พระราชวังพญาไท

พระราชวังพญาไท

พระราชวังพญาไท

ประชากร จำนวน: 33249 คน  Share Facebook  
แผนที่ แผนที่ แผนที่ มีแผนที่ มีแผนที่ ไม่มีแผนที่ ไม่มีแผนที่

สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

เปิดให้เข้าชม เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น โดยจะมีวิทยากรอาสาสมัครของชมรมคนรักวังฯ ที่คอยแนะนำพาเดินชมส่วนต่าง ๆ ของพระที่นั่งและบรรยายให้ความรู้ไปด้วย โดยจะมี 2 รอบ คือรอบเวลา 9.30 น. และ 13.30 น. ซึ่งถ้าเป็นวันอื่นก็สามารถเดินเยี่ยมชมบริเวณภายนอกได้
 
พระราชวังพญาไท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ วังนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับ
 
รวมถึงส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระตำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ทำนา รวมทั้ง โรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญหลายครั้ง ณ วังพญาไท วังพญาไทใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็สวรรคต
 
พระราชวังพญาไท เมื่อครั้งที่ยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง และในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นได้ทรงทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชมารดา ให้ทรงมาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463
 
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท เหลือไว้เพียง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็น พระราชวังพญาไท
 
รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาประทับที่พระราชวังนี้เป็นประจำ และเริ่มมีพระอาการประชวรในปี 2468 จนเดือนสุดท้ายแห่งรัชกาลจึงเสด็จฯ จากพระราชวังพญาไทไปประทับในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งสวรรคต
 
พระราชวังพญาไท ยังเคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา, พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และเป็นที่พำนักของ พระสุจริตสุดา พระสนมเอก อีกด้วย
 
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระราชวังพญาไทในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้นได้แก่ ดุสิตธานี หรือเมืองประชาธิปไตยย่อส่วน ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ทรงให้สร้างเป็นเมืองจำลองขึ้นเพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยปัจจุบันนั้นไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว
 
ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯ ได้ให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุงวังพญาไทนั้นเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับให้ชาวต่างประเทศพัก เปิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2468 ซึ่งตามพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ 6 ที่จะพระราชทานพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นโฮเต็ลชั้นหนึ่งของประเทศ โดยตั้งแต่มีพระราชดำริจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ก็เพื่อพัฒนาการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
 
ระหว่างนั้น ได้มีการใช้ พระราชวังพญาไทได้เป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุแห่งแรกของไทย ออกอากาศเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2473 กรมรถไฟดำเนินการโรงแรมวังพญาไทได้ 6-7 ปีก็เลิกกิจการเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2475 เนื่องจากคณะราษฎรต้องการนำวังพญาไทสร้างโรงพยาบาลทหาร จึงพระราชทานวังนี้ให้เป็นสถานพยาบาล ของกองทัพบก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามาจนปัจจุบัน
 
นอกจากนี้ พระราชวังพญาไทยังเคยเป็นสถานที่จัดงานสำคัญหลายวาระ เช่น งานฉลองพระชนมายุ 6 รอบ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540, การจัดแสดงดนตรีของวง อ.ส.วันศุกร์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ในการแข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 35 รวมทั้งการจัดการแสดงดนตรีต่าง ๆ เช่น ดนตรีคลาสสิก และดนตรีไทย อื่น ๆ เป็นต้น
 
ปัจจุบันพระราชวังพญาไทนั้นอยู่ในสภาพทรุดโทรม และกำลังอยู่ในระหว่างระดมทุนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ถาวร โดยภายใต้การดำเนินงานของ ชมรมคนรักวัง และมูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
 
สิ่งก่อสร้างในเขตวังพญาไท
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ในปัจจุบันนั้นคงเหลือพระที่นั่งที่สร้างในรัชกาลที่ 5 เพียงองค์เดียว คือ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ และพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ พระที่นั่งพิมานจักรี, พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน, พระที่นั่งศรีสุทธาวาส, พระตำหนักเมขลารูจี, พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์, สวนโรมัน และศาลท้าวหิรันยพนาสูร
 
โดยชื่อของพระที่นั่งจะตั้งให้มีความคล้องจองกัน ได้แก่ ไวกูณฐเทพยสถาน พิมานจักรี ศรีสุทธนิวาส เทวราชสภารมย์ อุดมวนาภรณ์ โดยลักษณะของสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของพระราชวังพญาไทคือ จะมีหอคอยสูง และหลังคายอดแหลมของพระที่นั่งพิมานจักรี โดยส่วนภายในมีภาพเขียนแบบปูนเปียกเป็นลวดลายงดงามแบบตะวันตก
 
พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน เดิมเป็นพระที่นั่ง 2 ชั้น และได้ต่อเติมเป็นพระที่นั่ง 3 ชั้นในภายหลัง พระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมต่อกับพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ในชั้นที่ 2 โดยชั้นที่ต่อเติมขึ้นมาในภายหลังจัดเป็นห้องบรรมทมและห้องสรงส่วนพระองค์
 
พระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังพญาไท สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น โดยมีสถาปัตยกรรมทรงโรมันเนสก์ผสมกับทรงกอธิค โดยจุดเด่นของพระที่นั่งองค์นี้อยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งในอดีตใช้สำหรับชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ
 
รวมทั้ง บริเวณฝาผนังใกล้กับเพดาน และเพดานของพระที่นั่งนั้นจะมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูนเปียกซึ่งจะมีความงดงามมากและบานประตูเป็นไม้จำหลักปิดทอง โดยจะมีการจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า "ร.ร.6" ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระรามราชาธิบดี รัชกาลที่ 6 พระที่นั่งพิมานจักรีซึ่งใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระมเหสี ของพระองค์
 
พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น มียอดโดมเช่นเดียวกับพระที่นั่งพิมานจักรีแต่ขนาดเล็กกว่า ตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมแบบอิงลิช กอธิค (English Gothic) บริเวณเพดานประดับลวดลายจิตรกรรมแบบอาร์ต นูโว และผนังเป็นภาพเขียนสีน้ำมันในแบบตะวันตก
 
โดยมีทางเชื่อมกับพระที่นั่งพิมานจักรีบริเวณชั้น 2 ของพระที่นั่ง เดิมพระที่นั่งองค์นี้ชื่อว่า "พระที่นั่งลักษมีพิลาศ" ตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ อดีตพระคู่หมั้นในพระบาทสมเด็จะพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา จึงเปลี่ยนนามพระที่นั่งองค์นี้เป็น พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ดังเช่นปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ในอดีตใช้เป็นที่รับรองสำหรับเจ้านายฝ่ายใน
 
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงเสด็จมาประทับ ณ พระราชวังพญาไท โดยมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบไบแซนไทน์
 
ภายในท้องพระโรงทาสีฉูดฉาดหลายสี และมีพระปรมาภิไธยย่อ "สผ" (เสาวภาผ่องศรี พระนามเดิมของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง) อยู่ตอนบนใกล้หลังคาภายในพระที่นั่ง พระที่นั่งแห่งนี้ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาในโอกาสต่าง ๆ ใช้รับรองแขกส่วนพระองค์ ใช้เป็นโรงละคร เป็นต้น
 
พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งไวกูญฐเทพยสถาน โดยเป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น ซึ่งเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย ที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และมีเหล็กโครงสร้างดัดเป็นแบบอาร์ต นูโว (Art Nouvea) ที่ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว
 
สันนิษฐานว่าการสร้างพระที่นั่งองค์นี้ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับหมู่พระที่นั่งพิมานจักรี แต่เมื่อใช้เป็นที่ประทับของพระสุจริตสุดาและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระสนมเอกและพระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ตามลำดับ จึงมีการสร้างทางเชื่อมกับพระที่นั่งไวกูญฐเทพยสถานในชั้นที่ 2 ทำให้สามารถเดินถึงกันกับหมู่พระที่นั่งพิมานจักรีได้
 
การเดินทางโดยรถประจำทาง สาย 8, 12, 14, 18, 28, 92, 97, 108 ปอ.92, 509, 522, 536 ปอ.พ.4

 

เว็ปไซต์ เว็ปไซต์: www.phyathaipalace.org
โทร โทร: 023547660 ต่อ 93646, 93698
แผนที่ พระราชวังพญาไท แผนที่พระราชวังพญาไท
พระราชวัง กลุ่ม: พระราชวัง
คำค้น คำค้น: พระราชวังพญาไทพระราชวังพญาไท วังพญาไท พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธาวาส พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ พระตำหนักเมขลารูจี สวนโรมัน ศาลท้าวหิรันยพนาสูร
ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด: 2 สัปดาห์ที่แล้ว


แสดงความเห็น

แสดงความเห็น





https://www.lovethailand.org/

อัลบั้มรูป(9) https://www.lovethailand.org/

สถานที่ ขอบคุณภาพสวย ๆ 3 รูป จากคุณ: Dear
● ช่างภาพ: Dear2006
● ลิงค์: dear2006.multiply.com
● ที่มา: pixpros.net
สถานที่ ขอบคุณภาพสวย ๆ 6 รูป จากคุณ: IZcH
● ช่างภาพ: IZcH
● ลิงค์: archphoto.multiply.com
● ที่มา: thaidphoto.com
ลิขสิทธิ์ภาพเป็นของช่างภาพ (800*500)
ดูภาพขนาดเต็มได้จากแฟนเพจของช่างภาพ

คำค้น (ขั้นสูง)
     
Email :
  รหัสผ่าน :
  สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

 

ภูมิภาค ภูมิภาคhttps://www.lovethailand.org/

https://www.lovethailand.org/อ.พระนคร(163)

https://www.lovethailand.org/อ.ดุสิต(15)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองสาน(10)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองเตย(10)

https://www.lovethailand.org/อ.จตุจักร(14)

https://www.lovethailand.org/อ.ดอนเมือง(1)

https://www.lovethailand.org/อ.ตลิ่งชัน(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ธนบุรี(11)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกอกน้อย(15)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกอกใหญ่(13)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกะปิ(13)

https://www.lovethailand.org/อ.บางขุนเทียน(6)

https://www.lovethailand.org/อ.บางเขน(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางคอแหลม(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางซื่อ(2)

https://www.lovethailand.org/อ.บางพลัด(5)

https://www.lovethailand.org/อ.บางรัก(22)

https://www.lovethailand.org/อ.จอมทอง(3)

https://www.lovethailand.org/อ.บึงกุ่ม(7)

https://www.lovethailand.org/อ.ประเวศ(9)

https://www.lovethailand.org/อ.ปทุมวัน(33)

https://www.lovethailand.org/อ.ป้อมปราบศัตรูพ่าย(10)

https://www.lovethailand.org/อ.พญาไท(7)

https://www.lovethailand.org/อ.พระโขนง(4)

https://www.lovethailand.org/อ.ภาษีเจริญ(4)

https://www.lovethailand.org/อ.มีนบุรี(10)

https://www.lovethailand.org/อ.ยานนาวา(3)

https://www.lovethailand.org/อ.ราชเทวี(17)

https://www.lovethailand.org/อ.ลาดกระบัง(1)

https://www.lovethailand.org/อ.หนองจอก(7)

https://www.lovethailand.org/อ.สาทร(4)

https://www.lovethailand.org/อ.สัมพันธวงศ์(10)

https://www.lovethailand.org/อ.หนองแขม(1)

https://www.lovethailand.org/อ.ห้วยขวาง(9)

https://www.lovethailand.org/อ.สวนหลวง(8)

https://www.lovethailand.org/อ.ดินแดง(4)

https://www.lovethailand.org/อ.หลักสี่(2)

https://www.lovethailand.org/อ.คันนายาว(3)

https://www.lovethailand.org/อ.สะพานสูง(4)

https://www.lovethailand.org/อ.วังทองหลาง(2)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองสามวา(5)

https://www.lovethailand.org/อ.วัฒนา(14)

https://www.lovethailand.org/อ.ทวีวัฒนา(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางแค(2)

https://www.lovethailand.org/อ.ทุ่งครุ(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางบอน(1)