หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.เมืองเชียงใหม่ > ต.ศรีภูมิ > วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย


เชียงใหม่

วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย

วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย

Share Facebook

Rating: 2.5/5 (35 votes)

วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย จากคำว่าวัฒนธรรมนั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Cultura โดยภาษาอังกฤษใช้ คำว่า Culture ไทยได้บัญญัติคำว่า วัฒนธรรม โดยใช้เมื่อพุทธศักราช 2483 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูล สงคราม โดยศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิป พงศ์ประพันธ์ เป็นครั้งแรกทรงบัญญัติ คำว่า พฤทธิธรรม ขึ้นใช้ก่อนโดยเมื่อทรงเห็นว่าไม่เป็นที่นิยมใช้จึงทรงเปลี่ยนไปใช้คำว่า วัฒนธรรม ซึ่งเป็นคำที่มี ความไพเราะ และมีความหมายที่สอดคล้องกับวิชาภาษาอังกฤษ คำนี้จึงได้รับการเป็นที่ยอมรับและใช้กัน อย่างแพร่หลายและยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้
 
วัฒนธรรม คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นคิดขึ้น กำหนดขึ้นบัญญัติขึ้น โดยไม่ได้กระทำตามสัญชาตญาณ เพื่อใช้ในสังคม ของตน อีกทั้งวัฒนธรรมจะปรากฏในรูปของระบบความคิด (Thinking) การกระทำ (Doing) และการมีอยู่ (Having) ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและปรุงแต่งขึ้น
 
วัฒนธรรมโลก คือ ปฏญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยสิทธิพื้นฐานสำคัญ 6 ประการ คือ
1. สิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเอง
2. สิทธิในการป้องกันไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ ทางเผ่าพันธุ์และสีผิว
3. สิทธิสตรี
4. สิทธิเยาวชน
5. ห้ามมีการเกณฑ์แรงงาน หรือ แรงงานบังคับ
6. สิทธิมนุษยชนในการบริการ ความยุติธรรม การคุ้มครอง ผู้ต้องหา จองจำหรือกักขัง ทั้ง 6 ประการนี้ล้วนเกี่ยวโยงกับวิถีชีวิต คนทุกเผ่าพันธุ์ ที่แตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องมาตรฐานสังคมมนุษย์ มนุษย์ที่เป็นสมาชิกในประชาคมโลก จะต้องประพฤติปฏิบัติร่วมกัน
 
วัฒนธรรมชาติ เป็นความหลากหลายของเผ่าชน ที่แตกต่างทางสีผิว หน้าตา ความเชื่อ ประเพณี และวิถี ชีวิต รวมทั้งการผสมผสานรูปแบบในการดำรงชีพ ที่อยู่ ร่วมกันในสังคม ต้องประพฤติในบางอย่างร่วมกันโดยมี  กฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบที่พึงปฏิบัติต่อกัน และมี องค์กรของรัฐเป็นกำลังดูแลเฝ้าระวังให้สมาชิกในชนชาติ ต้องปฏิบัติร่วมกัน
 
วัฒนธรรมพื้นบ้าน คือ รูปแบบการดำเนินชีวิตเผ่าชนต่างๆ ที่อาศัยรวมกันในประเทศ แต่มีลักษณะหน้าตา สีผิว เผ่าพันธุ์ การดำรงชีพ ศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างกัน แต่อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศใด ประเทศหนึ่งมีความหลากหลาย แต่มีรูปแบบการดำรงชีพ และเอกลักษณ์ใกล้เคียงกัน
 
องค์ประกอบของวัฒนธรรม มี 4 ประการ
1. มีแนวคิด (Concept) หรือปรัชญา (Philosophy) อันมี ที่มาจากความเชื่อเรื่องปรำปรา สภาวะแวดล้อมที่เป็นเหตุเป็นผล หรือมี หลักการ หลักวิชาการเป็นฐานรองรับ แต่ส่วนมากจะมีที่มาจากศาสนา และธรรมชาติ หรือเรียกว่าองค์มติ
 
2. มีสัญลักษณ์ (Symbols) คือ สิ่งที่สื่อความหมายให้เกิดความ เข้าใจซึ่งกันและกันได้ เช่น ภาษา ท่าทาง การแต่งกาย เครื่องหมาย รูปภาพ ทำนอง จังหวะ กิริยา ระบบตัวเลข และรวมถึงวัตถุสิ่งของที่ มนุษย์สร้างขึ้น หรือเรียกว่าองค์วัตถุ
 
3. มีการจัดระเบียบ (Organization) วัฒนธรรมหน่วยหนึ่งเกิด จากการรวมตัวของลักษณะทางวัฒนธรรมอย่างเป็นขั้นตอน การรวมตัว กันอาศัยระเบียบแบบแผนกำกับ ซึ่งรวมถึงการจัดระเบียบโครงสร้าง การควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ และกำหนดแบบแผนของพฤติกรรมเป็น มาตรฐาน ทุกคนในสังคมรับรู้ร่วมกันบางครั้งเรียกว่า องค์การ
 
4. มีการใช้ประโยชน์ (Usage) มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ สังคมและผู้ปฏิบัติ แสดงออกในรูปของพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีบวช พิธี ไหว้ครู รวมถึงการทำตามประเพณีในสังคม บางครั้งเรียก องค์พิธี
 
ประเภทของวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ (Material Culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านรูปธรรม เป็นวัฒนธรรมที่สามารถสัมผัสได้มีรูปร่าง หรือเป็นสิ่งของต่าง ๆ ที่มนุษย์ ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในการดำรงชีวิต เช่น บ้านเรือน อาหาร อาหารภาคเหนือ เครื่องมือเครื่องใช้ ยารักษาโรค เป็นต้น
 
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non–material Culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านนามธรรมเป็น วัฒนธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ ได้แก่ ภาษา ถ้อยคำที่ใช้พูด ความคิด ค่านิยม ประเพณี ความเชื่อถือที่มนุษย์ยึดถือเกี่ยวกับ ศาสนา ลัทธิทางการเมือง วัฒนธรรมประเภทนี้ บางครั้งรวมเอา กติกาการแข่งขันกีฬา ความชำนาญของผู้เล่น หรือผู้แข่งขันแนวความคิดเกี่ยวกับยุทธวิธีของผู้แข่งขันรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นที่มาของผู้แข่งขันและผู้ดูแลการแข่งขันไว้ด้วย และมารยาท ทางสังคม
 
ความสำคัญของวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมคุ้มครองคนและคุ้มครองสังคม
2. วัฒนธรรมกำหนดบรรทัดฐาน หรือแนวทางในการอยู่ ร่วมกันของมนุษย์ ๆ มีวัฒนธรรมจึงมีระเบียบแบบแผนในการ ดำเนินชีวิต เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
3. วัฒนธรรมสร้างเอกลักษณ์ให้แก่สังคม
4. วัฒนธรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมค่านิยม หล่อหลอม บุคลิกภาพของสมาชิกของสังคม
5. วัฒนธรรมทำให้เกิดความมั่นคงของชาติ
 
ประเพณี เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อสวัสดิภาพของมนุษย์เอง ชีวิตสังคม จะไม่สงบเรียบร้อย ถ้าไม่มีประเพณีหนุนหลัง ประเพณี ของสังคมมิใช่ เป็นสิ่งแน่นอนคงที่ตายตัวหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ตรงกันข้ามประเพณี เกิดขึ้นได้และสลายตัวได้เมื่อสภาพแวดล้อมของสังคมเปลี่ยนแปลงไป  ความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติกว้างขวางขึ้น การประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์กว้างขวางขึ้น มีการติดต่อกับสังคมอื่นมีวิธีการแตกต่างไป ความต้องการและโอกาสที่จะทำให้ชีวิตสุขสบาย จ˚าต้องแสวงหาวิธีใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเมื่อเป็นที่ยอมรับก็จะกลายเป็นประเพณี ใหม่ วิธีการเดิมหรือประเพณีเดิมก็สลายตัวไป การปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ทำให้ประเพณีเปลี่ยนแปลงได้ ประเภทของประเพณีไทย แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ
 
1. จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (Mores) หมายถึง ประเพณีที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม ถ้าคนใดฝ่าฝืนงดเว้นไม่ กระทำถือว่าเป็นความผิดและชั่ว จารีตประเพณีเกี่ยวข้องกับศีลธรรมของ คนส่วนรวมในสังคม และที่เห็นได้ในสังคมไทย ได้แก่ การแสดงความ กตัญญูกตเวทีที่ลูกควรมีต่อบิดา มารดาเมื่อท่านแก่เฒ่า เป็นหน้าที่ของลูก จะพึงเลี้ยงดู ถ้าลูกไม่ดูแลสังคมจะลงโทษว่าเป็นคนอกตัญญู ถือเป็นความชั่วไม่มีใครอยากคบด้วย จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรมของแต่ละ สังคมย่อมไม่เหมือนกันสังคมไทยเห็นว่ามีความสัมพันธ์ทางเพศกัน ก่อนแต่งงานเป็นการผิดจารีตประเพณีแต่ชาวสวีเดนเห็นว่าเป็นเรื่อง ธรรมดา
 
2. ขนบประเพณีหรือสถาบัน (Institution) คือ ประเพณีที่วางระเบียบแบบแผนไว้โดยตรงเช่นเดียวกับกฎหมาย หรือข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งวางเป็นระเบียบพิธีการไว้แจ้งชัด หรือให้รู้กันเอง โดยไม่ได้วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้ว่า ควรจะประพฤติปฏิบัติกัน อย่างไร
 
3. ธรรมเนียมประเพณีหรือประเพณีนิยม (Convention) หมายถึง แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ในการด˚าเนินชีวิตประจ˚าวันที่ปฏิบัติกัน จนเคยชินเป็นปกติวิสัย เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ธรรมดาสามัญที่ไม่ มีความสำคัญมากมายต่อสวัสดิภาพหรือความจำเป็นของสังคม หรือเป็น เรื่องที่ทุกคนปฏิบัติอยู่ทั่ว ๆ ไปจนเป็นนิสัยหรือมาตรฐานทั่วไปในสังคมนั้น ธรรมเนียมประเพณีมีกำเนิดมาโดยไม่มีผู้ใดทราบหรือสนใจ สืบประวัติที่แน่นอน เช่น จะแต่งกายอย่างไร จะต้อนรับเพื่อนฝูงอย่างไร ผู้ละเมิดถูกลงโทษอย่างไม่เป็นทางการหรือทางอ้อมแต่ไม่รุนแรงหรือ จริงจังอย่างใด เช่น อาจถูกซุบซิบนินทาหรือหัวเราะเยาะ เป็นต้น
 
ประเพณีที่สำคัญของประเทศไทยแบ่งได้ 3 แบบคือ
1. ประเพณีเกี่ยวกับครอบครัว การทำบุญตักบาตรมีมาตั้งแต่โบราณ ได้แก่ การตักบาตรประจำวันตอน เช้า ตักบาตรในวันเกิด วันเทศกาล หรือวันที่กำหนดทำบุญเป็นพิเศษเช่น ทำบุญเปิดตึก สำนักงาน ฯลฯ การทำบุญตักบาตร ให้ประโยชน์ 3 ทางคือ
- เป็นบุญกุศลของผู้ตักบาตร
- ฝึกฝนให้เป็นคนเสียสละ และแบ่งปัน
- เป็นการสงเคราะห์ต่อภิกษุ สามเณร
 
2. ประเพณีเกี่ยวกับครอบครัว การทำบุญเลี้ยงพระ การทำบุญเลี้ยงพระตามปกติมักจะทำในโอกาส สำคัญ ๆ เช่น ครบรอบวันเกิด ขึ้นบ้านใหม่ เปิดสำนักงานใหม่ ส่งท้ายปี เก่ารับปีใหม่ จะต้องมีการจัดโต๊ะหมู่บูชา อาสนะสงฆ์ ในพิธีนี้จะมีการ อาราธนาศีล พระสงฆ์จะให้ศีล อาราธนาพระปริต พระสงฆ์เจริญพระ พุทธมนต์
 
การบวช  ชายที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป ชาวพุทธจะบวชเณร ซึ่งเรียกว่า “บรรพชา ” เมื่ออายุได้ 20 ปี ก็จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ การบวชเป็น การศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และสืบต่อ พระพุทธศาสนา ซึ่งพระภิกษุจะยดถือศีล 227 ข้อ
 
3. ประเพณีที่เกี่ยวกับสังคมหรือเทศกาล ประเพณีที่เกี่ยวกับสังคมหรือเทศกาล เป็นประเพณที่จัดกันอยู่เป็น ระยะตลอดปีและกระจายอยู่ตามท้องถิ่น จังหวัดและภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
 
รัฐพิธีและพระราชพิธี รัฐพิธี เป็นงานพิธีของชาติที่รัฐบาลเป็นผู้ที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ตามลักษณะของงาน รัฐพิธีที่กำหนดไว้เป็นประจำตามปฏิทินหลวงได้แก่
- รัฐพิธีถวายราชสักการะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระบรมราชานุสาวรีย์
- รัฐพิธีวันระลึกมหาจักรี
- รัฐพิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ใน อภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต
- รัฐพิธีวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- รัฐพิธีวันพระเจ้าตากสินมหาราช
- รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา
 
พระราชพิธี หมายถึง พิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตามกำหนดที่เป็นแบบแผนราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณ หรือทรงมี พระราชดำริให้จัดทำขึ้น พระราชพิธีที่กำหนดไวเป็นงานประจำปีในปฏิทินหลวง รัชกาลที่ 9 มีดังนี้
- พระราชพิธีขึ้นปีใหม่
- พระราชพิธีสังเวยพระป้าย
- พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร 3 ฤดู
- พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช
- พระราชพิธีสงกรานต์
- พระราชพิธีกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีฉัตรมงคล
- พระราชพิธีมาฆบูชา
- พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
- พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันวสาขบูชา
- พระราชกุศลวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
- พระราชกุศลทักษิณานุปทาถวายพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมพระราช ชนกและวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร์รมหาอานันทมหิดล
- พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง
- พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาล เข้าพรรษา
- พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
- พระราชพิธีสารท
- พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน
- พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยะมหาราช
- พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ
 
วัฒนธรรมภาคเหนือ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตติดกับประเทศพม่า จีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางด้านการปกครอง ภาคเหนือประกอบด้วย จังหวัดต่าง ๆ 15 จังหวัด คือ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย แพร่ น่านอุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน ทั้ง 15 จังหวัดนี้แม้จะรวมกันเรียกว่าภาคเหนือ ก็ยังมีลักษณะเฉพาะที่ต่างกันอยู่บ้าง เช่น กลุ่ม พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร มักเรียกว่าภาคกลางตอนบน เพราะวัฒนธรรมมี ส่วนคล้ายกับภาคกลาง จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นกลุ่มไทยใหญ่ผสม  กับพม่า เพชรบูรณ์ ลักษณะโน้มไปทางภาคอีสาน ที่เป็นกลุ่มวัฒนธรรมภาคเหนือจริง ๆ คือ จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่เชียงราย พะเยา กลุ่มจังหวัดดังกล่าวนี้เรียกว่า คนเมือง หรือ ยวน หรือ ไทยยวนซึ่งหมายถึงโยนก ส่วนจังหวัดแพร่ และน่าน ก็มีลักษณะของตัวเอง เช่นเดียวกัน
 
ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ คนเหนือปลูก ข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวมีคุณภาพดี อ่อนและ นิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง และยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น มีอาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวน ลำไย และลิ้นจี่ ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำ เมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้ มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของ กินอื่นแล้วแต่ชอบนอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่ทำให้ ร่างกายอบอุ่นขึ้นและชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรือ อุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการท˚านา นอกจากนั้น ยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น
 
วัฒนธรรมล้านนา ตลอดจนเป็นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในระหว่าง ภูมิภาค เที่ยวภาคเหนือ เพื่อให้เกิดการกระจายนักท่องเที่ยว และกระจายรายได้ด้านการท่องเที่ยว อย่างทั่วถึงในพื้นที่ภาคเหนือ นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือ
และพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างจังหวัดทุกจังหวัดในภาคเหนืออีกด้วย
 
ประเพณีสารทเดือนสิบ
 
วัฒนธรรมภาคใต้ ประเพณีภาคใต้ ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทยอยู่ทางใต้ของประเทศ ถัดลงไปจากบริเวณ ภาคกลาง บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดา มันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่ รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัด ยะลา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีเทือกเขาที่ส˚าคัญได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช โดยมีเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดน กั้นระหว่างไทยกับมาเลเซีย เทือกเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสั้น 1,000 กิโลเมตร แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี แม่น้˚า ท่า ทอง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำตรัง ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการ ยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบ ต่˚าลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน
 
ประเพณีแข่งเรือเล็ก
 
วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือประเพณีภาคอีสาน ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่
กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, นครพนม, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, มุกดาหาร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, เลย, ศรีสะเกษ, สกลนคร, สุรินทร์, หนองคาย, หนองบัวลำภู, อำนาจเจริญ, อุดรธานี และอุบลราชธานี โดยจะมีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช โดยภูมิประเทศทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทาง, ทิศตะวันตกและทิศใต้ เทือกเขาทิศตะวันตกมีความสูงโดยเฉลี่ย 500-1,000 เมตร เหนือ ระดับน้ำทะเล มียอดเขา ที่สูงที่สุดในภาคอีสาน ได้แก่ยอดภูหลวง มีความสูง 1,571เมตร และภูกระดึงสูง 1,325 เมตร ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง, แม่น้ำเลย, แม่น้ำพรม, แม่น้ำชี และลำตะคอง และความอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติที่สวยงามบนยอดเขาสูงหลายแห่ง แหล่งรวมอารยธรรมโบราณนับพันปีอันทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนวัฒนธรรม พื้นบ้าน วิถีชีวิตที่เรียบง่าย และความมีน้ำใจของชาวอีสาน ที่ยังคงเป็นเสน่ห์ที่มัดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนอีสานอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน
 
ประเพณีถือศีลกินเจ 

วัฒนธรรมภาคกลาง
พื้นที่ภาคกลางมีจังหวัดต่างๆ มากถึง 22 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรีชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ สมุทรสงคราม ลักษณะของพื้นที่ภาคกลางจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ดังนั้นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ภาคกลาง จึงประกอบอาชีพเกษตร, การเลี้ยงสัตว์ และการทำประมงทั้งน้ำจืดและ ประมงน้ำเค็ม นอกจากนี้ยังทั้งอาชีพค้าขายก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่คนภาคกลางนิยมกันมากเพราะว่าภาคกลาง ซึ่งจะมีทางคมนาคมที่สะดวกสบายทั้งทางบกและทางน้ำ ทำให้ เหมาะแก่การทำการค้าเป็นอย่างยิ่ง
 
อาชีพในภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก คือการทำนา แต่จะมีอาชีพอย่างอื่น อีกมาก เช่น การทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง การทำสวนผัก สวนผลไม้ เช่น สวนส้ม ส้ม โอ มะขามหวาน มะม่วง การเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงสุกร วัวเนื้อ วัวนม ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการอุตสาหกรรมต่าง ๆ การค้า งานบริการ ล้วนแต่เป็นอาชีพสำคัญ กรุงเทพมหานครเป็นนครที่ใหญ่โตมีประชากรมาก รวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทุกอย่างไว้ และโดยขณะเดียวกันก็รวมเอาปัญหาสารพัดอย่างไว้ด้วย เช่น ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาอาชญากรรม, ยาเสพย์ติด, การจราจรติดขัด, มลพิษทั้งอากาศ และน้ำ ซึ่งภาคกลางนั้นจึงเป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจทุกด้าน ดังนั้นประชากรในเขตนี้โดยเฉลี่ยจึงมีความเป็นอยู่ดีกว่าประชากรในเขตอื่น โดยขณะที่ประเทศเริ่มมีผลิตผลทางอุตสาหกรรม มากขึ้น มีการขยายตัวได้เริ่มจากภาคนี้และทำให้ในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของ และผลิตผลทางอุตสาหกรรมมีมากกว่ามูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางด้านเกษตรกรรม ซึ่งทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราส่งสินค้าทางการเกษตรน้อยลง แต่เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบมูลค่าระหว่างสองกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
 
ประเทศไทย นั้นมีความเจริญรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน มีขนบธรรมเนียมประเพณีไทย วัฒนธรรมไทยที่หลากหลายในสังคมอันเกิดจากความเชื่อ ความคิด ที่จะพยายามสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของตนเอง ครอบครัว และสังคม โดยเป็นสิ่งที่มีการยึดถือสืบทอดต่อกันมาในรูปของความเชื่อ ศีลธรรม ค่านิยม รวมถึงพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งเป็นที่ยอมรับ และมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของคนในสังคม จนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย
 
ประเพณีไทย นั้นเป็นกฎเกณฑ์ แบบแผนที่สังคมกำหนดขึ้นเพื่อใช้ร่วมกัน และแสดงลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคม บ่งบอกว่า สังคมนั้นมีความเจริญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงให้คนในสังคมรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นรากฐานของกฎหมายในประเทศ สามารถแบ่งประเพณีไทยตามเดือน ได้ดังนี้
 
เดือนมกราคม
1. ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
 
บ้านถวาย

2. งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ
 
บ้านถวาย เที่ยวเชียงใหม่ แหล่งกำเนิดของงานแกะสลักไม้ในจังหวัดเชียงใหม่ จนผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งด้านคุณค่า และคุณภาพของสินค้า จุดรวมความหลากหลายของงานหัตถศิลป์ที่โดดเด่น เช่น งานแกะสลักไม้ , งานเดินเส้น – แต่งลาย , งานลงรัก – ปิดทอง , แอนติค , เครื่องเงิน , เครื่องเขิน , ผ้าทอ , เครื่องจักรสาน และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
 
3. งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ และงานกาชาด จังหวัดสุพรรณบุรี
 
บ้านบ่อสร้าง

4. งานเทศกาลร่มบ่อสร้างและศิลปวัฒนธรรมสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เทศกาลร่มบ่อสร้าง เทศกาลเชียงใหม่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รู้จักกันในนามของหมู่บ้านที่มีงานผลิตร่ม หัตถกรรมพื้นบ้านของบ่อสร้างนั้น การจัดงานติดต่อกันมาครั้งที่จะถึงนี้ถือเป็นครั้งที่ 24 ครั้งนี้ผู้บริหารเทศบาลตำบลต้นเปา ตั้งใจกันไว้ว่าจะให้ยิ่งใหญ่กว่าทุกๆครั้งที่ผ่านมา จัด 16 กิจกรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 19-21 ม.ค.
5. งานกาชาดและงานรวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขง จังหวัดมุกดาหาร
6. งานเทศกาลอาหารและผลไม้นครปฐม จังหวัดนครปฐม
7. งานวันวีรกรรมทหารเรือไทยในยุทธนาวีที่เกาะช้าง จังหวัดตราด
 
 เดือนกุมภาพันธ์
1. ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
3. วันมะปรางหวาน และของดีที่นครนายก จังหวัดนครนายก
 
อนุสาวรีย์วีรชน และอุทยานค่ายบางระจัน
 
4. วันวีรชนค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี งานประจำปี วันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ที่บริเวณอนุสาวรีย์วีรชนและอุทยานค่ายบางระจัน นั้นประกอบไปด้วยพิธีการไหว้รูปจำลองพระอาจารย์ธรรมโชติ และพวางพวงมาลาเพื่อสักการะอนุสาวรีย์วีรชนฯ การแสดงละครประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวีรชนของค่ายบางระจัน ตลอดจนการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน มหรสพ และนิทรรศการมากมาย

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
 
5. งานนมัสการองค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นงานประเพณีที่สืบต่อกันมายาวนาน วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี รวม 9 วัน 9 คืน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และองค์พระธาตุพนม ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งอีสาน
 
ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว (ศาลเจ้าเล่งจูเกียง)
 
6. งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี ในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ก็จะมีงานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวโดยจังหวัดปัตตานีจะให้ความสำคัญกับงานนี้ เป็นพิเศษ โดยงานสมโภชนี้จะมีความยิ่งใหญ่มโหฬารมีประชาชนจากต่างจังหวัดของไทยและจาก ประเทศเพื่อนบ้านเดินทางหลั่งไหลมาชมงานนมัสการเจ้าแม่กันอย่างเนืองแน่น โดยปกติจะมีการจัดงานประมาณ 7 วัน 7 คืน นับตั้งแต่วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 บรรดาร้านค้ามาเปิดขายของคล้ายๆ กับงานประจำปีทั่ว ๆ ไปมหรสพ 2 อย่างที่จะขาดไม่ได้ คือ งิ้ว และมโนห์รา โดยงิ้วและมโนราห์จะจัดให้แสดงบนโรงถาวรหน้าศาลเจ้า
7. มหกรรมโปงลางแพรวา และงานกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์
8. บุญเบิกฟ้าและกาชาด จังหวัดมหาสารคาม

ประเพณีนบพระเล่นเพลง
 
9. ประเพณีนบพระเล่นเพลงและฉลองมรดกโลก จังหวัดกำแพงเพชร ช่วงเวลา วันเพ็ญ เดือน 3 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม ของทุกปี) เป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากสุโขทัย ซึ่งได้กล่าวถึงว่า ในสมัยพญาลิไทได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากลังกามาบรรจุไว้ที่องค์พระเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม ดังนั้นจึงได้มีการจัดขบวนของเจ้าผู้ครองนครไปนมัสการพระบรมธาตุ การจัดงานนบพระเล่นเพลง ถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นการ ฟื้นฟูและเผยแพร่ประเพณีดั้งเดิมที่ถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ได้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นตน
 
ประเพณีนมัสการพระธาตุช่อแฮ

10. ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่แห่ตุงหลวง จังหวัดแพร่ ช่วงเวลาที่จัดงาน ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 เหนือ (เดือน 4 ไต้) ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวม 5 วัน 5 คืน การนมัสการพระธาตุช่อแฮเป็นความเชื่อที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า การได้กราบไหว้บูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จะเป็นสิริมงคลแก่ตัว ทำให้มีความสุขความเจริญ วันสุดท้ายของงานต่างร่วมใจกันนำอาหารไปทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์บริเวณลานพระธาตุ ตอนสาย ๆ กลุ่มผู้คนที่มาทำบุญตักบาตรบางส่วนอาจเดินทางไปที่พระธาตุดอยเล็ง เพื่อไปกราบไหว้บูชาพระธาตุและชมทัศนียภาพบ้านเมืองที่เรียงรายสวยงาม ตอนกลางคืนประชาชนจะไปร่วมกันเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุและวิหาร ในระหว่างการจัดงานจะมีมหรสพสมโภชทุกคืน
 
งานสมโภชพระพุทธชินราช
 
11. งานนมัสการพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ช่วงเวลาที่จัดงาน ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 เหนือ (เดือน 4 ไต้) ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวม 5 วัน 5 คืน การนมัสการพระธาตุช่อแฮเป็นความเชื่อที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า การได้กราบไหว้บูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จะเป็นสิริมงคลแก่ตัว ทำให้มีความสุขความเจริญ วันสุดท้ายของงานต่างร่วมใจกันนำอาหารไปทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์บริเวณลานพระธาตุ ตอนสาย ๆ กลุ่มผู้คนที่มาทำบุญตักบาตรบางส่วนอาจเดินทางไปที่พระธาตุดอยเล็ง เพื่อไปกราบไหว้บูชาพระธาตุและชมทัศนียภาพบ้านเมืองที่เรียงรายสวยงาม ตอนกลางคืนประชาชนจะไปร่วมกันเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุและวิหาร ในระหว่างการจัดงานจะมีมหรสพสมโภชทุกคืน
12. งานกาชาด ดอกฝ้ายบาน มะขามหวามเมืองเลย จังหวัดเลย
13. มหกรรมหุ่นฝางนก งานของดี และงานกาชาด จังหวัดชัยนาท
14. งานเมืองสามหมอก จังหวัดแม่ฮ่องสอน
15. งานพระนครคีรีเมืองเพชร จังหวัดเพชรบุรี
16. งานไม้ดอกไม้ประดับ จังหวัดเชียงใหม่
17. งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม
18. ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
19. งานสะโตกช้างลำปาง จังหวัดลำปาง
 
เดือนมีนาคม

ประเพณีบุญผะเหวด
 
1. ประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด ช่วงเวลา วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม บุณผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน 3 พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาติและในงานนี้ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ

ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า เป็นเทศกาลที่ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา จนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่าและอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไป นอกจากนี้ยังเป็นการสังสรรค์ ระหว่างญาติพี่น้องจากแดนไกลสมกับคำกล่าวที่ว่า "กินข้าวปุ้น เอาบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ"
2. เทศกาลว่าวนานาชาติ จังหวัดกรุงเทพ เที่ยวกรุงเทพ

งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี
 
3. งานฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี เป็นงานประจำปีของจังหวัดซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นเวลาที่ ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) ได้รับชัยชนะจากข้าศึก เพราะวันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2369 คือวันที่เจ้าอนุวงศ์ยกทัพออกจากเมืองนครราชสีมา จึงเป็นงานประเพณีทำให้ระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยราชการและภาคเอกชน รวมทั้งกิจกรรมบันเทิงที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พลเมือง เป็นแบบอย่างให้กับพลเมืองได้ตระหนักถึงบุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล
4. งานโลกทะเลชุมพร จังหวัดชุมพร
5. งานเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ จังหวัดอ่างทอง
6. ประเพณีเผ่าไทศรีสะเกษและเทศการดอกลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ
7. เทศกาลอนุรักษ์เต่าทะเล จังหวัดพังงา
8. งานวันตราดรำลึก จังหวัดตราด
9. งานสัปดาห์องุ่นหวาน และตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
10. มหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน จังหวัดยะลา
 
 เดือนเมษายน

ประเพณีสงกรานต์พระประแดง

1. ประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยรามัญ จัดขึ้นทุก ๆ ปี ในวันอาทิตย์หลังจากวันสงกรานต์ (13 เมษายน) โดยชาวเมืองพระประแดง จะจัดเป็นงานประเพณีพื้นบ้านของชาวรามัญ มีขบวนแห่ ปล่อยปลา และการละเล่นสะบ้า ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่เชิดชูหน้าตา และเป็นสัญลักษณ์ของชาวพระประแดง
2. ประเพณีสงกรานต์และงานล้านนาไทยในอดีต จังหวัดเชียงใหม่
3. ประเพณีสงกรานต์พัทยา จังหวัดชลบุรี
4. ประเพณีกองข้าว จังหวัดชลบุรี
5. วันอนุรักษ์มรดกไทยและมหกรรมชิงแชมป์หนังตะลุง จังหวัดปัตตานี
 
งานประเพณีปอยส่างลอง (บวชลูกแก้ว)
 
6. ประเพณีปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประเพณีบวชเณรตามธรรมเนียมของชาวไทยใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและมีความเชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร งานนี้จัดให้มีขึ้นช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน โดยชาวบ้านจะตกลงกันกำหนดวันนัดหมายให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆ กัน มีการประดับประดาผู้ที่จะบวชด้วยเครื่องประดับมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชตามวัดที่เจ้าภาพศรัทธา
7. ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลดอกคูน-เสียงแคน จังหวัดขอนแก่น
8. ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
9. วันแคนตาลูปและของดีเมืองอรัญ จังหวัดสระแก้ว
10. ประเพณีสงกรานต์ชาวรามัญ จังหวัดนนทบุรี
11. ประเพณีบวชพระแห่นาคด้วยช้างของชาวหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย
12. ประเพณีสลุงหลวงเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
 
เดือนพฤษภาคม
1. ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
2. เทศกาลผลไม้และของดี จังหวัดระยอง
3. ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
4. เทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
5. งานวันเกษตรและของดี จังหวัดปราจีนบุรี
 
เดือนมิถุนายน

อนุสาวรีย์สุนทรภู่
 
1. งานวันสุนทรภู่ จังหวัดระยอง วันอังคารที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี จัดขึ้นเพื่อรำลึกและสดุดีสุนทรภู่รัตนกวีของไทย
2. ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดหนองบัวลำภู
3. วันระกำหวานและผลไม้เมืองตราด จังหวัดตราด

ประเพณีการละเล่นผีตาโขน
 
4. ประเพณีการละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี มีการจัดทำพิธี 2 วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้วัดเป็นเมือง สำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด 3 รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์
5. เทศกาลของดีเมืองจันท์วันผลไม้ จังหวัดจันทบุรี
6. เทศการวันทุเรียนโลก จังหวัดจันทบุรี
 
เดือนกรกฎาคม

ประเพณีแห่เทียนพรรษา
 
1. ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดอุบลราชธานีมาอย่างยาวนาน  วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่ต่อเนื่องมาจาก วันอาสาฬหบูชา โดยจะมีประเพณีถวายเทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน

ประเพณีตักบาตรดอกไม้
 
2. ประเพณีตักบาตรดอกไม้ จังหวัดสระบุรี ช่วงเวลา วันเข้าพรรษา การนำดอกไม้ถวายพระหรือบูชาพระจะทำเมื่อใดก็ได้ แต่ที่ชาวพระพุทธบาทปฏิบัติกันเป็นพิเศษในวันเข้าพรรษา คือ เมื่อถึงฤดูฝนจะมีดอกไม้ชนิดหนึ่งขึ้นตามเชิงเขา ดอกชนิดนี้มีลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือต้นขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศษ บางต้นก็มีดอกสีเหลือง บางต้นก็มีดอกสีขาว บางต้นก็มีดอกสีม่วง ดอกชนิดนี้จะขึ้นเฉพาะหน้าฝนเข้าพรรษาเท่านั้น ชาวบ้านจะเก็บดอกชนิดนี้มาถวายพระ และเรียกดอกนี้ว่า ดอกเข้าพรรษา
3. งานแข่งขันแคนูและเทศกาลของดี จังหวัดนครนายก
4. พัทยามาราธอน จังหวัดชลบุรี
 
เดือนสิงหาคม
1. วันเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. งานส้มโอชัยนาท จังหวัดชัยนาท
3. งานเทศกาลขนมเค้ก จังหวัดตรัง
4. เทศกาลลำไยและของดีเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
5. งานวันผลไม้หลังสวน จังหวัดชุมพร
6. เทศกาลล้านนาพฤกษาชาติ จังหวัดเชียงใหม่
 
เดือนกันยายน

ประเพณีแข่งขันเรือยาวประจำปี
 
1. ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร ประมาณเดือนกันยายน – สิงหาคม จะมีการแข่งขันเรือยาวประจำปี บริเวณหน้าวัดวังกลม ต.บ้านบุ่ง ตำบลบ้านบุ่งมีเรือยาว “เรือศรทอง” เป็นเรือยาวที่ได้รับรางวัลมากมาย นำชื่อเสียงมาให้แก่ตำบลบ้านบุ่ง
2. เทศการของดีเมืองนราฯ จังหวัดนราธิวาส
3. ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
4. เทศกาลโคมไฟไหว้พระจันทร์ จังหวัดสงขลา        
5. ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดสิงห์บุรี
6. เทศกาลหมูย่างเมืองตรัง จังหวัดตรัง
7. ประเพณีสารทเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
8. เทศกาลลางสาดหวาน และมหกรรมของดีเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

ถือศีลกินเจ
 
9. เทศกาลถือศีลกินเจ จังหวัดตรัง ช่วงเวลา การถือศีลกินเจของชาวตรังตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน (ตรงกับเดือน 11 ของไทย ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมทุกปี) โรงศาลเจ้าทุกโรงจะกำหนดการกินเจพร้อมกัน การประกอบพิธีกรรมจะใช้สถานที่บริเวณโรงศาลเจ้าของแต่ละแห่ง ประเพณีถือศีลกินเจเป็นประเพณีที่มีการผสมผสานของลัทธิความเชื่อต่าง ๆ หลายลัทธิ ได้แก่ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื่อ ลัทธิการนับถือเทวะ และพุทธศาสนานิกายมหายาน พิธีกินเจ เป็นพิธีที่แสดงออกถึงการละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และเว้นอบายมุขทั้งหมด และเป็นพิธีก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่สมาชิกที่มาร่วมพิธี
10. ประเพณีแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดพิษณุโลก

ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
 
11. การแข่งขันเรือกอและ ชิงถ้วยพระราชทานหน้าพระที่นั่ง จังหวัดนราธิวาส ประเพณีการแข่งเรือกอและและเรือยาวด้วยฝีพายหน้าพระที่นั่ง ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในระหว่างวันที่ 21-25 กันยายน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาสต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรจัดให้มีการแข่งขันเรือกอและอันเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดนราธิวาสถวายทอดพระเนตรเพื่อเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นและเป็นการฟื้นฟูประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย หน้าพระที่นั่ง 
 
เดือนตุลาคม
1. ประเพณีแข่งโพนลากพระ จังหวัดพัทลุง
2. ประเพณีกินผัก จังหวัดภูเก็ต

ประเพณีไหลเรือไฟ
 
3. ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดมหาสารคาม ช่วงเวลา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
 
4. งานฉลองมรดกโลกบ้านเชียง 5,000 ปี จังหวัดอุดรธานี เพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของแหล่งอารยธรรมบ้านชียง และร่วมสืบสานวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของชุมชนบ้านเชียง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อำหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ลำดับที่ 359

ประเพณีตักบาตรเทโว
 
5. ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดอุทัยธานี ช่วงเวลา 1 วัน ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (วันออกพรรษา) ป็นงานประเพณีที่ชาวอุทัยธานียึดถือปฏิบัติกันมา ตั้งแต่ครั้ง บรรพบุรุษ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ชาวอุทัยธานีทุกคนภูมิใจกันมาก บรรดาพุทธศาสนิกชนจะร่วมทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้งพร้อมทั้งข้าวต้มลูกโยนกันอย่างเนืองแน่น นอกจากจะมีการทำบุญตักบาตรแล้วยังมีการจัดขบวนแห่รถบุผาชาติ โดยมีการแห่ขบวนผ่านตลาดและเข้าถึงลานวัดสังกัสรัตนคีรีซึ่งเป็นที่ตักบาตรนอกจากนี้ ใน ตลาดและหน่วยงานราชการห้างร้านต่าง ๆ ได้จัดโต๊ะหมู่บูชาประดับด้วยงาช้างตั้ง ตกแต่ง เป็นที่สวยงามอย่างยิ่ง

ประเพณีจองพารา
 
6. ประเพณีจองพารา จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา (งานปอยเหลินสิบเอ็ด) คำว่า “จองพารา” เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า “ปราสาทพระ” การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาทเพื่อคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11

ประเพณีชักพระ
 
7. ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย

แห่พระทางน้ำ แข่งขันเรือยาว
 
8. ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดปราจีนบุรี ประเพณีแห่พระทางน้ำและแข่งขันเรือยาว เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานาน จัดขึ้นทุกปี ประมาณช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นการประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำได้สักการะบูชาพระคู่บ้านคู่เมือง

ประเพณีแข่งเรือยาวประจำปี
 
9. ประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน จังหวัดน่าน เป็นประเพณีแข่งเรือยาว ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นทุกปี ประมาณเดือนกันยายน ณ บริเวณลำน้ำน่าน สะพานท่าวังผาพัฒนาบ้านท่าค้ำสอง ม. 7 ต. ริม เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีท้องถิ่น

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
 
10. ประเพณีออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้งและแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดสกลนคร ช่วงเวลา เทศกาลวันออกพรรษา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ประเพณีปราสาทผึ้ง มีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ที่ความรู้สึก จิตใจที่ได้ปฏิบัติงานตามจารีตประเพณีเกิดความมั่นคงทางจิตใจเป็นสำคัญ ส่วนเนื้อหาสาระในด้านต้องการให้เกิดบุญกุศล ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกับในการทำปราสาทผึ้งถวายวัด ถือว่าได้บุญสูงสุดเพราะผึ้งเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา ดังปรากฏในพุทธประวัติตอนปาลิไลยลิง นำรวงผึ้งมาถวายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนเทโวโรหนะ ที่พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริยะเปิดโลกให้แลเห็นซึ่งกันและกันทั้ง 3 โลก ทำให้มนุษย์เห็นความทุกข์สุขของเทวดามนุษย์และใต้บาดาลตลอดจนตอนอทิสทาน ซึ่งท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ มเหสี กษัตริย์แข่งขันกันสร้างปราสาทหรือแม้แต่พระมาลัยก็กล่าวดังปราสาทในสวรรค์ชั้นฟ้า
 
อย่างไรก็ดีในสาระของความต้องการบุญกุศลส่วนตัวดังกล่าวมาแล้วยังมีสาระที่ต้องการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ ซึ่งอาจได้มาจากคติของชาวจีนที่ทำมาหากินในสกลนคร ที่ทำการตักเป็นรูปทรงบ้านเรือนอาคารเผาอุทิศให้ผู้ตาย แต่หากดัดแปลงเป็นการสร้างอาคารเป็นทรงหอผี ประดับด้วยดอกผึ้งถวายพระสงฆ์อุทิศให้ผู้วายชนม์

ประเพณีวิ่งควาย
 
11. ประเพณีวิ่งควาย จังหวัดชลบุรี เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน จะเริ่มงานประเพณีในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่หมดระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวพืชผล ประเพณีวิ่งควายของตำบลหนองชาก จะจัดขึ้นประมาณเดือน ตุลาคม เป็นประจำทุกปี จะมีการละเล่นต่างๆ มากมายภายในงาน
         
เดือนพฤศจิกายน
1. งานกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน จังหวัดกระบี่

ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ
 
2. ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ช่วงเวลา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ประเพณีนี้ยังคงสืบทอดต่อมาจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2520 จังหวัดสุโขทัยร่วมกับกรมศิลปากรและการท่องเที่ยว จึงได้ฟื้นฟูประเพณีลอยกระทงขึ้นมาใหม่ เรียกว่างานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จนมีชื่อเสียงและได้รับความสนใจทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างสูง เพื่อแสดงความสำนึกในคุณของแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมทั้งขอขมาลาโทษที่อาจกระทำ การใด ๆอันเป็นเหตุให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่สะอาด ซึ่งการสำนึกคุณและขออภัยถือ เป็นวัฒนธรรมอันดีงามอย่างหนึ่งของไทย
3. ประเพณีล่องสะเปาจาวเวียงละกอน จังหวัดลำปาง

ประเพณียี่เป็ง
 
4. งานประเพณีโคมยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ งานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลหรือวันเพ็ญ เดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของภาคกลาง อันเป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวอากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใสธรรมเนียมปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้าโดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวง สวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์ให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
 
5. เทศกาลเที่ยวพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เทศกาลเที่ยวพิมาย จัดประมาณเดือนพฤศจิกายน มีแสง เสียง สุดอลังการ ณ บริเวณโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย และประเพณีแข่งเรือยาว ณ ลำน้ำจักราช หน้าทางเข้า ปราสาทหินพิมาย
6. ประเพณีลอยกระทงตามประทีปศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดอกบัวตอง (ดอยแม่อูคอ)
 
7. เทศกาลดอกบัวตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน งานเทศกาลดอกบัวตอง จะจัดขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี “ดอกบัวตอง” เป็นดอกไม้ป่าสีเหลืองคล้ายดอกทานตะวันแต่ขนาดเล็กกว่า มักขึ้นอยู่ตามป่าเขาสูงทางตอนเหนือของประเทศไทย

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
 
8. งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม จัดขึ้นทุกปี งานจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 5-13 พฤศจิกายน เป็นการจัด งานวัด 9 วัน 9 คืน ที่ยิ่งใหญ่มากๆ ภายในงานจะมีการทำบุญ การแสดงแสง สี ดนตรี เป็นงานวัดที่สร้างสีสันให้กับจังหวัดนครปฐม
9. ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดบุรีรัมย์

ลานแสดงช้าง และฟาร์มจระเข้สามพราน
 
10. งานแสดงช้าง จังหวัดสุรินทร์ การเลี้ยงอาหารช้างหรือการเลี้ยงโต๊ะจีนช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยาวประมาณ 500 เมตร การแสดงของช้าง ซึ่งการแสดงช้างจะจัด 2 วันในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งเป็นการแสดงที่รวบรวมช้างไว้มากที่สุดถึง 200 เชือก ณ สนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะจัดในเวลา 08.00-12.00 น. นับเป็นการแสดงที่น่าชมเป็นอย่างยิ่ง และมีผู้ชมเข้าชมเต็มทุกที่นั่งทุกปี

สะพานข้ามแม่น้ำแคว
 
11. งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี เที่ยวกาญจบุรี โดยงานจะจัดประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวามคม ของทุกปี สะพานข้ามแม่น้ำแคว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี การแสดงแสงเสียง รำลึกความโหดร้ายของการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว และทางรถไฟสายมรณะ การออกร้านกาชาด นิทรรศการของหน่วยงาน ห้างร้าน สวนสนุก และมหรสพบันเทิงต่าง ๆ
12. แข่งเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลอยกระทงสาย
 
13. ประเพณีลอยกระทงสาย จังหวัดตาก ช่วงเวลา วันเพ็ญเดือนสิบสอง เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท การลอยกระทงสายเป็นประเพณีที่เป็นแบบเฉพาะของชาวตาก ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน แสดงถึงความสามัคคีและความเป็นมิตรไมตรีของชาวบ้านในชุมชนนั้น
14. เทศกาลอาหารหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
15. งานจัดเลี้ยงโต๊ะจีนลิง จังหวัดลพบุรี

งานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว
 
16. เทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยว จังหวัดขอนแก่น ช่วงเวลา วันที่ 29 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม ของทุกปี ประเพณีผูกเสี่ยว เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นพร้อมกันกับงานเทศกาลไหม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนในท้องถิ่นและคนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียว สมัครสมานสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันคำว่า "เสี่ยว" เป็นภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย มีความผูกพัน ซื่อสัตย์ และจริงใจต่อกัน
 
งานเทศกาลไหมเป็นงานที่จังหวัดขอนแก่นได้จัดขึ้นทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2522 จวบจนถึงปัจจุบันซึ่งจะมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนร่วมออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง (ผ้าไหม) และของที่ระลึกอื่น ๆ อีกทั้งนอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
  
เดือนธันวาคม

ฮีตสิบสองคองสิบสี่
 
1. ประเพณีฮีตสิบสองและงานกาชาด จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล คำว่า "ฮีต" มีความหมายตรงกับคำว่า "รีต" อันหมายถึงจารีตประเพณี ดังนั้น "ฮีตสิบสอง" จึงหมายถึงประเพณีที่ชาวอีสานจะต้องประพฤติปฏิบัติในรอบปีทั้งสิบสองเดือน ถ้าใครฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิด เรียกว่า "ผิดฮีต" สังคมทั่วไปจะตั้งข้อรังเกียจ
2. มหกรรมอาหาร จังหวัดเชียงใหม่
3. งานมหกรรมว่าวอีสาน
4. ประเพณีแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดภูเก็ต
5. งานขึ้นปล่องภูเขาไฟ จังหวัดบุรีรัมย์
6. งานแร่นองทะเลทองอันดามัน จังหวัดระนอง
7. งานอยุธยามรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
8. งานตากสินมหาราชานุสรณ์และกาชาด จังหวัดตาก จัดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคม - มกราคม เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น ภายในงานจะมีการออกร้านและกิจกรรมบันเทิงมากมาย การแสดงละครประกอบแสง สี เสียง การแข่งขันกีฬา ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง จำหน่ายสินค้า OTOP การออกร้านของเหล่ากาชาดจังหวัดตาก การแสดงคอนเสิร์ต

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(34)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)