
มวยไทย มรดกทางวัฒนธรรมไทยศิลปะการป้องกันตัว และเกมส์กีฬา




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
มวยไทย มรดกทางวัฒนธรรมไทยศิลปะการป้องกันตัว และเกมส์กีฬา มวยไทยนั้นถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน เป็นทั้งการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวและเกมส์กีฬา ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด
ในอดีตก็ได้มีการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทย ไว้ด้วยกันหลายยุคหลายสมัย เช่น สมัยอยุธยาที่มีหลักฐานจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ระบุไว้ในหนังสือศิลปะมวยไทยว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ โปรดการชกมวยมาก จนทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชน เพื่อมาชกมวยกับนักมวยฝีมือดีของเมืองวิเศษไชยชาญ และสามารถชกชนะนักมวยเอกถึง 3 คน ได้แก่ นายกลาง, หมัดตาย, นายใหญ่, หมัดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก โดยทั้ง - คน ได้รับความพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำจากฝีมือการชกมวยไทยของพระองค์
ต่อมาก็มีการฝึกมวยไทยกันอย่างแพร่หลายในราชสำนักโดยขยายไปสู่บ้าน และวัด โดยเฉพาะวัด ซึ่งถือเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชามวยไทยได้เป็นอย่างดี เพราะขุนศึกเมื่อมีอายุมากมักบวชเป็นพระ และสอนวิชาการต่อสู้ให้แก่ลูกศิษย์ที่ดี ด้วยเหตุนี้การฝึกมวยไทยจึงแพร่หลาย และขยายวงกว้างไปสู่สามัญชนมากยิ่งขึ้น
และเมื่อครั้งที่นายขนมต้มถูกจับเป็นเชลย ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่กรุงอังวะ ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 พม่าได้จัดให้มีการฉลองชัยชนะ ในการทำสงครามกับไทย สุกี้พระนายกองได้คัดเลือกนายขนมต้มให้ขึ้นชกกับนักมวยพม่า ซึ่งนายขนมต้มสามารถชกชนะนักมวยพม่าได้ถึง 10 คน ดังที่ รังสฤษฎิ์ บุญชลอ กล่าวไว้ว่า "พม่าแพ้แก่นายขนมต้มหมดทุกคนจนถึงกับพระเจ้ากรุงอังวะตรัสชมเชยว่า คนไทยถึงแม้จะไม่มีอาวุธในมือ มีเพียงมือเปล่า 2 ข้าง ก็ยังมีพิษสงรอบตัว" แสดงให้เห็นว่านักมวยไทยมีฝีมือเป็นที่เลื่องลือ
ส่วนในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นเจ้าเมืองตาก ได้มีทหารเอกคู่ใจที่มีความสามารถด้านมวยไทยมาก และอยู่ในชั้นแนวหน้าของทนายเลือก ชื่อว่า นายทองดี ฟันขาว หรือจ้อย ชาวเมืองพิชัย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระยาพิชัยดาบหัก เจ้าเมืองพิชัย
หลังจากสมัยรัชกาลที่ 6 มวยไทยได้ถูกพัฒนามากขึ้นโดยมีการชกมวยแบบสวมนวมชก และนับคะแนนแพ้ชนะ มีการกำหนดยก นักมวยแต่งกายตามมุม คือ มุมแดง และมุมน้ำเงิน เช่นเดียวกับการขึ้นชกมวยสากล โดยมีค่ายมวยเกิดขึ้นหลายค่าย และมีนักมวยหลายคนที่มีชื่อเสียง คหบดีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ เจ้าเชตุ ได้ตั้งสนามมวยในที่ดินของตนเอง เพื่อนำรายได้จากการชกมวยไปบำรุงกิจการทหาร ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การแข่งขันชกมวยจึงหยุดไป ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การแข่งขันชกมวยไทยได้เฟื่องฟูขึ้นอีก เพราะประชาชนสนใจ
ต่อมากีฬามวยไทยมีการพัฒนาจนก่อตั้งเป็นสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย โดยจะกำหนดให้การชกมวยไทยต้องมีเครื่องป้องกันอันตราย เพื่อให้นักมวยมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทำให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาแข่งขันมากขึ้นในแต่ละปี และมีการถ่ายทอดการชกมวยทางโทรทัศน์มากขึ้นด้วย จนทำให้ธุรกิจมวยขยายตัวออกไปกว้างขวาง ในต่างจังหวัดมีเวทีมวยเกิดขึ้นหลายแห่ง และเปิดโอกาสให้นักมวยที่มีฝีมือจากต่างจังหวัด เดินทางเข้ามาชกมวยในกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้น
มวยไทยกับมวยสากลกีฬา 2 ชนิดนี้ต่างกันอย่างไร
- กีฬามวยไทย นั้นเป็นกีฬาที่สามารถใช้ได้ทุกส่วนของอวัยวะของร่างกาย และถือว่าอันตรายมาก ๆ มวยไทยจะชกด้วยกันทั้งหมด 5 ยก โดยจะชก 3 นาที พัก 2 นาที และการชกนั้นต้องมีสมองที่คิดเร็วทำเร็ว และต้องมีไหวพริบ และทักษะที่ดี เพราะกีฬามวยไทยนั้นถ้าคิดช้าทำช้าอาจโดยคู่ต่อสู้น็อคโดยไม่รู้ตัว และจะรู้แพ้รู้ชนะกันโดยการให้คะแนนจากข้างเวที หรือน็อคเอาคู่ต่อสู้ มวยไทยถือว่าเป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ และอยู่คู่กับไทยเรามาตั้งแต่บรรพบุรุษ และเป็นกีฬาคู่บ้านคู่เมืองของเรา เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ผู้คนจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาประเทศไทยเพื่อเรียนมวยไทยเป็นจำนวนมาก และนี้ก็คือกีฬาที่ใช้ทักษะ และสมองเยอะมาก ๆ และเป็นที่นิยมที่สุดในไทย
- กีฬามวยสากล นั้นเป็นกีฬาที่ชกด้วยกันทั้งหมด 12 ยก โดยจะชก 3 นาที พัก 2 นาที ซึ่งการจะใช้แต่ หมัด หรือกำปั้นอย่างเดียว แต่ใช้มีชั้นเชิงในการโยกหลอกหมัดของคู่ต่อ และใช้ไหวพริบในการเข้าทำ อีกทั้งยังต้องใช้การตัดสินใจที่รวดเร็วอย่างมาก เพราะถ้าช้าอาจโดนคู่ต่อสู้น็อคเอาได้ ซึ่งการแพ้ชนะขึ้นอยู่กับคะแนนที่กรรมการข้างเวทีให้ หรือว่าน็อคก่อนยก 12 โดยกีฬาประเภทนี้นั้นเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก และรวมถึงประเทศไทย
การแต่งกายของนักมวยไทย และนักมวยสากล การแต่งกาย ของนักมวยสากลจะมีกติกาที่เหมือนกับนักมวยไทย ยกเว้นเรื่องของ การสวมมงคล ผ้าประเจียด หรือรัดเกล้า เพราะมวยสากล ไม่ได้มีการใช้ เครื่องรางของขลัง ที่ยึดถือมาแต่โบราณ เหมือนกับ ของมวยไทย รวมไปถึง การร่ายรำไว้ครูก่อนการแข่งขันที่นักมวยไทย จะต้องสวมใส่มงคล และประเจียด ขณะไหว้ครู ซึ่งเมื่อไหว้ครูเสร็จแล้ว จะถอดส่วนของมงคลออก แต่ประเจียดอาจยังให้ นักมวยสวมใส่อยู่ได้ นอกจากนี้ การแต่งกายของนักมวยสากลอาจต้องมีการสวมใส่ เครื่องป้องกันศีรษะร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัยสูงสุดสำหรับนักมวยสากล ซึ่งสำหรับการแข่งขัน มวยไทย ยังไม่ค่อยมีการสวมใส่ เครื่องป้องกันศีรษะ ในการแข่งขันมากนัก



แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage