ประเพณีไทยการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย

ประเพณีไทยการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย

ประเพณีไทยการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย

ประชากร จำนวน: 2236 คน  Share Facebook  
แผนที่ แผนที่ แผนที่ มีแผนที่ มีแผนที่ ไม่มีแผนที่ ไม่มีแผนที่

สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

ประเพณีไทยการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย การไหว้ครูร่ายรำมวยไทยถือเป็นประเพณีไทยที่สำคัญของมวยไทย เพราะการไหว้ครูร่ายรำมวย ไทยเป็นการบ่งบอกถึงศิษย์มีครู ซึ่งผู้ที่จะได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้วิชามวยไทยนั้นจะต้องมีการยกครูก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเปรียบเสมือนพิธีการมอบตัวเป็นศิษย์ที่พร้อมจะปฏิบัติตนตามกรอบระเบียบ ปฏิบัติของมวยไทย ซึ่งในบทนี้ผู้เขียนจะแสดงเนื้อหาของความเป็นมาของการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย เครื่องดนตรีประกอบการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย ขั้นตอนการไหว้ครูร่ายร ามวยไทยก่อนการแข่งขัน และการแสดงท่าร่ายรำมวยไทย
 
ความเป็นมาการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย โดยการแข่งขันในเชิงศิลปะมวยไทย กระบี่กระบอง หรืออาวุธอื่น ๆ ที่มีมาแต่โบราณนั้น โดยก่อนการแข่งขันทุกคนจะต้องไหว้ครู ถ้าเป็นนักมวยก่อนการแข่งขันจะต้องไหว้ครูมวยไทย และร่ายรำมวย เป็นต้น ซึ่งเป็นประเพณีไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยการไหว้ครูเป็นการทำความเคารพต่อประธานในพิธีแข่งขันชกมวยหรือเป็นการถวายบังคมแด่พระมหากษัตริย์ ซึ่งในสมัยโบราณทรงโปรดฯ ให้มีการชกมวยต่อหน้าพระที่นั่งอยู่เป็นประจำทั้งเป็นการระลึกถึง และแสดงความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิประสาทให้วิชาความรู้ให้เพื่อความเป็นศิริมงคลทำให้จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหว ครั่นคร้าน โดยควบคุมสติได้ดีส่วนการร่ายรำเป็นการแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะของครูมวย หรือค่ายมวยซึ่งถ้านักมวยไหว้ครูและร่ายรำมวยแบบเดียวกันมักจะไม่นิยมต่อยกัน เพราะเข้าใจว่าเป็นลูกศิษย์ที่มี ครูมวยคนเดียวกัน อีกทั้งนอกจากนั้นการร่ายรำยังเป็นการสังเกตดูเชิงคู่ต่อสู้และเพื่ออบอุ่นร่างกายให้ มีการคลายความเคร่งเครียดทั้งกาย และจิตใจให้พร้อมที่จะเข้าต่อสู้ได้ทันทีทั้งเป็นการสำรวจพื้นที่บริเวณที่จะชกมวย แต่เนื่องจากเดิมการแข่งขันชกมวยจะแข่งขันบนลานในบริเวณวัด ซึ่งเป็นสนามมวยชั่วคราว
 
การไหว้ครูร่ายรำมวยไทย ประเพณี และวัฒนธรรมไทย องค์ประกอบที่สำคัญ และเป็นสำคัญสร้างบรรยากาศให้แก่การไหว้ครูและร่ายรำมวยไทย รวมทั้งการแข่งขันชกมวยนั้นคือวงดนตรีปี่กลอง ซึ่งมีจังหวะและท่วงทำนองช้า และเร็วตามช่วงเวลาของการแข่งขัน เมื่อเริ่มไหว้ครูท่วงทำนองก็จะช้าเนิบนาบช่วยให้ลีลาในการร่ายรำไหว้ครูดูอ่อนช้อย งดงามเป็นจังหวะน่าชม และเมื่อเริ่มการแข่งขันเสียงดนตรีก็เริ่มมีจังหวะเร็วขึ้นบอกให้ผู้ได้ยินได้ชมรู้ ว่าขณะนั้นนักมวยกำลังใช้ชั้นเชิงต่อสู้กันอยู่ในสังเวียน และเมื่อถึงยกสุดท้ายจังหวะดนตรียิ่งเร่งเร้าขึ้นเร้าใจให้นักมวยได้เร่งพิชิตคู่ต่อสู้และเร้าใจผู้ชมมวยรอบสนามให้ตื่นเต้นกับผลการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า จังหวะดนตรีจึงเป็นส่วนสร้างความรู้สึกของนักชกและผู้ชมรอบสนามให้สนุกสนานตื่นเต้นกับการแข่งขันได้อย่างน่าอัศจรรย์
 
เครื่องดนตรีประกอบการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย เป็นเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงประกอบการแข่งขันชกมวยไทย มีชื่อเรียกว่า “วงปี่กลอง” มี นักดนตรีร่วมบรรเลงดนตรีโดยทั่วไปจะมีจำนวน 4 คน เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลอง แขก 2 ใบ และฉิ่ง 1 คู่ การบรรเลงดนตรีประกอบกีฬามวยไทย หรือกระบี่กระบองนั้น ซึ่งปรมาจารย์ทางดนตรีได้ วางบทเพลงในแต่ละอาวุธไว้ไม่เหมือนกัน เช่น การรำกระบี่ใช้แพลงกระบี่ลีลา, การรำดาบใช้เพลง และมอญรำดาบ ดั่งที่ นาค เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา (2513) กล่าวว่า โดยการไหว้ครูของกระบี่กระบองนั้นใช้ เพลงชมสมุทร, เพลงโฉลก, เพลงเกาะ หรือเพลงระกำ การโหมโรงใช้เพลงแขกโอด เพลงสารถี เพลง เยี่ยมวิมาน แขกไทร ซึ่งการรบกันใช้เพลงอาวุธต่าง ๆ เช่นดาบสองมือใช้เพลงจำปาทองเทศ หรือขอมทรงเครื่อง พลองใช้เพลงลงสรง หรือขึ้นพลับพลา
 
การแข่งขันมวยไทยนั้นในทุกครั้งจะต้องมีการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง แต่เนื่องจากเป็นประเพณีไทย และสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของค่ายมวย หรือสำนักในแต่ละที่ในการไหว้แต่ละค่ายในการไหว้ครูร่ายมวยไทยก็จะแตกต่างกัน โดยที่สำคัญการไหว้ครูร่ายรำมวยไทยก่อนการแข่งขันในป๎จจุบันจะแตกต่างจากแข่งขันในสมัยโบราณเนื่องเวทีที่ใช้ในการแข่งขันจะแตกต่างกันซึ่งปัจจุบันเวทีที่ใช้ในการแข่งจะมีเชือก 4 เส้น ขึงไว้เป็น 4 มุม เวทีจะสูงประมาณ 1 เมตร และมีบันไดสำหรับนักมวยที่จะขึ้นเวทีแต่ละมุม
 
ประเพณีการไหว้ครูและร่ายรำมวยไทย โดยจากการกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าประเพณีการไหว้ ครูเป็นประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงป๎จจุบันเนื่องจากก่อนแข่งขันในเชิงศิลปะมวยไทยกระบี่กระบอง หรืออาวุธอื่นๆจะต้องมีการไหว้ครูก่อนการแข่งขัน และนอกจากนี้เชื่อว่าการไหว้ครูร่ายรำมวยไทยจะเป็นการทำความเคารพต่อประธานในพิธีการแข่งขันหรือเป็นการถวายบังคมแด่พระมหากษัตริย์ โดยรวมทั้งเป็นการระลึกถึง ครูอาจารย์ บิดา มารดา ที่ประสิทธ์ประสาทวิชาความรู้ให้เครื่องดนตรีที่ใช้ในการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย ก็จะประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีอยู่ด้วย 3 ชนิด คือ ปี่ชวา กลองแขก 2 ใบ ฉิ่ง 1 คู่ โดยมีผู้บรรเลง 4 คน เพลงที่บรรเลงนั้นประกอบด้วย เพลงโยนที่ใช้ใน
 
การไหว้ครูร่ายรำมวยไทย ส่วนเพลงเชิดจะใช้ในการต่อสู้หรือในเวลาชก ในการไหว้ครูร่ายรำมวยไทยนั้นมีขั้นตอนตั้งแต่การไหว้ครูก่อนการแข่งขัน เพราะเชื่อกันว่าสถานที่ใดก็ตามเมื่อมีการแข่งขันมักจะมีเจ้าที่เจ้าทาง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่อยู่บริเวณนั้น หรืออันเชิญเพื่อมาปกป๎กรักษาให้มีชัยชนะในการแข่งขันซึ่งจะเริ่มเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนขึ้นการแข่งขันและมีการไหว้ครูบนเวที การไหว้ครูจะมีตั้งแต่ ท่าพนม ท่าปฐม และท่าพรม และจะต่อด้วยท่าร่ายรำต่าง ๆ ในสี่ทิศ เช่น การร่ายรำท่าหงส์เหิร สอดสร้อยมาลา หรือท่าต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้น ซึ่งท่าร่ายรำมวยไทยก็ยังมีอยู่มาก ทั้งนี้ทั้งนั้น
 
ท่าร่ายรำมวยไทยเมื่อสมัยครั้งโบราณกาล ได้กล่าวไว้ว่าหากนักมวยทั้งสองฝ่ายในท่าเดียวกันที่จะไม่ทำการแข่งขันเชื่อว่าเป็นศิษย์ส านักเดียวกัน ซึ่งในป๎จจุบันการแข่งขันชกมวยไทยน้อยมากที่มีการ ไหว้ครูร่ายรำมวยไทย อันเนื่องมาจากการถ่ายทอดที่ไม่เน้นความสำคัญของการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย และการแข่งขันชกมวยไทยได้จัดขึ้นในรูปของธุรกิจมากขึ้น มีการเล่นพนันมวยกันอย่างกว้างขวาง มวยไทยจึงถูกอิทธิพลของเซียนมวยและผู้จัดกำหนดทิศทางอนาคตโดยทางอ้อม การไหว้ครู และร่ายรำมวยไทยซึ่งมีความส าคัญต่อจิตใจของนักมวยผู้ต้องขึ้นชกแข่งขัน แต่ไม่มีความสำคัญต่อผู้ชมนอกสังเวียน 
 
จึงได้ถูกละเลยไปเพราะมองว่าเป็นเรื่องของความเชื่อที่ล้าสมัย เสียเวลารอคอยสำหรับนักพนัน นักมวยจึงจำเป็นต้องตัดทอนลีลาการร่ายรำลงให้เหลือเพียงบางส่วนที่สำคัญพอเป็นพิธี นักมวย น้อยคนนักที่จะแสดงลีลาการร่ายรำมวยไทยได้เป็นที่ถูกใจคนดู และเซียนพนันทั้งสนามได้ปัจจุบันทั้ง องค์กรภาครัฐและเอกชนได้เล็งเห็นความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมไทยดังกล่าว จึงได้พยายามฟื้นฟูสนับสนุน และเผยแพร่ให้ประชาชน และคนในวงการมวยไทยได้เล็งเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณีของไทยแขนงนี้การไหว้ครูและร่ายรำมวยไทยจึงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง และผู้คนให้ความสนใจ รวมทั้งเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของการไหว้ครูและร่ายรำมวยไทยมากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งชาวต่างประเทศที่ได้มีโอกาสศึกษาและฝึกฝนมวยไทย ให้ความสนใจในประเพณีการไหว้ครูและร่ายรำมวยไทย ทั้งสามารถร่ายรำได้งดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคนไทย จึงเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจสำหรับคนไทยทุกคนซึ่งเป็นเจ้าของศิลปวัฒนธรรม และคนไทยทุกคนควรที่จะร่วมมือกันอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ตลอดไป
 
การฝึกทักษะและการแข่งขันกีฬาสิ่งสำคัญเพื่อให้ศิลปะมวยไทยเป็นสมบัติล้ำค่าของชาวไทย ที่ชาวไทยใช้เป็นอาวุธ โดยปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
1. ควรรู้ระเบียบและปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันกีฬามวยไทยอย่างเคร่งครัด
2. ควรเคารพเชื่อฟังผู้ตัดสินและกรรมการเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ควรแสดงน้ำใจที่เป็นมิตรและให้เกียรตินักมวยผู้อาวุโสกว่า
4. ควรให้เกียรติและเคารพนักมวยรุ่นพี่ก่อน และหลังการต่อสู้ทุกครั้ง
5. ควรปฏิบัติตนเป็นสุภาพบุรุษบนสังเวียนเพื่อชนะใจคนดู
คำค้น คำค้น: ประเพณีไทยการไหว้ครูร่ายรำมวยไทยมวยไทย ไหว้ครู ร่ายรำมวยไทย วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรม ประเพณีไทย ประเพณี
ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด: 2 สัปดาห์ที่แล้ว


แสดงความเห็น

แสดงความเห็น





คำค้น (ขั้นสูง)
           
      Email :
        รหัสผ่าน :
        สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
       

      Facebook Fanpage Facebook Fanpage

       

      ภูมิภาค ภูมิภาคhttps://www.lovethailand.org/

      ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

      สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

      แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(23)

      พระราชวัง พระราชวัง(13)

      ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(35/36)

      พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(59)

      บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(3)

      อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(19)

      สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

      พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(6)

      ห้องสมุด ห้องสมุด(4)

      มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

      สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

      วัด วัด(72/430)

      โบสถ์ โบสถ์(2)

      มัสยิด มัสยิด(67)

      สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

      โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

      โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

      วิถีชีวิต วิถีชีวิต

      หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(5)

      ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(9)

      ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(2)

      ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

      แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

      อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

      แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

      บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

      สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(4)

      แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(6)

      สนามกีฬา สนามกีฬา(9)

      ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(20)

      สวนสนุก สวนสนุก(4)

      สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

      โรงละคร โรงละคร(8)

      โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์(1)

      ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

      ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(21)

      ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า(7)

      สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

      สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(2)

      ร้านอาหาร ร้านอาหาร

      มิชลินสตาร์ มิชลินสตาร์(5)

      ที่พัก ที่พัก

      โรงแรม โรงแรม(3)

      หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

      หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

      บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

      รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(21)

      ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย(56)