง 8. นายแอ มาสะและ 9. นายหมัด มหิศวร
ท่านเหล่านั้นได้สละกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์จัดสร้างโรงเรียนสอนศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยความห่วงใยแก่บรรดาบุตรหลานและพี่น้องมุสลิมเราเป็นสำคัญ
ต่อมาเมื่อผู้บริหารชุดแรกได้สิ้นสุดลง คณะผู้บริหารชุดที่ 2 เข้ารับหน้าที่ในการบริหารต่อโดยคณะผู้บริหารมีดังนี้ 1. โต๊ะเยาะห์เด็ง นิซู 2. ผู้ใหญ่เก็บ ขำทอง 3. นายหมัด มหิศวร 4. นายสุไลมาน สมานเพ็ชร 5. ต่วนฮัจยีฮารูณ ศรีมาลา 6. นายหวังเซ็มวังหิตัง 7. ฮัจยีอับดุลมุดตอเล็บ กอดีรี 8. นายแอ มาสะและ 9. ครูหมัด พงษ์ธีรวัฒน์ 10. นายจำรัส มูเราะห์ 11. ผู้ใหญ่ประกอบ ขำทอง และ 12. คุณครูมูเราะห์ ขำกา และคุณครูเราะห์ ขำกา เป็นครูผู้อบรมและทำการสอนในด้านวิชาการศาสนาด้วย
ในปี พ.ศ.2498 โต๊ะปุก นิซู ได้วะกัฟที่ดิน ซึ่งมีจำนวน 2 ไร่เศษ ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่สร้างบาแล เพื่อให้เป็นสาธารณะประโยชน์ในกิจกรรมศาสนาอิสลาม โดยคณะผู้บริหารดังกล่าวจึงได้ร่วมประชุมปรึกษาหรือกันและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ย้ายบาแลไปก่อสร้างบนที่ดินของโต๊ะปุก นิซู เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้วะกัฟ โดยในการย้ายครั้งนั้นได้รับความร่วมมือจากปวง สัปบุรุษที่ช่วยกันรื้อถอนและปลูกสร้างจนแล้วเสร็จในปีนั้นเอง อีกพร้อมกันนี้โต๊ะเยาะห์เด็ง นิซู ซึ่งเป็นสามีของโต๊ะปุก นิซู ได้วะกัฟที่ดินให้อีกจำนวน 2 แปลง เนื้อที่รวม 49 ไร่เศษอีกด้วย
ต่อจากนั้นอีกประมาณ 2 ปีเศษ โดยมีคณะผู้บริหารชุดที่ 2 นี้ ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะสร้างมัสยิดต่อไป ซึ่งในที่ประชุมจึงได้ร่วมกันพิจารณาอยู่นานพอสมควร และได้ลงมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรให้สร้างมัสยิดขึ้น โดยการดำเนินการก่อสร้างอาคารมัสยิดครั้งนี้มีปัญหาอุปสรรคพอสมควร
เนื่องจากงบประมาณการก่อสร้างมีไม่เพียงพอ แม้จะได้รับความร่วมมือจากปวงสัปบุรุษบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับงบประมาณการก่อสร้าง ดังนั้น คุณครู มูเราะห์ ขำกา ฝ่ายวิชาการด้านศาสนา ได้ออกไปพบปะพี่น้องมุสลิมในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อบอกบุญแก่ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์สมทบทุนในการก่อสร้างมัสยิดให้แล้วเสร็จ และพร้อมกันนั้นก็ได้รับความอนุเคราะห์จากโต๊ะเยาะห์ฮีม อัสซาลาม โต๊ะยีมะห์ คลอง 14 และฮัจยีอับดุลเลาะห์ พงษ์พิบูล กับฮัจยะห์เหรี่ยม พงษ์พิบูล (สกุลเดิมกอดีรี) ชาวบางลำภู ได้ร่วมกันบริจาคเงินเป็นจำนวนมาก
จึงทำให้การดำเนินงานการก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือและเสียสละกำลังกายจากปวงสัปบุรุษของมัสยิดเป็นอย่างดียิ่งในการก่อสร้างอาคารมัสยิดโดยมิได้เสียค่าแรงงานการก่อสร้างแต่อย่างใด และยิ่งไปกว่านั้นชาวบ้านอีกจำนวนไม่น้อยรับบริการจัดเลี้ยงอาหารวันละสองเวลาโดยสลับกันไป การกระทำดังกล่าวเป็นความปราบปลื้มใจเป็นอย่างมากที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีตลอดมา
เมื่อสร้างมัสยิดแล้วเสร็จ มีผู้มีจิตรศรัทธาร่วมกันบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เรือหาง (เรือเครื่องวางท้าย) 1 ลำ ถาดตับซี และถ้วยจานกระเบื้องอีกจำนวนมาก เพื่อใช้ในงานบุญต่างๆ รวมทั้ง สร้างเขื่อนคอนกรีตตลอดแนวที่ดินวะกัฟด้านคลองเนื่องเขตอีกด้วย หลังจากนั้นอีกไม่นาน คณะผู้บริหารได้ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนมัสยิด แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา





แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage