
มัสยิดฟัตฮุ้ลบารี





สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
มัสยิดฟัตฮุ้ลบารี ที่เที่ยวกรุงเทพ บ้านเลขที่ 87 ซอยถนนศรีนครินทร์ ถนนศรีนครินทร์ ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ มัสยิดในกรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10240 ได้จดทะเบียนเป็นมัสยิดนิติบุคคลเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2497 ซึ่งเดิมมีชื่อว่า มัสยิดอัลฟัตฮุ้ลบารี โดยต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น มัสยิดฟัตฮุ้ลบารี ในเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2526 อิหม่ามท่านแรก และเป็นผู้ก่อตั้งคือ นายฮัจยี ฮาซัน บุญมาเลิศ
โดยต่อมาในปีพ.ศ. 2524 ได้แต่งตั้งให้นายสมบูรณ์(มักซู้ด) บุญมาเลิศ ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน และเมื่อนายวิโรจน์(นาอีม) บุญมาเลิศ นั้นสำเร็จการศึกษาจากประเทศคูเวตในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงค์ตำแหน่งอิหม่ามจนถึงปัจจุบัน โดยมีนายสุพล(ซากีรีน) บุญมาเลิศ ซึ่งสำเร็จการศึกษามาจากประเทศอียิป เป็นคอเต็บ, และนายกิตติศักดิ์(บุรฮาน) บุญมาเลิศ เป็นบิหลั่น, สัปบุรุษมัสยิดนี้มีจำนวนชายหญิงทั้งหมดรวม 550 คน โดยแบ่งออกเป็น 154 ครอบครัว ทั้งนี้จากสถิติเดือน พฤศจิกายน 2553
ผู้ที่อุทิศที่ดินเพื่อเป็นวาก๊าฟ และเป็นผู้ให้เป็นสถานที่สำหรับก่อสร้างอาคารมัสยิดคือ นายฮัจยีฮาซัน บุญมาเลิศ โดยได้รับการสนับสนุนจาก ฮัจยีอับดุลเลาะฮฺ บุญมาเลิศ หรือที่รู้จักกันในนาม หลวงภักดีราช ต้นตระกูล บุญมาเลิศ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยะมหาราช), ซึ่งอาคารมัสยิดหลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว
โดยภายหลังได้ปรับปรุงเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเนื่องจากเนื้อที่อาคารไม่เพียงพอที่จะรองรับจำนวนผู้ที่มาใช้สถานที่เพื่อปฏิบัติศาสนกิจ, ในปี พ.ศ. 2530 ฮัจยีมนูศักดิ์(มะฮฺฟูซ) บุญมาเลิศ จึงได้อุทิศทุนทรัพย์ส่วนตัวเพื่อขยายสถานที่ละหมาดให้ครอบคลุมที่ดินวาก๊าฟทั้งหมด โดยหลังจากนั้นก็ได้มีการบูรณะต่อเติมเรื้อยมาเป็นระยะๆ จนปัจจุบันสามารถรองรับผู้ที่มาปฏิบัติศาสนกิจได้มากกว่า 1,500 คน
สาเหตุที่ต้องก่อตั้งมัสยิดนี้ก็เพราะเนื่องจากสมาชิกในหมู่บ้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นการลำบากที่จะต้องเดินทางไปอาศัยมัสยิดใกล้เคียงเพื่อประกอบศาสนกิจเหมือนเช่นเคย ซึ่งท่านหลวงภักดีราชจึงมีความคิดที่จะให้มีมัสยิดประจำหมู่บ้านเกิดขึ้น และในช่วงเวลานั้นนายฮัจยีฮาซัน บุญมาเลิศ ซึ่งเป็นบุตรเขย และได้สำเร็จการศึกษาจากนครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอาราเบีย จึงได้ให้เป็นผู้ดำเนินการพร้อมกับให้ดำรงค์ตำแหน่งอิหม่ามประจำมัสยิด
โดยมัสยิดแห่งนี้ นั้นจะมีศูนย์อบรมจริยะธรรมอิสลาม ที่เปิดสอนอัลกุรอาน และจริยะธรรมอิสลามแก่เยาวชนเป็นประจำทุกวัน ซึ่งจะดำเนินการสอน และบริหารงานโดยคณาจารย์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ โดยในปัจจุบันนั้นมีเยาวชนมุสลิมเข้ารับการอบรม





แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage