หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.พระนคร > ต.พระบรมมหาราชวัง > กฎหมายที่ใช้ควบคุมโรค โควิด-19 (COVID-19)
Rating: 3.7/5 (11 votes)
30. ข้อดีของไวรัสโควิด-19 (COVID-19)
31. วัคซีนต้าน โควิด-19 (COVID-19) จะพร้อมเมื่อไหร่ ?
กฎหมายที่ใช้ควบคุมโรค โควิด-19 (COVID-19)
กฎหมายที่ใช้ควบคุมโรค โควิด-19 (COVID-19) แนวทางการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
1. มาตรการทางกฎหมาย ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ในราชอาณาจักร
1.1 การเฝ้าระวังโรค กรณี โควิด-19 (COVID-19) ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย
- มาตรา 31
- มาตรา 32
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณี ที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น พ.ศ. 2560 (มีผลใช้บังคับวันที่ 22 ธ.ค. 2560) ฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 การป้องกันและควบคุมโรค กรณี โควิด-19 (COVID-19) ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย
- มาตรา 34 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ดำเนินการเอง/ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการ
- มาตรา 35 ผู้ว่าราชการจังหวัด/กทม. โดยความเห็นขอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
2. มาตรการทางกฎหมาย ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค นอกราชอาณาจักร
- มาตรา 39 เมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุสงสัยว่ามีพาหนะมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใด นอกราชอาณาจักร์ที่มีการระบาดของ โควิด-19 (COVID-19)
- มาตรา 40 เมื่อรัฐมนตรีโดยคำแนะนำองคณะกรรมการด้านวิชาการ (มาตรา 8) ประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชาอาณาจักรเป็นเขตติดโรค โควิด-19 (COVID-19)
- มาตรา 41 เจ้าของพาหนะ หรือผู้ควบคุมพาหนะ
- มาตรา 42 ในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็น หรือมีเหตุสงสัยอันควรสงสัยว่าเป็น โควิด-19 (COVID-19) หรือเป็นพาหะนำโรค
3. อำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
- มาตรา 45 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจ
4. บทกำหนดโทษ
ปรับไม่เกิน 20,000 บาท:
- มาตรา 38 ไม่อำวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
- มาตรา 39 (1) ไม่แจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะจะเข้ามาที่ด่านฯ ต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ
- มาตรา 39 (2) ไม่ยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ
- มาตรา 39 (3) เข้าไปในหรือออกจากพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจ นำพาหนะอื่นเข้าเทียบพาหนะนั้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ
- มาตรา 39 (4) ไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ ในการตรวจ ผู้เดินทาง/สิ่งของ/สัตว์ที่มากับพาหนะ
- มาตรา 39 (5) นำผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการเข้ามาในราชอาณาจักร
- มาตรา 40 (5) นำวัตถุ สิ่งของ หรือเครื่องใช้ที่เป็นหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็นสิ่งติดโรคเข้าไปหรือออกจากพาหนะโดย ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ
- มาตรา 45 (3) ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- มาตรา 18 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติคณะกรรมการ ด้านวิชาการ หรือคณะอนุกรรมการ
- มาตรา 22 (6) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
- มาตรา 28 (6) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
- มาตรา 45 (1) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- มาตรา 34 (3) ไม่นำศพ/ซากสัตว์ไปรับการตรวจ/จัดการทางการแพทย์
- มาตรา 34 (4) เจ้าของ/ผู้ครอบครอง/ผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะไม่กำจัด ความติดโรคหรือทำลายสิ่งใด ๆ
- มาตรา 34 (7) เข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
- มาตรา 34 (8) ไม่ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเข้าไปในสถานที่หรือพาหนะที่มี/สงสัยว่ามี โรคเกิดขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรค
- มาตรา 35 ขัดคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด/กทม. ที่สั่งปิดสถานที่ใด ๆ/สั่งห้ามผู้ที่เป็นหรือสงสัย ว่าเป็นโรคเข้าไปในสถานที่ใด ๆ/สั่งห้ามประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว
- มาตรา 40 (3) ฝ่าฝืนไม่ให้มีการแยกกัก/กักกัน/คุมไว้สังเกต/รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ณ สถานที่และระยะเวลาที่กำหนด
- มาตรา 40 (4) เข้าไปในหรือออกจากพาหนะหรือที่เอกเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ
จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- มาตรา 40 (2) เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะไม่จัดให้พาหนะจอดอยู่ ณ สถานที่ ที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ กำหนด
ข้อควรปฎิบัติในการป้องกันการแพร่เชื้อ โควิด-19 (COVID-19)
1. งดเดินทาง หรือเลื่อนการเดินทาง ไปยังประเทศที่มีรายงานพบการแพร่เชื้อในชุมชนในประเทศ และประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
2. ล้างมือบ่อย ๆ กินร้อน ช้อนกลาง ใส่หน้ากากอนามัย
3. หากมีความจำเป็นต้องเดินทาง ระหว่างทางหากมีไข้ให้แจ้งแพทย์ หรือสถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ โดยด่วน
4. หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทย ควรหยุดงาน หรือหยุดเรียนเพื่อกักบริเวณตนเองที่บ้าน 14 วัน
คำแนะนำสำหรับผู้พบอาการเสี่ยง หลังกลับจากการเดินทาง 14 วัน
1. อยู่แต่ในที่พัก และจำกัดคนเยี่ยม
2. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
3. แยกห้องนอน/ห้องน้ำ หากไม่สามารถแยกหน้องน้ำได้ ควรใช้เป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง
4. ไอ และจามใส่กระดาษทิชชู
5. ล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ ทิชชูเปียก หรือเจลล้างมือทันที
6. เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท
7. งดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และแยกของใช้ส่วนตัว
8. ล้างจานด้วยน้ำยาล้างจานก่อนใช้เสมอ
9. ยืนห่างจากผู้อื่นมากกว่า 4 เมตร
10. หากต้องออกจากบ้านไม่ควรใช้รถโดยสารสาธารณะ
หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือปฎิบัติงานไม่เหมาะสมร้องเรียนได้ที่: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ([email protected])
โควิด-19 คืออะไร?
คำถามที่พบบ่อยของไวรัสโควิด-19
1. อาการของโรคโควิด 19 คืออะไร
ตอบ อาการที่พบมากที่สุด คือ ไข้ เหนื่อยล้า และไอ บางรายอาจมีการปวดเมื่อย น้ำมูกไหล คัดจมูก และท้องเสีย โดยอาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงนัก และค่อยเริ่มมีอาการทีละน้อย ผู้ติดเชื้อส่วนมากประมาณ 80% มักไม่แสดงอาการ และแสดงอาการภายหลังเมื่อปอดติดเชื้อเรียบร้อยแล้ว อาการหนัก หายใจลำบาก และหากมีโรคประจำตัว เช่น ความดัน, โรคเบาหวาน จะมีแนวโน้มอาการป่วยรุนแรงกว่า
2. วิธีป้องกันการติดเชื้อโควิด-19
ตอบ 1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ 2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง 3. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ 4. ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง
3. ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบครั้งแรกที่ประเทศใด
ตอบ ไวรัสในกลุ่มโคโรนาที่เพิ่งมีการค้นพบใหม่ (ไม่เคยมีการพบเชื้อนี้ในคนมาก่อน) โดยพบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019
4. โรคโควิด-19 แพร่ระบาดได้อย่างไร
ตอบ โรคนี้สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยไอ จามหรือหายใจ ฝอยละอองเหล่านี้จะตกลงสู่วัตถุหรือพื้นผิวรอบๆ จากนั้นเรารับเชื้อได้ด้วยการสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุเหล่านั้นแล้วมาจับตา จมูกหรือปากของเราเอง เรายังสามารถรับเชื้อโดยตรงได้จากการหายใจเอาฝอยละอองของผู้ป่วยเข้าไปเมื่อผู้ป่วย ไอ จาม หรือหายใจออก เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะรักษาระยะห่างจากผู้ป่วยอย่างน้อย 1 เมตร หรือ 3 ฟุต
5. มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในไทย
ตอบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยประเทศไทยมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเข้มข้นทุกด่าน เพื่อรับคนไทยกลับเข้าประเทศตามจำนวนที่กำหนดในแต่ละวัน ขณะนี้แต่ละจังหวัดมีความพร้อมในการดูแลคนไทยที่จะกักตัว (Quarantine) ในสถานที่ที่รัฐกำหนด เป็นเวลา 14 วันตามมาตรการที่กำหนด
6. ท่านควรป้องกันตัวเองจากโรคไวรัสโคโรนาได้อย่างไร
ตอบ - ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ถึงแม้มือจะไม่มีคราบสกปรกก็ตาม เนื่องจาก การล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือการใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์นั้น สามารถกำจัดไวรัสที่อาจจะตกค้างอยู่ที่มือของท่านได้
- รักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร หรือ 3 ฟุต โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไอ จาม หรือมีไข้ เนื่องจาก ขณะที่ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 การไอ หรือจาม จะทำให้มีเชื้อไวรัสติดออกมากับละอองที่เกิดจากการไอหรือจาม หากท่านอยู่ใกล้คนเหล่านี้มากเกินไป ท่านอาจจะหายใจเอาไวรัสเหล่านั้นเข้าไป
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูกและปาก เนื่องจาก การสัมผัสอวัยวะเหล่านี้อาจจะทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส หากท่านเอามือสัมผัสกับตา จมูกและปาก จะทำให้ไวรัสเข้าสู่ตัวท่านได้
7. คนที่เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19
ตอบ กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่ คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก) ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ
8. เราจะสามารถติดเชื้อโควิด 19 จากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการได้หรือไม่
ตอบ เนื่องจากโรคนี้แพร่ทางฝอยละอองจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม ความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด 19 จากผู้ที่ไม่มีอาการเลยจึงต่ำ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโควิด 19 จำนวนมากมีอาการเพียงเล็กน้อยโดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะติดเชื้อจากผู้ป่วยที่ไอไม่มากหรือรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย
9. ความเสี่ยงที่เชื้อ COVID-19 จะแพร่กระจายจากการติดอยู่บนสิ่งของ
ตอบ เชื้อ COVID-19 สามารถแพร่กระจายผ่านสิ่งของที่แปดเปื้อนเชื้อโรคได้ อยู่ได้นานหลายวันหากไม่มีการทำความสะอาด ยกตัวอย่างอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในที่สาธารณะ เช่น ลูกบิดประตู และมือจับประตู ก๊อกน้ำ ราวจับรถสาธารณะ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีการแปดเปื้อนผ่านมือแล้วจับโทรศัพท์มือถือ หากใช้มือสัมผัสสิ่งของแล้วนำมาแตะบริเวณหน้า หรือหยิบอาหารเข้าปาก สามารถติดเชื้อได้เช่นเดียวกับการสัมผัสเชื้อจากผู้ป่วยโดยตรง จึงควรต้องระมัดระวัง ทำความสะอาดพื้นผิวที่อาจแปดเปื้อนบ่อยๆ และล้างมือบ่อย ๆ
10. ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คือ
ตอบ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคน
11. ไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อยู่ได้กี่ชั่วโมง
ตอบ ไวรัสโคโรนาสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานาน 2 ชั่วโมง - 9 วัน เพื่อป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อม จึงควรใช้สารที่มีประสิทธิภาพในการกาจัดเชื้อได้ใน ระยะเวลาสั้น
12. เรามีแนวโน้มจะติดโควิด 19 มากน้อยแค่ไหน
ตอบ ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับว่าท่านอยู่ที่ไหน และยิ่งไปกว่านั้น เป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่องหรือไม่สำหรับคนส่วนมากในพื้นที่ส่วนใหญ่ ความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 ยังถือว่าต่ำ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีหลายพื้นที่ในโลก (เมืองหรือพื้นที่)ที่โรคกำลังแพร่กระจายอยู่ ดังนั้นสำหรับคนที่อยู่อาศัยในเมืองหรือพื้นที่นั้นๆและคนที่ไปยังเมืองหรือพื้นที่นั้นๆความเสี่ยงของการติดเชื้อย่อมมีสูงกว่า
13. เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีระยะฟักตัวนานเพียงใด
ตอบ ระยะฟักตัวหมายถึงระยะเวลาที่มีการติดเชื้อจนถึงระยะที่เริ่มมีการแสดงอาการของโรค ปัจจุบันคาดว่าระยะฟักตัวของโรคใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 14 วัน โดยค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5 วัน
14. มาตรการคัดกรองและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นอย่างไร
ตอบ กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มมาตรการคัดกรองและเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษทุกด่านตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. 2563 จนถึงปัจจุบัน โดยตรวจคัดกรองอุณหภูมิของผู้เดินทางเข้าประเทศจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 หากพบว่ามีไข้เกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ก็จะดำเนินการประเมินความเสี่ยงและกักกันโรค ถ้ามีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
