Rating: 4.4/5 (9 votes)
ระบบการปกครองของไทย มีรูปแบบรัฐเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ และใช้ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฉบับที่ 18 จะมีรูปแบบการบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้
การคมนาคมของประเทศไทย ใช้การขนส่งทางบกเป็นหลัก โดยมีทางหลวงสายหลักได้แก่ ถนนพนลโยธิน, ถนนมิตรภาพ, ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีระบบขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์, รถไฟ, รถไฟลอยฟ้า และรถไฟใต้ดิน นอกจากนี้ยังรวมถึงรถรับจ้างต่าง ๆ เช่น แท็กซี่, มอเตอร์ไซด์ และรถตุ๊กตุ๊ก และการคมนาคมทางอากาศนั้น มีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ส่วนการคมนาคมทางน้ำ จะใช้เรือเป็นหลัก มีท่าเรือมากมาย เช่น ท่าเรือกรุงเทพ, ท่าเรือคลองเตย และท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น
ธงชาติ และเพลงชาติไทย หรือธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 สี คือ 1. สีแดง คือ ชาติ 2. สีขาว คือ ศาสนา 3. สีน้ำเงิน คือ พระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์ไทย เป็นประมุขสูงสุดของประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และราชาธิปไตยภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ถือเป็นความผิดต่องค์พระมหากษัตริย์
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความแตกต่างกันทางทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้รูปแบบอาหาร และการจัดการอาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือของชุมชนแตกต่างกันออกไป ชาวบ้านมักจะหาอาหารจากแหล่งอาหารทางธรรมชาติเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อใช้ในการบริโภคแต่ละวัน เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ โดยนำมาแปรรูปเป็นปลาร้า หรือปลาแห้งเพื่อให้บริโภคได้นาน ส่งผลให้ชาวบ้านส่วนใหญ่พึ่งพาอาหารจากตลาดน้อยมาก โดยอาหารอีสานจะเน้นรสชาติไปทางเผ็ดร้อน
การไหว้ เป็นประเพณีไทยการทักทายที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย แสดงออกถึงการมีสัมมาคารวะ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การไหว้ยังมีความหมายอื่นด้วย เช่น การขอบคุณ, การขอโทษ และการกล่าวลา เป็นต้น
โขน นับเป็นนาฎศิลป์เก่าแก่ของประเทศไทย ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัว นาง, พระ และเทวดา ซึ่งแสดงออกโดยใช้ท่ารำที่อ่อนช้อย ดำเนินเนื้อเรื่องด้วย บทพากย์ และบทเจรจา เป็นต้น
ประพณีสงกานต์ เป็นประเพณีที่เก่าแก่ของประเทศไทย เป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ไทย มีการรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่, สรงน้ำพระ, ทำบุญตักบาตร และการละเล่นสาดน้ำที่เป็นเอกลักษณ์ ที่สนุกสนาน
ภาพรวมของประเทศไทย
ประเทศไทย นั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย ซึ่งตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเดิมว่าสยาม โดยจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ขอโลก มีเนื้อที่ประมาณ 513,120 ตารางกิโลเมตร โดยจะมีประชากรมาเป็นอันดับที่ 20 ของโลก โดยมีอาณาเขตที่ติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศเหนือและตะวันตก, ประเทศลาวทางทิศเหนือ และภาคตะวันออก ประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันออก และประเทศมาเลเซียทางทิศใต้
ประเทศไทย นั้นมีทั้งหมด 77 จังหวัด ซึ่งตั้งอยู่กลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่บนคาบสมุทรมลายูด้วย ประเทศไทยนั้นมีลักษณะภูมิประเทศที่หลายหลาย โดยภาคเหนือ จะเป็นพื้นที่ที่สลับซับซ้อนมากที่สุด และเป็นจุดสูงสุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท์ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ของที่ราบสูงโคราช ซึ่งสภาพดินจะแห้งแล้งไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลูก โดยภาคกลางจะเป็นที่ราบลุ่มถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งถือได้ว่าเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเกิดจากแม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน ซึ่งส่วนภาคกลางจะเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด นั้นเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญ ภาคใต้จะเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู
