
หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง

Rating: 4/5 (6 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ เป็นหมู่บ้านที่ทําเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่าง ๆ เช่น หม้อแกง น้ำต้น (คนโทใสน้ำ) หม้อน้ำแจกัน เป็นต้น โดยเฉพาะน้ำต้นนั้นเป็นที่นิยมทั่วไปแก่คนที่พบเห็น
เนื่องจากสามารถใส่น้ำดื่มสําหรับคนเดินทางได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันได้มีการพัฒนากรรมวิธีในการผลิต และรูปแบบเครื่องปั้นดินเผา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสันสดขึ้น หมู่บ้านนี้เป็นหนึ่งในโครงการหมู่บ้านหัตถกรรมของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คนโทใส่น้ำที่ผลิตจากบ้านเหมืองกุง ที่บ้านเหมืองกุงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นแหล่งผลิต หม้อน้ำต้น ซึ่งเป็นภาชนะใส่น้ำหรือที่เรียกว่า คนโทใส่น้ำ หม้อน้ำต้นเป็นภาชนะที่ชาวล้านนาผลิตและใช้สำหรับใส่น้ำดื่ม ด้วยเหตุที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้อุณหภูมิ ในการเผาไม่ไม่สูงนัก เนื้อดินมีความหยาบหนาและมีรูพรุนข่อนข้างมาก
จึงทำให้มีการระบายความร้อนได้ดีน้ำที่อยู่ในภาชนะ จึงคงสภาพของความเย็นอยู่เสมอ ทำให้หม้อนอกจากจะเป็นประโยชน์ใช้สอยในการ ใส่น้ำดื่มแล้วยังเป็นเครื่องประดับที่มีไว้ทุกบ้านอีกด้วย หม้อน้ำต้นนั้นเดิมทีชาวพื้นเมืองทั่วไปเรียกว่า น้ำต้นเงี้ยว เพราะคนที่ทำหม้อน้ำต้นนี้เป็นชาวเงี้ยว
หรือไทยใหญ่ที่ถูกกวาดต้อนและอพยพมาจากเมืองปุและเมืองสาดซึ่งปัจจุบันอยู่ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินในเขตรัฐฉาน
ประเทศพม่า เมื่อเวลาผ่านไป การผสมผสานทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และเผ่าพันธุ์ ทำให้ศิลปการทำน้ำ ต้นเงี้ยวได้รับการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ ทั้งรูปทรง ขนาด
กรรมวิธีในการผลิตชื่อของน้ำต้นเงี้ยวจึงค่อยๆ เปลี่ยนไป กลายเป็น น้ำต้นเชียงใหม่ แทนเพราะเป็นผลผลิตจากเมืองเชียงใหม่หมู่บ้านที่ผลิตหม้อและน้ำต้นเรียกกันว่า บ้านน้ำต้น ซึ่งเป็นชื่อเดิมของ บ้านเหมืองกุง
การผลิตหม้อน้ำต้นจะเป็นอาชีพรองแต่รายได้จากทั้งอาชีพหลักและอาชีพรองก็ไม่ได้ทำให้มี ฐานะอย่างอยู่ดีกินดีได้เพียงแต่ประทังชีวิตไปได้เท่านั้น การผลิตหม้อน้ต้นจึงเหลือเพียงไม่กี่หลังคาเท่านั้น ประกอบกับความ ต้องการน้อยลงเนื่องจากมีภาชนะอื่น เช่น พลาสติก ผลิตภัณเซรามิก หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องปั่นผลไม้ เข้ามาเป็นตัวเลือกทำให้ความต้องการภาชนะใส่น้ำลดน้อยลงไป
การผลิตหม้อน้ำ ต้นในปัจจุบัน จึงมีการเปลี่ยนไปจากเดิม ต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยการเอาศิลปะเข้ามาประยุกต์ใช้
เพิ่มกรรมวิธีในการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มากขึ้น สะดุดตามากขึ้น เพื่อจะสามารถนำไปเป็นเครื่องประดับหรือของฝาก นอกจากนี้ที่บ้านเหมืองกุง ยังผลิต หม้อดิน หม้อแกง และเครื่องปั้นต่างๆ
บ้านเหมืองกุง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามเส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณ 10 กิโลเมตร และระยะทาง ห่างจากถนนสายวงแหวน (เสนทางหลวงหมายเลข 11-สนามบิน)ประมาณ 6 กิโลเมตรเท่านั้นโดยอยู่กอนถึงทางแยกตัดใหม่สายหางดง สะเมิงเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีศูนย์แสดงตัวอย่างหัตถกรรม และศูนย์ให้ข้าวสารอยู่ปากทางเข้าหมู่บ้านด้วย




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
|