
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน





สถานที่ท่องเที่ยวเพชรบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน นั้นเป็นพระราชวังฤดูร้อนซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยจัดเป็นพระราชวังที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองก็เพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2467 เป็นเวลา 3 เดือน และครั้งที่สองในปีเดียวกัน โดยหลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก 5 เดือนต่อมาพระองค์ก็ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง
ปัจจุบัน พระราชนิเวศน์ยังคงอยู่บนที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นค่ายพระรามหก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อพระราชนิเวศน์ทรุดโทรมลงจนถึงขั้นปรักหักพัง ความทราบฝ่าพระบาท สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
พร้อมพระราชทานกำเนิดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ เพื่อเป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูและพัฒนาพระราชนิเวศน์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
พระราชนิเวศน์แห่งนี้ นั้นมีตำนานที่เล่าขานต่อ ๆ สืบเนื่องมาจากเมื่อคราวที่พระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ทรงพระครรภ์นั้น โดยพระมหาธีรราชเจ้าทรงพระเกษมสำราญยิ่งด้วยทรงมุ่งหวังว่าจะทรงมีพระราชปิโยรส แต่ความหวังทั้งมวลก็สิ้น สลายเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ นั้นไม่สามารถมีพระประสูติกาลได้ โดยยามนั้นพระองค์ท่านทรงอภิบาลพระมเหสีด้วยน้ำพระทัยเป็นห่วงและเศร้าสร้อย ณ พระที่นั่งสมุทรพิมานแห่งนี้ อย่างไรก็ดี พระราชนิเวศน์นั้นยังเป็นสถานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบังเกิดพระราชประดิพัทธ์ในความรักครั้งต่อมากับคุณสุวัทนา
ซึ่งต่อมาทรงสถาปนาเป็นเจ้าจอมสุวัทนา และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามลำดับ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพร้อมด้วย พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ซึ่งมีพระครรภ์พระหน่อ อีกครั้งระหว่างวันที่ 12 เมษายน ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2468การเสด็จครั้งนี้เสมือน หนึ่งการเสด็จมาเพื่ออำลาพระราชนิเวศน์ที่ทรงรักโดยแท้ เพราะเมื่อเสด็จกลับพระนคร อีก 5 เดือนพระนางเจ้าสุวัทนาฯ ประสูติพระราชธิดาแล้ว วันรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต
สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ(ไทยผสมยุโรป)สร้างด้วยไม้สักทองลักษณะเป็นอาคาร2ชั้นเปิดโล่งใต้ถุนสูงบริเวณใต้ถุนทำเป็นคอนกรีตหลังคาเป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถกันแดดและกันฝนได้ดีกว่าแบบธรรมดาเพดานยกพื้นสูงมีบานเกร็ดระบายความร้อนโดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด1080ต้นวางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐานและยกขอบขึ้นไปรางน้ำเรียกว่าบัวขอบเพื่อกันมดและสัตว์อื่นๆซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่นๆชุกชุม
พระที่นั่งทั้ง 3 องค์มีความยาวทั้งสิ้น 399 เมตร โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ท้องพระโรง เขตที่ประทับฝ่ายหน้า และเขตที่ประทับฝ่ายในโดยจะมีทางเชื่อมต่อกันโดยตลอดโดยมีพระที่นั่งองค์ต่าง ๆ ดังนี้
พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นพระที่นั่งองค์แรกตั้งอยู่ทางทิศเหนือเป็นพระที่นั่ง2ชั้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเปิดถึงกันทั้งชั้นบนและชั้นล่างด้านบนเพดานเป็นช่องสี่เหลี่ยมเขียนลวดลายโดยทั้งชั้นล่างและชั้นบนมีห้องควบคุมไฟสำหรับเวทีที่ใช้แสดงละครและมีห้องพักนักแสดงภายในมีบันไดสำหรับนักแสดงขึ้นลงโดยการแสดงจะจัดขึ้นบริเวณทิศเหนือซึ่งเป็นเวทีซึ่งยกพื้นสูงโดยเจ้านายฝ่ายในจะประทับที่เฉลียงชั้นบน
อัฒจันทร์ที่อยู่ตรงทางเข้านั้นเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทางขึ้นและทางลงแยกกันคนละทางโดยบนอัฒจันทร์มีลาดพระบาท(พรม)สำหรับเป็นทางเสด็จชั้นบน เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการ รับพระราชอาคันตุกะ และประกอบพระราชพิธีต่างๆโดยภายในห้องพระราชพิธีเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปซึ่งสร้างขึ้นภายหลังนอกจากนี้ยังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกหลายภาพ
หมู่พระที่นั่งสมุทรพิมานประกอบไปด้วยอาคารต่างๆดังนี้ อาคารด้านหน้า คือบ้านพักของเจ้าพระยารามราฆพ(หม่อมหลวง เฟื้อ พึ่งบุญ)ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กภายในประกอบด้วยห้องรับแขก ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องทำงาน
พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์ที่สอง เป็นส่วนที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในประกอบด้วย ห้องพระบรรทม ห้องทรงงาน ห้องสรง ห้องแต่งพระองค์
อาคารด้านตรงข้ามกับพระที่นั่งสมุทรพิมาน คือหอเสวยฝ่ายหน้าเป็นสถานที่สำหรับเสวยพระกระยาหารและจัดงานพระราชทานเลี้ยง พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์แรก เดิมเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมาโปรดเกล้าให้เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าสุวัฒนา
พระวรราชเทวี เรือนฝ่ายใน เดิมเป็นบ้านพักของเจ้าพระยาอนิรุทธเทวา(หม่อมหลวง ฟื้น พึ่งบุญ)ซึ่งเป็นน้องชายของเจ้าพระยารามราฆพ
โดยพระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมกับศาลาลงสรงฝ่ายหน้าภายในประกอบด้วยห้องแต่งพระองค์ ห้องเก็บของ และเฉลียงสำหรับรับลมทะเลโดยถ้าไม่โปรดจะลงเล่นน้ำทะเลก็มาประทับที่เฉลียงรับลมทะเลก็ได้
หมู่พระทีนั่งพิศาล สาครประกอบไปด้วยอาคารต่างๆดังนี้ อาคารหลังแรก เป็นห้องรับแขกเดิมเป็นท้องพระโรงฝ่ายในปัจจุบันเป็นโรงเรียนสอนดนตรีไทย หอเสวยฝ่ายใน เป็นสถานที่สำหรับเสวยพระกระยาหาร
พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรชายา ภายในประกอบด้วย ห้องบรรทม ห้องรับแขก ห้องสรง ห้องแต่งพระองค์และเฉลียงสำหรับรับลมทะเล
เรือนพระสุจริตสุดา เป็นบ้านพักของพระสุจริตสุดาซึ่งเป็นพระสนมเอกภายในประกอบด้วย ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัวและเฉลียงรับลมทะเล
ห้องพักคุณท้าววรคณานันท์ เป็นบ้านพักของคุณท้าววรคณานันท์(หม่อมราชวงศ์แป๋ม มาลากุล) และคุณท้าวสมศักดิ์(หม่อมราชวงศ์แป๋ม มาลากุล)
โดยพระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมกับศาลาลงสรงฝ่ายในภายในประกอบด้วยห้องแต่งพระองค์ ห้องเก็บของ และเฉลียงสำหรับรับลมทะเลโดยถ้าไม่โปรดจะลงเล่นน้ำทะเลก็มาประทับที่เฉลียงรับลมทะเลก็ได้
สวนเวนิสวานิช สวนที่ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากบทพระราชนิพนธ์เรื่องเวนิสวานิช ที่แปลมาจากเรื่องThe Merchant of Venice ของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ นักประพันธ์ชื่อก้องโลกชาวอังกฤษ ที่พระองค์ท่านทรงคงลีลาและฉันทลักษณ์ การแปล ไว้คำต่อคำใกล้เคียงกับต้นฉบับจริงมากที่สุดสวนแห่งนี้ออกแบบในสไตล์เรอเนส ซองและที่กำหนด สร้างไว้ ณ จุดหน้าสุดของเขตพระราชฐานก็เพื่อเป็นจุดนัดพบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เฉกเช่นเดียวกับเมืองเวนิส ที่เป็นสถานที่พบปะของผู้คน และเป็นแหล่งการค้า ในบทประพันธ์ของเช็กสเปียร์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
สวนศกุนตลา ลานกว้างที่ใช้ต้นเข็มนานาพันธุ์ทำเป็นกำแพงล้อมรอบสวน พื้นที่ภายในสวนแห่งนี้ใช้เป็นเหมือนเวทีจัดการแสดง อาทิ การแสดงโขน การแสดงละครในฤดูหนาว รวมถึงการจัดเลี้ยงรับรองต่างๆ จากสวนศกุนตลาพื้นอิฐหกเหลี่ยม สีแดงอ่อนตัดกับสนามหญ้าสีเขียว ทอดยาวพาเราไปด้านหน้าทางขึ้นพระราชวังที่รายล้อม ด้วยความร่มรื่นของ ไม้ยืนต้นนานาพันธุ์ และพุ่มไม้ดอกที่แข่งกันชูช่อประชันสี ราวกับภาพเขียนสีน้ำมันที่จิตรกรเอกบรรจงวาดอย่าง ไว้ อย่างสุดฝีมือ
สวนมัทนะพาธา รอบด้วยระเบียงทั้งสามด้าน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา หรือตำนานดอกกุหลาบ อันเป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่มีการใช้สัมผัสและฉันทลักษณ์ได้ถูกต้องและมีความไพเราะยิ่ง และได้รับการยกย่อง ว่าเป็นยอดบทละครพูดคำฉันท์ "สวนมัทนะพาธา ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยแนวไม้พุ่มลายอ่อนช้อย โดยเลือกใช้ต้นข่อย ซึ่งมีพุ่มหนาแน่น ทนต่อแดด และไอทะเลได้ดีนั่นเอง




แสดงความเห็น

อัลบั้มรูป(3) 

![]() |
● ช่างภาพ: Korawee Ratchapakdee ● ลิงค์: flickr.com/photos/gnskrw ● ที่มา: facebook.com/noi.sft |
● ลิขสิทธิ์ภาพเป็นของช่างภาพ (800*500)
● ดูภาพขนาดเต็มได้จากแฟนเพจของช่างภาพ
● ดูภาพขนาดเต็มได้จากแฟนเพจของช่างภาพ
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage