
หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก

Rating: 2.9/5 (12 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก ประวัติความเป็นมา บ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง เป็นหมู่บ้านที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาเเน่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 และ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งสองหมู่บ้านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว เพราะเป็นเเหล่งผลิตมีดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาเกือบสองร้อยปี
กลุ่มชาติพันธุ์ ชาวบ้านต้นโพธิ์และชาวบ้านไผ่หนอง รกรากถิ่นฐานเป็นชาวเวียงจันทน์ ประเทศลาว ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยประมาณช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทางช่าง มีช่างทำทองกับช่างตีเหล็ก คือ คนไหนเเข็งเเรงก็ได้ตีเหล็ก คนไหนอ่อนแอมีความละเอียดให้ตีทองคำ เครื่องอาภรณ์ประดับกาย การทำมาหากิน ในสมัยนั้นอาชีพทั้งสองทำกันเป็นล่ำเป็นสันตลอดมา
ครั้นต่อมาในราวพ.ศ.2365 อาชีพช่างทองก็ได้เลิกลาสลายตัวไป คงเหลือเเต่อาชีพตีมีดประเภทเดียว ชาวบ้านจึงยึดอาชีพตีมีดเป็นอาชีพหลัก ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นปะปนเลย ข้อสังเกตุที่เป็นหลักฐานว่าชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้มีอาชีพช่างทองคือ ถ้าเรานำดินที่ชุมชนเเห่งนี้ลงร่อนในน้ำก็จะพบเศษทองและขี้ตะไบทองอยู่ทั่วไป
ความเป็นมาการตั้งถิ่นฐาน เหตุที่ชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยจะโดยถูกกวาดต้อนมาในสมัยเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกคราวยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์หรือจะเป็นการอพยพมาเองนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนเเต่มีหลักฐานบันทึกไว้ว่าเข้ามาโดยมีนายเทาเป็นผู้นำ (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนนราบริรักษ์”) ได้เดินทางมาพบภูมิประเทศเเห่งนี้ เป็นที่เหมาะสมเเก่การประกอบอาชีพคือ เดิมเป็นดงไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่หนาเเน่น มีหนองน้ำ และแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน
สมัยนั้นไม่มีถนนหนทางเหมือนปัจจุบันนี้ จะต้องต้องอาศัยทางน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการคมนาคมโดยเฉพาะ ไม้ไผ่นั้นเป็นวัสดุที่สำคัญมากสำหรับช่างตีมีด เพราะไม้ไผ่มีประโยชน์อยู่ในตัวของมันนานับประการ เช่น นำมาเผาถ่านใช้เผาเหล็ก ก็เพราะถ่านไม้ไผ่ให้ความร้อนสูงกว่าไม้ชนิดอื่น ต้น ลำ ใช้ทำบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ทำด้ามพะเนิน ด้ามค้อนเเละด้ามมีด โดยช่างตีเหล็กต้องใช้อยู่เป็นประจำ
จึงเห็นว่าภูมิประเทศเเห่งนี้นั้นเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเเหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์จึงพร้อมใจกันลงหลักปักฐาน เเละได้ประชุมหารือกันตั้งชื่อบ้านของตนว่า “บ้านไผ่หนอง” เพื่อให้เป็นการเหมาะสมกับภูมิประเทศเเต่ก่อนนั้น สำหรับบ้านต้นโพธิ์ โดยคนเก่าคนเเก่เล่าว่า เมื่อมาถึงทำเลนี้มีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่กลางหมู่บ้านจึงตั้งชื่อว่า “บ้านต้นโพธิ์” ครั้นเมื่อกาลเวลาล่วงมาบ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพของหมู่บ้านก็ได้เปลี่ยนเเปลงไป ซึ่งดงไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นก็โล่งเตียนกลายเป็นท้องไร่ท้องนา หนองน้ำก็ตื้นเขินไปหมดเเล้ว
เกียรติประวัติของชุมชน สมัยรัชกาลที่ 3 เเผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อราวพ.ศ.2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เสด็จมาถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มาขอให้ชาวเวียงจันทน์กลับประเทศ เเต่ชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้ไม่ยอมกลับขออยู่ใต้ร่มโพธิสมภาร เพราะพระองค์ให้ความผาสุขร่มเย็น พสกนิกรของพระองค์ตลอดมาก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ ชื่อเสียงการตีมีดก็เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ชาวบ้านจึงมีฐานะที่มั่นคง มีการอยู่ดีกินดี ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าล้นกระหม่อม
สมัยรัชกาลที่ 5 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทราบว่าบ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนองเป็นหมู่บ้านตีมีด พระองค์พร้อมด้วยพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ได้เสด็จทอดพระเนตรการตีมีดของชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้ จึงได้ปลูกพลับพลาที่ประทับอย่างสมพระเกียรติ เเละได้เกณฑ์ชาวบ้านมาทำการตีมีดให้พระองค์ทรงทอดพระเนตร พระองค์ท่านสนพระทัยเเละทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก
ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ได้ทรงทอดพระเนตรการทำมีดอรัญญิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ .2519 เเละเมื่อปีพ.ศ.2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จนำนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ โดยมาทอดพระเนตรการตีมีดเเละเมื่อปี พ.ศ 2537 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ นั้นทรงนำครอบครัวมาทัศนศึกษาการตีมีดที่ชุมชนเเห่งนี้เช่นกัน
ที่มาของคำว่ามีดอรัญญิก โดยในสมัยก่อนมีตลาดร้านค้า มีโรงบ่อน อยู่ที่บ้านอรัญญิก ตำบลปากท่า อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านต้นโพธิ์เเละหมู่บ้านไผ่หนองมากนัก ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร จึงมีผู้คนนำสินค้ามาซื้อขายเเลกเปลี่ยนกันมากในยุคนั้นชาวบ้านก็นำเอามีดไปขาย โดยเมื่อคนที่ซื้อไปใช้เห็นว่าคุณภาพดีจึงบอกต่อๆกันไปว่ามีดคุณภาพต้องมีดอรัญญิก เลยเรียกติดปากไปหาซื้อมีดต้องไปที่อรัญญิก อันที่จริงเเล้วทำที่หมู่บ้านต้นโพธิ์ หมู่บ้านไผ่หนองเเละหมู่บ้านอื่นๆ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “มีดอรัญญิก”
ลักษณะโดยทั่วไปของผลิตภัณฑ์มีดอรัญญิก มีอยู่ด้วยกัน 4 ตระกูล ได้แก่ มีดตระกูลคหกรรม มีดตระกูลอาวุธ มีดตระกูลเกษตรกรรม และมีดตระกูลอื่นๆ แต่ละตระกูลสามารถจำแนกตามการใช้งานได้อีก 12 ประเภท โดยในแต่ละประเภทประกอบไปด้วยชนิดของมีดต่างๆ อีกมากมาย โดยหลากหลายไปตามขนาดและความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ในการผลิตของชิ้นส่วนและองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งจากการศึกษาปรากฏว่ามีถึง 274 ชนิด
ประเพณี เเละวัฒนธรรม มีประเพณี เเละวัฒนธรรมไทยที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมาตั้งเเต่สมัยบรรพบุรุษ คือ งานมาฆบูชา บุญวิสาขบูชา บุญเข้าพรรษา บุญกฐิน บุญตักบาตรดอกไม้ บุญสงกรานต์ บุญเข้าสลาก บุญออกพรรษา บุญมหาชาติ เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณี เเละวัฒนธรรมของชนชาติไทยทั่วไปที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำ
เเต่ยังมีประเพณีหนึ่งที่ขาดไม่ได้เป็นประเพณีที่น่าประทับใจของชุมชนฯ เเละถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญมากคือ การไหว้ครู หรือไหว้ครูบูชาเตา ซึ่งปกติเเล้วจะทำกันทุกหมู่บ้าน เมื่อทำบุญบำเพ็ญกุศล ตรุษเเละสงกรานต์ ผู้ใหญ่จะประชุมหารือกำหนดวันไหว้ครู ส่วนมากกำหนดวันข้างขึ้นเดือนหกตรงกับวันพฤหัสบดีเมื่อหารือกันดีเเล้วทุกบ้านจะลงมือซ่อมเเซมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆให้เรียบร้อยก่อนกำหนดหนึ่งหรือสองวันเเละทำความสะอาดเครื่องมือเเล้วนำมาวางไว้ในที่อันสมควร
เตาเผาเหล็กจะต้องปั้นขึ้นใหม่ เเละจัดเตรียมเครื่องสังเวยไหว้ครูอย่างครบครัน มีเครื่องบูชาพระพุทธเเต่งเป็นขันห้า พอรุ่งอรุณของวันพฤหัสบดี เขาจะนำเครื่องบูชาเเละอาหารคาวหวานเป็นเครื่องบูชา บูชาพระภูมิ เเม่ธรณี
ส่วนเครื่องสังเวยต่าง ๆ ที่ได้ตระเตรียมไว้จะต้องนำมาวางไว้ที่เครื่องมือ จากนั้นเเล้วจัดทำพิธีสวดโองการเชิญเทพเจ้ามาเป็นศิริมงคล เเล้วผู้ใหญ่ในเรือนนั้นจะเรียกลูกหลานมาบูชากราบไหว้ โดยขอพรอันศักดิ์สิทธิ์อันเป็นศิริมงคลเเก่ทุกคน สำหรับในวันนั้นทุกบ้านจะต้อนรับทุกคนที่มาเยือน ชุมชนเเห่งนี้ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ จึงนับเป็นประเพณีอันดีงามในวันนั้นเขาถือว่าเป็นมงคล เรื่องอัปมงคลจะไม่เกิดขึ้นเลย
การเดินทาง โดยปัจจุบันการเดินทางสะดวกมาก จะมีรถยนต์วิ่งถึงหมู่บ้านโดยจะต้องเดินทาง เมื่อเข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีรถประจำทางจอดอยู่ที่ตลาดเจ้าพรหม จะเห็นป้ายติดหน้ารถว่า “ อยุธยาถึงท่าเรือ” โดยรถจะออกจากตัวเมืองไปทางถนนสายเอเชีย (ทางหลวงเเผ่นดินหมายเลข 32)
จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายเอเชียไปทางจังหวัดนครสวรรค์ โดยเลยโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชฯไปประมาณ 1๐๐ เมตร เลี้ยวซ้ายลอดใต้สะพานที่จะข้ามเเม่น้ำป่าสัก เข้าถนนสายอำเภอนครหลวง ซึ่งตลอดทางมีป้ายบอกที่ตั้งชุมชนฯ ทั้งสองเป็นระยะ หรือถ้าต้องการจะเดินทางไปโดยทางน้ำ โดยจะต้องลงเรือในตัวจังหวัดที่หน้าวังจันทรเกษม ย้อนขึ้นไปตามเเม่น้ำป่าสัก ผ่านโรงงานวัตถุระเบิดช่างเเสง




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage