หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.พระนคร > ต.พระบรมมหาราชวัง > ขนมทองหยอด วิธีทำขนมไทยชาววัง สูตรขนมโบราณ
Rating: 2.6/5 (7 votes)
ขนมทองหยอด วิธีทำขนมไทยชาววัง สูตรขนมโบราณ
ขนมทองหยอด วิธีทำขนมไทยชาววัง สูตรขนมโบราณ ทองหยอดเป็นขนมโบราณชนิดหนึ่งซึ่งท่านผู้หญิง วิชเยนทร์ หรือนามเดิม มารี นินยา เดอ กีย์มาร์ เชื้อสายญี่ปุ่น โปรตุเกส ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (นามเดิมคอนสแตน ติน ฟอลคอลชาวกรีก) ท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ นั้นมีตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า
ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้ปรุงอาหารหลวงโดยท่านได้นำเอา ความรู้ที่มีมาแต่เดิมผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่น โดยปรุงแต่งอาหารขึ้นใหม่ จนเป็นที่รู้จัก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทองนับเป็นขนมชั้นดี ใช้ในงาน มงคลต่าง ๆ ซึ่งคนไทยเรายังถือเคล็ดกันอยู่จึงใช้ ขนมที่ขึ้นต้นด้วยทอง เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลตามชื่อขนม
ส่วนผสม (ขนมไทย)
- ไข่แดง 15 ฟอง
- แป้งทองหยอด 10 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเชื่อม
- น้ำตาลทราย 10 ถ้วยตวง
- น้ำเปล่า 6 ถ้วยตวง
- น้ำเชื่อมใส
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
- น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
วิธีทำขนมไทย ขนมทองหยอด (สูตรขนมไทย)
1. ขั้นตอนแรกแยกไข่แดง ไข่ขาว โดยกรองด้วยผ้าขาวบางแล้วรีดออก จากนั้นตีไข่ด้วยเครื่องตีไข่ให้ขึ้นฟู (ประมาณ 15 นาที)
2. แบ่งไข่ที่ตีแล้วใส่ถ้วยครั้งละ 1 ถ้วย ใส่แป้ง 4 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
3. ขั้นตอนสุดท้ายหยอดในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดปุด ไฟแรง
การหยอดที่ถูกต้อง ให้เอียงถ้วยใช้นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ปาดไข่ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือ จากนั้นดันลงไปโดยสะบัดข้อมือเล็กน้อยให้ไข่สะบัดไปด้านหลัง ทองหยอดจะมีหางเล็กน้อย หยอดลงไปประมาณ 1/3 ของน้ำเชื่อม โดยต้องเติมน้ำเล็กน้อย ฟองน้ำตาลจะยุบตัวเห็นเม็ดทองหยอด ทิ้งให้ เดือดอีกประมาณ 2 นาที ใส่น้ำลงไปอีกเล็กน้อย แล้วทิ้งให้เดือดอีก ทำเช่นนี้ 3 ครั้ง จนทองหยอดสุกจะมีความใส ตักขึ้นใส่แช่
ในน้ำเชื่อมใสที่เตรียมไว้
ลักษณะที่ดีของทองหยอด เนื้อเรียบเนียน เป็นมันเงา โดยด้านใน และด้านนอกของเนื้อทองหยอดมีความนุ่มเหมือนกัน ไม่เป็นไตแข็ง และข้อสำคัญต้องไม่มีกลิ่นคาว
เคล็ดลับ
1. ก่อนที่จะหยอดให้สังเกตน้ำเชื่อม จะเป็นฟองละเอียดแสดงว่าน้ำเชื่อมได้ที่เมื่อหยอดแล้วไข่จะแบน ในขณะที่จะหยอดน้ำเชื่อมต้องเป็นฟองเดือดพล่าน
2. ในการผสมแป้งจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับการตีไข่ขึ้นน้อยต้องใส่แป้งน้อย ถ้าใส่มากไปจะทำให้ แป้งข้นมากหยอดไม่ได้ ถ้าตีไข่ขึ้นฟูมากจะต้องเพิ่มแป้ง การใส่แป้งมากน้อยแค่ไหน ให้สังเกต จากลักษณะไข่ใส่แล้วคน แป้งมีความข้นนิดๆ ไม่ไหลเป็นทางเร็วไปก็ใช้ได้ การที่ส่วนนี้ให้ใส่แป้งข้น ซึ่งจะเหมาะสำหรับคนที่ทำไม่เป็น เริ่มหัดหยอดจะหยอดได้ง่ายขึ้น เมื่อเป็นชำนาญแล้วอาจจะลดส่วน โดยแป้งลงจะทำให้สุกเร็วขึ้น
3. ต้องรอให้สุกโดยตั้งในน้ำเชื่อมนานหน่อย ถ้าขึ้นเร็วเกินไปจะทำให้ทองหยอดเป็นไต ซึ่งจะไม่อร่อย
4. ผู้ที่ไม่เคยทำ ลองหยอดในถ้วยเสียก่อนค่อยลงในน้ำเชื่อม คือปาดแป้งจากปากถ้วยหยอดลงในถ้วยเดิม โดยต้องสังเกตดูว่าเป็นรูปร่างดีหรือยัง ถ้าเป็นรูปร่างดีค่อยหยอดใส่ลงในน้ำเชื่อม
5. ถ้าจะใช้แป้งข้าวเจ้า จะให้ดีควรอบแป้งด้วยเทียนอบ ให้หอมก่อน หรือจะใช้แป้งทองหยอดก็ได้ แป้งทองหยอด คือ แป้งข้าวเจ้าที่ผ่านการอบมาแล้ว
ขนมไทย ขนมโบราณ ขนมหวานไทย นั้นมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ จะมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน โดยมีสีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง ขนมไทยดั้งเดิม ขนมโบราณ นั้นจะมีส่วนผสมคือ แป้ง, กะทิ และน้ำตาล เท่านั้น
โดยในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่า งานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร โดยส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาสวยงาม และมีความประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว