หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.เพชรบุรี > อ.เมืองเพชรบุรี > ต.บ้านกุ่ม > พิธีกวนข้าวทิพย์ของวัดบันได


เพชรบุรี

พิธีกวนข้าวทิพย์ของวัดบันได

พิธีกวนข้าวทิพย์ของวัดบันได

Share Facebook

Rating: 3.3/5 (7 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา วันขึ้น 13-14 ค่ำ เดือน 6
 
ความสำคัญ พิธีกวนข้าวทิพย์ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีไทยสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในหมู่ของชาวพุทธทั่วไป เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ในวันขึ้น 14 ค่ำ แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ 1 วัน โดยถือว่ามีผลานิสงฆ์มาก ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงพร้อมใจกันกวนข้าวทิพย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เทิดทูนพระเกียรติคุณด้วยความกตัญญูกตเวทิตาธรรม
 
ข้าวทิพย์มธุปายาสนี้เชื่อกันว่า เมื่อได้ทำครบถ้วนตามพิธีแล้ว ก็จะเป็นสิริมงคลแด่ผู้ทำและผู้บริโภค จึงสมควรจะเซ่นสรวงเทพารักษ์ หากผู้ที่ได้บริโภคข้าวทิพย์แล้ว จะประสบโชคลาภต่างๆ นานา ปราศจากโรคาพยาธิ ภัยพิบัติ และประสบสิ่งที่เป็นมงคล
 
พิธีกรรม วัตถุที่กวน ได้แก่ น้ำนมโคสด (ในปัจจุบันใช้นมข้นหวานแทน) ชะเอมเทศ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลกรวด น้ำตาลหม้อ ข้าวตอก ข้าวเม่า ธัญพืชต่าง ๆ ที่คั่วสุก งา ถั่ว ลูกเดือย เมล็ดแตง เผือกมัน เมล็ดบัว มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก่ ผลไม้สด ผลไม้แห้ง เช่น มะม่วง กล้วย ละมุด ลำไย ทุเรียน ส้ม ขนุน เป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมเท่าที่จะหาได้หรือปรับปรุงให้มีรสชาติ หอมหวาน อร่อย ตามความต้องการของผู้กวนในแต่ละท้องถิ่น บางท้องที่อาจใช้ผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีการจัดเตรียมการในพิธีกวนข้าวทิพย์ ต้องจัดเตรียมสิ่งสำคัญ ดังนี้
 
ต้องปลูกโรงพิธีขึ้น 1 หลัง โดยให้กว้างใหญ่พอสมควร เพื่อตั้งโต๊ะบูชาพระพุทธรูป อาสน์สงฆ์ โต๊ะบูชาเทวรูป และที่ซึ่งผู้เข้าร่วมพิธี คือ พราหมณ์ โหร (ผู้ที่มีความรู้ในพิธีกรรมอย่างดี) เทพยดา, นางฟ้า, นางสุชาดา, สาวพรหมจารี และทายก ทายิกา ฯลฯ นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และก่อเตาตั้งกะทะกวนภายในโรงพิธี โดยจัดหาพายสำหรับกวนกะทะละ 3 เล่ม จัดหาฟืนให้เพียงพอและตากให้แห้งสนิท โรงพิธีทาสีขาว เครื่องประดับตกแต่งควรใช้เครื่องขาว ซึ่จะตั้งราชวัฏ ฉัตร ธง ผูกต้นกล้วย อ้อย ทั้ง 4 มุม หรือครบ 8 ทิศยิ่งดี จากนั้นแล้วยกศาลเพียงตาขึ้นไว้ในทิศที่เป็นศรีของวัน คือ ทิศที่เทวดาสถิตในวันกวน ซึ่งตั้งเครื่องสังเวย คือ หัวหมู, บายศรี, เป็ด, ไก่, ขนมต้มแดง, ขนมต้มขาว, มะพร้าวอ่อน, กล้วย และมีการจัดที่นั่ง การให้โหร นั่ง 1 ที่ และจัดให้เทวดาและนางฟ้านั่งเรียงแถวหน้ากระดานดังนี้
 
แถวที่ 1 จัดให้ท้าวมหาพรหมกับพระอินทร์นั่งข้างหน้า
แถวที่ 2 มหาราชทั้งสี่
แถวที่ 3 นางฟ้า
แถวที่ 4 นางสุชาดา นั่งข้างหน้าสาวพรหมจารี
 
- จัดเตรียมตะลอมพอก หรือยอดเทวดา 6 ยอด ที่สมมติว่าเป็นท้าวมหาพรหม พระอินทร์ (ท้าวสักกะ) ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวเวสวัณ มงกุฎนางฟ้า 4 และมงคลสวมศีรษะสาวพรหมจารี ใช้มงคลด้ายแบบมงคล ตัดจุก หรือใช้ดอกมะลิร้อยให้เป็นวงกลม เรียก มงคลดอกไม้ ให้ครบจำนวนเตาละ 2 คน สมมติว่าเป็นบริวารของนางสุชาดา
 
ศาสนพิธีจัดที่บูชา 2 ที่ คือ
- โต๊ะบูชาพระพุทธรูปหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หรือทิศเหนือ ถ้าสถานที่ไม่อำนวย มีไม้มหาโพธิ์ใส่กระถางตั้งไว้ด้านหลังพระพุทธรูป ส่วนประกอบอื่นเหมือนการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาทั่วไป
 
- โต๊ะบูชาเทวรูป มีพระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์ เป็นต้น ตามสุดแต่จะหาได้ พระฤาษี 5 ตน แต่ถ้าหายากก็ต้องให้ได้อย่างน้อย 1 ตน สมมติเป็นฤาษีกไลยโกฏ มีเครื่องบูชาเช่นเดียวกัน โดยจัดตั้งอาสนะสงฆ์ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปให้สูงกว่าพื้นที่สัปบุรุษทายกทายิกา และผู้เข้าร่วมพิธีนั่ง
 
การแต่งกาย โหราจารย์ ให้นุ่งผ้าขาวโจงกระเบน โดยให้สวมเสื้อชั้นในชั้นนอกสีขาว แขนยาว มีสไบเฉียง 1 ผืน โดยถ้ามีเสื้อครุยให้สวมเสื้อครุยแทนสไบเฉียง ส่วนเทวดานั้นก็แต่งตัวเหมือนกับโหราจารย์ นางฟ้า จึงควรเลือกสตรีสาวรูปงามใส่ นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง และสวมมงกุฎ
 
นางสุชาดาและสาวพรหมจารี นั้นจะแต่งชุดขาวทั้งชุด นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง โดยนางสุชาดาควรเป็นหญิงที่มีสามีแล้ว แต่สาวพรหมจารีควรเป็นเด็กหญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน หรือสตรีที่ยังไม่เคยต้องประเวณี และต้องกราบพระเป็นและรับศีลได้แต่จะพบว่าปัจจุบันความเคร่งครัดในเรื่องการแต่งกายได้ลดลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ โดยผู้เข้าร่วมพิธีจึงแต่งกายสวยงามตามสมัยนิยมแทนก็มีพระปริตรใช้สวดในพิธี ได้แก่ เจ็ดตำนาน ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร และมหาสมยสูตร
 
เจ็ดตำนานกับธรรมจักรกัปปวัตนสูตรใช้สวดก่อนทำพิธีกวน มหาสมยสูตรสวดเมื่อกำลังกวนปี่พาทย์และฆ้องชัยปี่พาทย์บรรเลงเมื่อก่อนเจริญพระพุทธมนต์แล เมื่อจบแล้ว เมื่อสวมตะลอมพอกหรือสวมยอดมงกุฎแลมงคล เมื่อพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เมื่อออกเวียนทักษิณรอบโรงพิธี และเมื่อเทน้ำนมหรือเครื่องกวนลงในกะทะ
 
ฆ้องชัยตีเมื่อประกาศเชิญเทวดา เมื่อพระสงฆ์สวดมนต์จบทุกๆ บท เมื่อสวมตะลอมพอกมงกุฎแลมงคล และเมื่อนางสุชาดาเทน้ำนมและเครื่องกวนลงในกะทะ
 
กำหนดพิธีในสมัยโบราณจะทำพิธี 2 วัน คือ
พิธีตอนเย็น มีการสวดพระพุทธมนต์ (เริ่มสวดมนต์เย็น) ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 โดยพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เจ็ดตำนานและธรรมจักรฯ
 
พิธีตอนเช้า วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 โดยเมื่อก่อนจะถึงเวลากวน จะมีพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์รวมกัน และจะทำการกวนจนเสร็จ ซึ่งในกรณีที่มีการกวนจำนวนมากหลายกะทะ พอรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 โดยจัดถวายเป็นพุทธบูชาและถวายพระสงฆ์
 
ในปัจจุบันนิยมทำเสร็จภายในวันเดียว คือ วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ตอนเช้าจะมีการเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งพิธีพราหมณ์และพุทธ หลังจากนั้นก็จะทำพิธีกวนไปจนเสร็จ ซึ่งอาจเสร็จสิ้นในเวลากลางคืน พอรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก็จะทำพิธีถวายเป็นพุทธบูชา ถวายพระสงฆ์และแจกจ่ายแก่ผู้ร่วมพิธีหรือบุคคลทั่วไป
สาระ
 
ประเพณีกวนข้าวทิพย์นั้นจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความศรัทธาความเชื่อที่ยังมีอยู่ของประชาชนทั่วไป และผู้นำในชุมชนที่จะร่วมมือกันอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ เนื่องจากต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนจำนวนมาก ในการเตรียมการ การจัดหาอุปกรณ์ในการกวน แรงงานในการกวน และการเตรียมการ โดยเฉพาะเงินที่ใช้ในการจัดซื้อจัดหาสิ่งของต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งด้วยเหตุผลข้างต้นในปัจจุบันบางวัด บางท้องที่จึงเลิกประเพณีกวนข้าวทิพย์นี้ไป เพราะขาดความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 4 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/246)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(7)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(6)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(9)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(3)

น้ำตก น้ำตก(5)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(13)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(8)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(9)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)