15. แนวโน้มของสถานการณ์ไวรัสโคโรนาจะเป็นอย่างไร
ตอบ เนื่องจากสถานการณ์แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่และประเทศ แต่โดยส่วนใหญ่อยู่ในระยะต้น จึงยังต้องมีการติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องต่อไปอย่างใกล้ชิด สามารถติดตามข้อมูลสถานการณ์การระบาดได้ที่เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข หรือกรมควบคุมโรค และข้อมูลการระบาดของประเทศต่างๆ จากเว็บไซต์องค์การอนามัยโลก
16. เบอร์โทร สายด่วน Corona virus
ตอบ หากมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่ สายด่วน Hot Line 1881 ตลอด 24 ชั่วโมง
17. สถานที่ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ที่ไหน
ตอบ สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปัจจุบันการตรวจทางห้องปฏิบัติการมีการกำหนดพื้นที่ดังนี้ พื้นที่เขตสุขภาพที่ 1-12 ให้ส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ พื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรุงเทพมหานคร ส่งตรวจคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช, คณะแพทย์ศาสตร์ โรามาธิบดี, คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์, โรงยาบาลราชวิถี
18. ชื่ออย่างเป็นทางการของเชื้อไวรัส COVID-19
ตอบ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
19. ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 เหมือนโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) หรือไม่
ตอบ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้ไม่ใช่ไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรงหรือ SARS ถึงแม้ไวรัสทั้งสองชนิดนี้มาจากวงศ์เดียวกันแต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกัน โรค SARS เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตกว่าแต่อัตราการติดเชื้อต่ำกว่าโควิด 19
20. ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เหมือนไวรัสโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางและโรคซาร์สหรือไม่
ตอบ ไม่เหมือน เนื่องจากตระกูลโคโรนาไวรัส เป็นสาเหตุการป่วยในคนและในสัตว์ เช่น อูฐ แมว คางค้าว ซึ่งไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ไม่เหมือนกับไวรัสโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือ ไวรัสโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS)
21. ในการขอตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาทางห้องปฏิบัติการมีค่าใช้จ่ายเท่าไร
ตอบ ค่าตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ตั้งแต่ 2,500 - 13,000 บาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการป้องกันตนเองของบุคลากรตามระดับความเสี่ยงของผู้รับบริการ, ค่าขนส่งตัวอย่าง เนื่องจากบางโรงพยาบาลไม่ได้ทำการตรวจด้วยตนเอง
22. แอลกอฮอล์กี่เปอร์เซ็นต์ฆ่าเชื้อโควิดได้
ตอบ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) 70 เปอร์เซ็นต์ สามารถทำลายเชื้อไวรัสชนิดที่มีชั้นไขมันหุ้ม เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสเริม รวมทั้งไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ระเหยง่ายในอุณหภูมิห้อง มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
23. New Normal คืออะไร
ตอบ ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย
รูปแบบวิถีชีวิตใหม่นี้ ประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติและการจัดการ การใช้ชีวิตแบบใหม่เกิดขึ้นหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงและรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าจะธำรงรักษาวิถีดั้งเดิมหรือหวนหาถึงอดีต
การปรับหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ ควบคู่ไปกับความพยายามรักษาและฟื้นฟูศักยภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ นำไปสู่การสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ มีการปรับแนวคิด วิสัยทัศน์ วิธีการจัดการ ตลอดจนพฤติกรรมที่เคยทำมาเป็นกิจวัตร เกิดการบ่ายเบนออกจากความคุ้นเคยอันเป็นปกติมาแต่เดิมในหลายมิติ ทั้งในด้านอาหาร การแต่งกาย การรักษาสุขอนามัย การศึกษาเล่าเรียน การสื่อสาร การทำธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งสิ่งใหม่เหล่านี้ได้กลายเป็นความปกติใหม่ จนในที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป ก็ทำให้เกิดความคุ้นชินก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตปกติของผู้คนในสังคม
24. ติดโควิดแต่หายแล้ว ใช้ชีวิตปกติได้เลยมั้ย
ตอบ มีความเป็นไปได้สูงมากว่าผู้ที่หายไข้หรือไม่มีอาการแล้วจะยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกาย ทั้งนี้เป็นสิ่งที่ต้องศึกษากันไปอีกระยะหนึ่ง แต่ข้อมูลวิจัยเพียงเล็กน้อยจากเยอรมันพบว่าการติดเชื้อ COVID-19 10 วันแรก ผู้ป่วยที่ฟื้นตัวอาการจะไม่รุนแรง จะพบว่ามีเชื้อในร่างกายต่ำกว่าตอนพบเชื้อในครั้งแรก ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายเหมือนมีอาการดีขึ้น แต่หลังจากนั้นกลับไปมีอาการป่วยอีก ดังนั้นจึงยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่าผู้ที่ดูเหมือนมีอาการเป็นปกติแล้วจะยังมีเชื้ออยู่ในร่างกายหรือไม่
25. ถ้าเคยเป็น COVID-19 แล้วเป็นซ้ำอีกได้หรือไม่
ตอบ เมื่อติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วและหายโดยสมบูรณ์หมายความว่าร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้ได้ชั่วขณะ หรือสร้างขึ้นมาต้านทานได้ต่อเนื่อง แต่ทว่ากลับพบมีการติดเชื้อซ้ำในหญิงชาวญี่ปุ่นวัย 40 ปี ที่ได้รับอนุญาตจากโรงพยาบาลโอซาก้าให้กลับบ้าน และพบในเคสของผู้โดยสารเรือ Diamond Princess และชาวเกาหลีใต้อีกคนหนึ่ง แต่ที่น่ากังวลก็คือ พบผู้ป่วยที่กลับมาตรวจพบเชื้อโควิด-19 รอบสองถึง 14% ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าหากติดเชื้อแล้วจะติดซ้ำอีก เพราะไม่ได้ตรวจแบบยืนยัน แม้กระทั่งอาจเกิดข้อผิดพลาดในการตรวจ หรืออาจเป็นเพราะไวรัสหยุดออกฤทธิ์ไปชั่วขณะยังไม่ได้หายไปจริงๆ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ก็ยังไม่สามารถสรุปอย่างชัดเจน ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป ส่วนผลกระทบด้านสุขภาพอื่นๆ ได้มีข้อสังเกตว่าผู้ป่วยโควิด-19 จะมีความจุของปอดลดลง และโรงพยาบาลในฮ่องกงพบว่า ผู้ป่วยสองในสามจะมีการทำงานของปอดลดลง 20-30% แต่บางส่วนสามารถรักษาได้ด้วยวิธีกายภาพบำบัด
26. ประกันชีวิตโควิด 19 มีที่ไหนบ้าง
ตอบ
ตอบ
27. Covid-19 ย่อ มา จากอะไร
ตอบ องค์การอนามัยโลกได้ระบุชื่อของโรคที่เกิดจากไวรัสว่า "COVID-19" (อ่านว่า โควิด นายที่น) ซึ่งย่อมาจาก "coronavirus disease 2019" หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสองพันสิบเก้า)
28. Social Distancing คืออะไร
ตอบ ในความหมายตามหลักสุขภาพสาธารณะ (Public-health) Social Distancing จะหมายถึงการลดการสัมผัส ใกล้ชิด ระหว่างตนเอง และผู้อื่น รวมไปถึงคนในครอบครัว เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคติดต่อต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด วัณโรค รวมไปถึง COVID-19 ที่กำลังระบาดในตอนนี้ด้วย
นอกจากนี้ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคใด ๆ ก็ควรทิ้งระยะห่างทางสังคมในการอยู่ร่วมกันในพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น โรงเรียน ขนส่งสาธารณะ บริษัทขนาดใหญ่ งานอีเวนต์ หรือพื้นที่ใด ๆ ก็ตามที่มีผู้คนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เพราะจัดเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรคติดต่อได้
29. รายงานสถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทย ประจำวัน
ตอบ
30. ข้อดีของไวรัสโควิด-19 (COVID-19)
ตอบ 1. มลพิษในอากาศลดลงทั่วโลก
2. ธุรกิจออนไลน์ไทยโตพุ่ง 79%
31. วัคซีนต้าน โควิด-19 (COVID-19) จะพร้อมเมื่อไหร่ ?
ตอบ Sars-CoV-2 เป็นเชื้อโรคใหม่ในมนุษย์และการพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันที่ทำจากสารพันธุกรรม RNA หรือ DNA ยังไม่เคยได้รับการพัฒนาและได้รับอนุมัติจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการพัฒนาวัคซีน COVID-19 จะต้องได้รับการทดสอบเหมือนวัคซีนใหม่ แม้ว่าจะมีการผลักดันให้ทำสิ่งต่างๆ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่การพัฒนาวัคซีนในครั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่ไม่สามารถใช้ทางลัดได้
เว็ปไซต์ : https://ddc.moph.go.th
โทร : 1422
หมวดหมู่: หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว
กลุ่ม: หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว
ปรับปรุงล่าสุด : 4 ปีที่แล้ว