ประเทศไทย นั้นถือได้ว่ามีความหลากหลายทางด้านชีวภาพของพืช และมีสัตว์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากกว่าอีก 50 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์อีก 56 แห่ง แต่การลักลอบฆ่าสัตว์ส่งผลให้หลายพื้นที่สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ โดยภูมิอากาศของประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบภูมิอากาศร้อนชื้น หรือทุ่งสะวันนา โดยตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ซึ่งส่วนสุด และตะวันออกจะมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน
ภูมิอากาศประเทศไทย จะเป็นแบบเขตร้อน หรือแบบทุ่งสะวันนา โดยมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย คือ 18-34 องศา มีฝนตกเฉลี่ยตลอดทั้งปีกว่า 1,500 มิลลิเมตร โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนจะเป็นฤดูร้อน และระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมจะเป็นฤดูฝน ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทางทะเลจีนใต้ และพายุหมุนเขตร้อน และในเดือนพฤศจิกายนถึงประมาณกลางเดือนมีนาคมจะเป็นฤดูหนาว โดยประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีน และภาคใต้จะมีสภาพอากาศแบบป่าดงดิบ ซึ่งจะมีอากาศที่ร้อนชื้นตลอดทั้งปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน โดยทางฝั่งทะเลตะวันออก ฤดูร้อนจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน และฝั่งทะเลตะวันตก ฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนเมษายน โดยมีประชากรทั้งหมดในปี 2553 คือ 65,926,261 คน
ประเทศไทย นั้นถือเป็นผู้ผลิต และส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดของโลก อีกทั้งยังมีข้าวยังเป็นพืชที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ประเทศไทยนั้นถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรมโดยแบ่งเป็นไทยกลางร้อยละ 30 อีสาน หรือลาวร้อยละ 22 ล้านนา, ร้อยละ 9 และใต้ร้อยละ 7 โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐบาลรับรอง 62 กลุ่ม ซึ่งวัฒนธรรมในประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย, จีน, ขอม และศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู
ระบบการปกครองของไทย มีรูปแบบรัฐเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ และใช้ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฉบับที่ 18 จะมีรูปแบบการบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้
1. อำนาจนิติบัญญัติ ระบบ 2 สภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีสมาชิกทั้งหมด 630 คน เป็นองค์กรบริหารอำนาจ และมีประธานสภาเป็นประมุขแห่งอำนาจ
2. อำนาจสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยตัวแทนผู้แทนราษฎร 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งสัดส่วน 125 คน โดยอยู่ในตำแหน่งครั้งละ 4 ปี โดยวุฒิสภาจะประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน (รวมจังหวัดกรุงเทพมหานคร) และมาจากการสรรหา 73 คน โดยจะมีคณะกรรมการที่สรรหาสมาชิกวุฒิสภา 7 คน โดยดำรงตำแห่งครั้งละ 6 ปี และไม่สามารถเป็นติดต่อกันเกิน 1 ครั้ง
3. อำนาจบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตรย์ไทย ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจทางตุลาการ มีระบบศาล ซึ่งจะประกอบไปด้วย ศาลยุติธรรม, ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง เป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีประธานศาลฏีกา, ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประมุขในส่วนของตน โดยสามารถดำรงตำแหน่งได้ครั้งละ 4 ปี และติดต่อกันไม่เกิน 8 ปี โดยได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชนชาวไทย แต่ได้รับการลงมติเป็นชอบโดยสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีไทยจะประกอบไปด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่น ๆ อีกไม่เกิน 35 คน
เศรษฐกิจของประเทศไทย ประเทศไทยนั้นมีเศรษฐกิจแบบผสม และมีรายได้หลักจากส่วนอุตสาหกรม การส่งออก และการบริการ, การท่องเที่ย และเกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออกเป็นลำดับที่ 24 ของโลก และการนำเข้าเป็นอันดับที่ 23 ของโลก
การคมนาคมของประเทศไทย ใช้การขนส่งทางบกเป็นหลัก โดยมีทางหลวงสายหลักได้แก่ ถนนพนลโยธิน, ถนนมิตรภาพ, ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีระบบขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์, รถไฟ, รถไฟลอยฟ้า และรถไฟใต้ดิน นอกจากนี้ยังรวมถึงรถรับจ้างต่าง ๆ เช่น แท็กซี่, มอเตอร์ไซด์ และรถตุ๊กตุ๊ก และการคมนาคมทางอากาศนั้น มีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ส่วนการคมนาคมทางน้ำ จะใช้เรือเป็นหลัก มีท่าเรือมากมาย เช่น ท่าเรือกรุงเทพ, ท่าเรือคลองเตย และท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น
ธงชาติ และเพลงชาติไทย หรือธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 สี คือ 1. สีแดง คือ ชาติ 2. สีขาว คือ ศาสนา 3. สีน้ำเงิน คือ พระมหากษัตริย์
เพลงชาติไทย มีเนื้อร้องดังนี้ "ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวลด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย" คำร้อง : พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามกองทัพบก ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทะกร)
พระมหากษัตริย์ไทย เป็นประมุขสูงสุดของประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และราชาธิปไตยภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ถือเป็นความผิดต่องค์พระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์ไทย ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี, รัฐสภา และศาล ราชชื่อพระมหากษัตริย์ไทยมีดังนี้
1. รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
2. รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
3. รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหาเจษฎาราชเจ้า)
4. รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช)
5. รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยมหาราช)
6. รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหาธีรราชเจ้า)
7. รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
8. รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (พระอัฐมรามาธิบดินทร)
9. รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พระภัทรมหาราช)
10. รัชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
อาหารพื้นบ้านไทย ส่วนใหญ่การปรุงจะเป็นการต้น, แกง, ตำ และยำ ซึ่งมีวิธีการปรุงอันเรียบง่าย ใช้เวลาไม่มาก แต่มีความพิถีพิถัน ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารค่อนข้างน้อย มีการใช้เนื้อสัตว์ไม่มาก โดยแหล่งโปรตรีนได้จากปลา, ไข่, หมู และสัตว์อื่นๆ บางชนิดในท้องถิ่น เครื่องปรุงต่าง ๆ จะใช้สมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติ โดยที่สำคัญอาหารพื้นบ้านนานาชนิดที่หาได้ จะนำมาปรุงเป็นอาหาร หรือนำมาทำเป็นเครื่องจิ้มกับอาหารประเภทน้ำพริก หรือประเภทหลนต่าง ๆ อาหารพื้นบ้านของไทยเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำแต่มีเส้นใยอาหารสูง มีคุณค่าทางโภชนา เช่น วิตามิน, เกลือแร่, เอนไซม์กรดไขมัน โดยมีความปลอดภัยจากสารเคมี และยังให้คุณค่าทางสมุนไพร
อาหารภาคเหนือ มีวิถีชีวติผูกพันมากับวัฒนธรรมการปลูกข้าว นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารภาคเหนือนั้นจะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือที่มีกริยาสุภาพเรียบร้อย จึงส่งผลต่ออาหาร เช่น ข้าวซอย จะเป็นอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ มีลักษณะคล้ายกับเส้นบะหมี่ น้ำซุปจะเป็นเครื่องแกงที่มีรสชาติจัดจ้าน ในแบบตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยนั้นจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ นิยมรับประทานกับเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง, หอมหัวแดง โดยมีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน, น้ำมะนาว, น้ำปลา และน้ำตาล โดยในปัจจุบันจะพิ่มอาหารทะเล หรือเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ อาหารจานนี้ไม่มีจำหน่ายในต่างประเทศ แต่จะมีแค่ภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความแตกต่างกันทางทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้รูปแบบอาหาร และการจัดการอาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือของชุมชนแตกต่างกันออกไป ชาวบ้านมักจะหาอาหารจากแหล่งอาหารทางธรรมชาติเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อใช้ในการบริโภคแต่ละวัน เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ โดยนำมาแปรรูปเป็นปลาร้า หรือปลาแห้งเพื่อให้บริโภคได้นาน ส่งผลให้ชาวบ้านส่วนใหญ่พึ่งพาอาหารจากตลาดน้อยมาก โดยอาหารอีสานจะเน้นรสชาติไปทางเผ็ดร้อน
อาหารภาคกลาง ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง, แกงกระทิ รวมทั้งยังมีอาหารชั้นสูงของชาววังที่ได้เผยแพร่ออกมาด้วย เช่น ข้าวแช่, ช่อม่วง, กระเช้าสีดา ฯลฯ เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น กระทงทอง, ข้าวเกรียบปากหม้อ และข้าวตัวหน้าตั้ง ฯลฯ
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ เป็นที่รู้กันดีว่าคนภาคใต้เป็นคนพูดเร็ว เดินเร็ว อาหารปักษ์ใต้จึงได้สะท้องลัษณะออกมาโดยมีรสชาติที่เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด อาหารปักษ์ใต้ที่ขึ้นชื่อมาก ๆ เช่น แกงไตปลา, แกงเหลือง, น้ำพริกกุ้งเสียบ, น้ำยาปักษ์ใต้ ฯลฯ อาหารภาคใต้นั้นได้รับอิทธิพลมาจากพวกมาลายู และอินเดีย นิยมรับประทานคู่กับผักสด
ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย จะได้รับอิทธิพลมาจากมอญ, อินเดีย และขอม แต่จะมีเอกลักษณ์ด้านความงาม ความประณีต และความผูกพันธ์กับพุทธศาสนา ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมไทยได้แก่
การไหว้ เป็นประเพณีไทยการทักทายที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย แสดงออกถึงการมีสัมมาคารวะ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การไหว้ยังมีความหมายอื่นด้วย เช่น การขอบคุณ, การขอโทษ และการกล่าวลา เป็นต้น
โขน นับเป็นนาฎศิลป์เก่าแก่ของประเทศไทย ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัว นาง, พระ และเทวดา ซึ่งแสดงออกโดยใช้ท่ารำที่อ่อนช้อย ดำเนินเนื้อเรื่องด้วย บทพากย์ และบทเจรจา เป็นต้น
ประพณีสงกานต์ เป็นประเพณีที่เก่าแก่ของประเทศไทย เป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ไทย มีการรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่, สรงน้ำพระ, ทำบุญตักบาตร และการละเล่นสาดน้ำที่เป็นเอกลักษณ์ ที่สนุกสนาน
แผนที่ประเทศไทย มีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ที่ใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีนในทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะคล้ายขวาน โดยภาคใต้เป็นด้านขวาน และภาคตะวันตกเป็นสันขวาน และภาคเหนือ คือ หัวขวาน และภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคมขวาน ประเทศไทยมีทั้งหมด 77 จังหวัด
ภาคเหนือ มี 9 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดเชียงราย 2. จังหวัดเชียงใหม่ 3. จังหวัดน่าน 4. จังหวัดพะเยา 5. จังหวัดแพร่ 6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7. จังหวัดลำปาง 8. จังหวัดลำพูน 9. จังหวัดอุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 20 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. จังหวัดขอนแก่น 3. จังหวัดชัยภูมิ 4. จังหวัดนครพนม 5. จังหวัดนครราชสีมา 6. จังหวัดบึงกาฬ 7. จังหวัดบุรีรัมย์ 8. จังหวัดมหาสารคาม 9. จังหวัดมุกดาหาร 10. จังหวัดยโสธร 11. จังหวัดร้อยเอ็ด 12. จังหวัดเลย 13. จังหวัดสกลนคร 14. จังหวัดสุรินทร์ 15. จังหวัดศรีสะเกษ 16. จังหวัดหนองคาย 17. จังหวัดหนองบัวลำภู 18. จังหวัดอุดรธานี 19. จังหวัดอุบลราชธานี 20. จังหวัดอำนาจเจริญ
ภาคกลาง มี 22 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดกำแพงเพชร 2. จังหวัดชัยนาท 3. จังหวัดนครนายก 4. จังหวัดนครปฐม 5. จังหวัดนครสวรรค์ 6. จังหวัดนนทบุรี 7. จังหวัดปทุมธานี 8. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 9. จังหวัดพิจิตร 10. จังหวัดพิษณุโลก 11. จังหวัดเพชรบูรณ์ 12. จังหวัดลพบุรี 13. จังหวัดสมุทรปราการ 14. จังหวัดสมุทรสงคราม 15. จังหวัดสมุทรสาคร 16. จังหวัดสิงห์บุรี 17. จังหวัดสุโขทัย 18. จังหวัดสุพรรณบุรี 19. จังหวัดสระบุรี 20. จังหวัดอ่างทอง 21. จังหวัดอุทัยธานี 22. จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคตะวันออก มี 7 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดจันทบุรี 2. จังหวัดฉะเชิงเทรา 3 .จังหวัดชลบุรี 4. จังหวัดตราด 5. จังหวัดปราจีนบุรี 6. จังหวัดระยอง 7. จังหวัดสระแก้ว
ภาคตะวันตก มี 5 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดกาญจนบุรี 2. จังหวัดตาก 3. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4. จังหวัดเพชรบุรี 5. จังหวัดราชบุรี
ภาคใต้ มี 14 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดกระบี่ 2. จังหวัดชุมพร 3. จังหวัดตรัง 4. จังหวัดนครศรีธรรมราช 5. จังหวัดนราธิวาส 6. จังหวัดปัตตานี 7. จังหวัดพังงา 8. จังหวัดพัทลุง 9. จังหวัดภูเก็ต 10. จังหวัดระนอง 11. จังหวัดสตูล 12. จังหวัดสงขลา 13. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 14. จังหวัดยะลา
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร
ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว