
ประเพณีไทยเกี่ยวกับมวยไทยอย่างไร




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
ประเพณีไทยเกี่ยวกับมวยไทยอย่างไร ศิลปะการต่อสู้ ที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน จึงมีประเพณีอันดีงามเกี่ยวกับมวยไทยเกิดขึ้นด้วย โดยเฉพาะ ประเพณีไทย ที่แสดงถึงความเคารพ นบน้อม และคารวะต่อครูบาอาจารย์ ผู้สั่งสอนวิชามวยไทยให้แก่ลูกศิษย์
การขึ้นครู นั้นเป็นพิธีขั้นแรก ที่ศิษย์จะมาไหว้ครู เพื่อมาฝากตัว เป็นศิษย์ การไหว้ครู ถือว่าเป็น ประเพณีที่สำคัญของ มวยไทย และถือว่า เป็นพิธีการ อันศักดิ์สิทธิ์ สมัยโบราณกาล ขึ้นครู เปรียบเสมือน พิธีการมอบตนเอง ในลักษณะ ขออยู่ ใต้บังคับบัญชาของ ครูมวย เพื่อร่ำเรียนวิทยาการ ในฐานะคนที่ว่าง่าย, สอนง่าย และกล้าหาญ เพื่อเตรียมตัว และปรับปรุงตน สู่ความเป็น ทหารพระราชา นักมวยจะต้องมีครู ต้องเคารพ และเทิดทูนครู เพราะการที่ครู จะยอมรับศิษย์ แต่ละคน ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจาก มวยไทยนั้นเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนไทย ที่เป็นมรดก สืบทอดกันมา แต่โบราณกาล
ในอดีต ผู้สมัครเป็นศิษย์ จะมีความรู้สึกว่า ยากแสนยาก กว่าจะได้เรียนรู้ ถึงศาสตร์ชิ้นนี้ได้ เพราะในสมัยนั้นครูอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ มีอยู่ไม่มากนัก อีกประการหนึ่ง ท่านก็ไม่ได้คิด ค่าสอนหรือ มีค่าตอบแทนแต่อย่างใด ผู้มีประสงค์ จะศึกษาเล่าเรียน ต้องฝาก เนื้อฝากตัวกับครู คอยปรนนิบัติ อยู่เป็นเวลานาน จนกว่าจะได้รับการถ่ายทอด วิชามวยไทย จนครบถ้วน ด้วยเหตุนี้ ครูและ ศิษย์มวยไทย ในสมัยก่อนนั้น จึงมี ความสัมพันธ์กัน อย่างแนบแน่น ดุจบิดามารดา
พิธีไหว้ครูมวยไทย นั้นเป็นเอกลักษณ์ ของมวยไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่ก่อนนักมวยทำ การแข่งขัน จะมีการร่ายรำไหว้ครูมวย ซึ่งเป็น วัฒนธรรมไทยแท้ ที่สืบสานมายาวนาน จนกลายเป็น อัตลักษณ์ ของความเป็น มวยไทย สาเหตุที่ศิษย์ต้องมี ความกตัญญต่อ ครูอาจารย์นั้น เป็นเพราะ วิชามวยไทยเมื่อครั้งโบราณ มีการฝึกฝนไว้ ป้องกันอันตราย จากคู่ต่อสู้ ซึ่งในการฝึกซ้อม หากไม่มี ครูอาจารย์ ที่ชำนาญ คอยสอนสั่ง ผู้ฝึกมวย อาจพลาดพลั้ง และเกิดอันตรายได้ ดังนั้น ศิษย์จึงต้อง เชื่อฟังครู และศรัทธาครู เพื่อให้ การฝึก เป็นไปด้วยดี
ขณะเดียวกัน ครูผู้อบรม สั่งสอน ต้องทุ่มเท แรงกายแรงใจ จนกว่าศิษย์จะเชี่ยวชาญ ชำนาญได้ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปี เพราะการฝึก มวยไทย ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ หากครูไม่มีความรัก และความเมตตา ต่อศิษย์ ไม่เอาใจใส่ใน การฝึกฝนของศิษย์ อาจเป็นอันตราย ถึงแก่ชีวิตได้ ด้วยความเคารพรัก และแสดงออก ถึงความเชื่อ ความศรัทธาต่อครูบาอาจารย์ การไหว้ครู จึงเกิดขึ้นคู่กับ มวยไทย มาแต่อดีตกาล จนกลายเป็นประเพณี ที่สืบทอดกันมา ในวงการมวยไทย ตลอดมา
พิธีครอบครู การที่ศิษย์ ได้ศึกษาศิลปะมวยไทย จนสำเร็จแล้ว และสามารถ ถ่ายทอดวิชา ให้แก่ผู้อื่นได้ ครูพอใจจะให้เป็นครูมวยต่อไป ก็จะทำพิธีครอบครูให้ เพื่อสืบทอด ศิลปะมวยไทยของ ครูมวยสายนั้น โดยจะทำพิธีครอบครู ในวันพฤหัสบดี ก่อนเที่ยง ที่บ้านของครูมวย หรือในโบสถ์
พิธีไหว้ครู ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีนั้นเป็นการแสดงออก ถึงความกตัญญู ต่อครูอาจารย์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยแท้ ที่สืบสานมาอย่างยาวนาน โดยพิธีใหญ่ จัดปีละครั้ง ตามแต่ครูจะกำหนด ในพิธี ซึ่งจะมีการตั้งโต๊ะแต่งเครื่องสังเวยเทวดา และบูชาครูอาจารย์ ที่ล่วงลับไปแล้วทุกท่าน รูปแบบ และพิธีการไหว้ครู ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละสำนัก แล้วแต่ครูอาจารย์ ของสำนักนั้น กำหนดขึ้น และมีการปฏิบัติ สืบต่อกันมา
ประเพณีไทยการขึ้นครู และพิธีครอบครู นับวันยิ่งค่อย ๆ เลือนหายไป ตามกาลเวลา อันเนื่องมาจาก สภาพสังคมในปัจจุบันที่ เปลี่ยนไป และแตกต่างจากในอดีตมาก แต่ประเพณี การไหว้ครูมวยไทย ก็ยังสามารถเห็นได้อยู่ในการแข่งขัน มวยไทยที่การแข่งขัน จะมีการไหว้ครูมวยไทย เพื่อระลึกถึงบุญคุณของ ครูมวยไทย นั่นเอง
มวยไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชน ชาติไทยมาแต่ครั้งโบราณ เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย 9 อย่าง หรือที่เรียกว่า นวอาวุธ นับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก
มวยไทย เป็นศิลปะการป้องกันตัวและเป็นศาสตร์ที่ชายชาติทหารจะต้องฝึกให้ คล่องแคล่ว ดังคำกล่าวที่ว่ามวยนั้นเป็นมูลบทของวิชายุทธ์ เพลงอาวุธเป็นมัธยม และพระพิชัยสงครามเป็นมงกุฎ
มวยไทย เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการใช้อุบาย ชั้นเชิงไหวพริบ และวิชาเข้าต่อสู้กัน จึง ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่า ในอดีต พระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชา สามารถจะทรงเชี่ยวชาญการชกมวยเป็นอย่างยิ่ง ขณะเดียวกัน เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ขุนนางฝ่ายทหาร และสามัญชนจะฝึกฝนมวยไทยเพื่อป้องกันตัว และชาติบ้านเมือง เพราะการใช้อาวุธ เช่น กระบี่, กระบอง, พลอง, ดาบ, ง้าว และทวน ประกอบกับมวยไทยจะทำให้การใช้อาวุธนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้ป้องกันตัวระยะประชิด ในยามสงบ มวยไทยจะเป็นการประลองพละกำลัง และชั้นเชิงการต่อสู้จน กลายเป็นกิจกรรมทางสังคมมีการแข่งขันมวยในโอกาสสำคัญ ๆ
ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทยให้เป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในคุณค่า และยกย่ององค์ความรู้ และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย เพื่อให้มรดกอันทรงคุณค่านี้ได้รับการยกย่อง ส่งเสริม และเชิดชูให้คนในชาติให้ความสำคัญต่อศิลปะการป้องกันตัวของตนเองที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก
ปัจจุบันมวยไทยนั้นได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีการจัดการแข่งขันชกมวยไทยในระดับอาชีพโดยการควบคุมของสภามวยไทยโลก (World Boxing Council Muaythai) หรือ WBC มวยไทย และจัดตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับมวยไทย เช่น สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (International Federation of Muaythai Associations) หรือ IFMA โดยมีแผนจะผลักดันมวยไทยเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปีก จากนั้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 องค์การสหประชาชาติ (United Nation) ได้ให้การยอมรับมวยไทยเป็นกีฬาแห่งประชาคมโลก ด้วยการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับสภามวยไทยโลก และสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติอีกด้วย



แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage